เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การใช้อำนาจครอบงำและอเล็กซานเดอร์มหาราช

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การใช้อำนาจครอบงำและอเล็กซานเดอร์มหาราช

การใช้อำนาจครอบงำ vs. อเล็กซานเดอร์มหาราช

การใช้อำนาจครอบงำ หรือ อธิกภาพ ในการเมืองระหว่างประเทศ (hegemony; ἡγεμονία hēgemonía, "ความเป็นผู้นำ" หรือ "กฎ"; มีที่มาจากคำกริยาภาษากรีกว่า ἡγέομαι แปลว่า "นำทางไป", "นำร่อง" หรือ "เป็นผู้นำในการรบ") เป็นระบอบการปกครอง และภาวะครอบงำแบบจักรวรรดิทางอ้อม โดยผู้ใช้อำนาจเชิง "อธิกะ" (hegemon) คือรัฐผู้นำ ปกครองรัฐที่ด้อยอำนาจกว่าทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยอำนาจโดยนัย และการข่มขู่คุกคามในด้านต่างๆ แต่มิใช่ด้วยกำลังทหารโดยตรง ในกรีซโบราณ (ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล – คริสต์ศตวรรษที่ 6) อธิกภาพในการเมืองระหว่างประเทศ หมายถึง นครรัฐหนึ่งมีภาวะครอบงำทางการเมือง–การทหารเหนืออีกนครรัฐหนึ่ง ในศตวรรษที่ 19 อธิกภาพ หรือ การครอบงำเชิงอำนาจ เริ่มถูกใช้เพื่อสื่อความถึง "การก้าวขึ้นสู่อำนาจ หรือเข้ามาเป็นผู้นำในทางสังคมหรือวัฒนธรรม; สถานะที่โดดเด่นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม หรือสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม" ต่อมาคำดังกล่าวได้ถูกใช้เพื่อสื่อความถึงอำนาจในทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือวัฒนธรรม ที่ประเทศหนึ่งมีเหนือประเทศอื่น โดยแนวคิดเรื่อง อธิกภาพ ในยุคนี้เน้นไปที่การใช้อำนาจของประเทศมหาอำนาจยุโรป เหนือทวีปเอเชีย และแอฟริกา โดยอาจไม่ใช่การเข้ายึดครองโดยตรง เช่นกรณีที่ประเทศฝรั่งเศสใช้อำนาจเชิงอธิกภาพ กดดันสยามให้สละอำนาจอธิปไตยในดินแดนบางส่วนของตน เพื่อที่ฝรั่งเศสจะได้เข้ามาปกครอง รวมถึงการปฏิเสธอำนาจทางวัฒนธรรมของสยามเหนือดินแดนลาวและกัมพูชา หรือกรณีที่เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (ผู้ว่าราชการเกาะฮ่องกงในสมัยนั้น) กดดันให้สยาม และญี่ปุ่นเปิดการค้าเสรีกับจักรวรรดิอังกฤษ เพื่อให้อังกฤษสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่ขาดแคลนในยุโรปได้ ในทางทฤษฎีความสัมพันธ์ทางการเมือง อธิกภาพ หรือ การครอบงำเชิงอำนาจ หมายถึงสถานการณ์ที่ มีความอสมมาตรอย่างมีนัยสำคัญให้เป็นคุณแก่รัฐหนึ่ง โดยรัฐนั้น (1) มีกำลังทหารแกร่งพอที่จะสลายภัยคุกคามจากอำนาจคู่แข่งได้อย่างเป็นระบบ; (2) สามารถเข้าถึงวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และตลาด (3) มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันในการผลิตสินค้ามูลค่าสูง; (4) มีความสามารถที่จะสร้าง และเผยแพร่คตินิยมที่สะท้อนถึงรูปการ หรือสภาพการณ์ที่เป็นอยู่; และ (5) มีฐานะหน้าที่แตกต่างไปจากรัฐอื่นๆในระบบ โดยถูกคาดหวังว่าจะต้องจัดหาสินค้าสาธารณะบางอย่าง เช่น ความมั่งคงปลอดภัย หรือความคงตัวทางการเงินและทางธุรกิจการค้. อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การใช้อำนาจครอบงำและอเล็กซานเดอร์มหาราช

การใช้อำนาจครอบงำและอเล็กซานเดอร์มหาราช มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การใช้อำนาจครอบงำและอเล็กซานเดอร์มหาราช

การใช้อำนาจครอบงำ มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ อเล็กซานเดอร์มหาราช มี 55 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 55)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การใช้อำนาจครอบงำและอเล็กซานเดอร์มหาราช หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: