โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การโฆษณาชวนเชื่อและสงครามเวียดนาม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การโฆษณาชวนเชื่อและสงครามเวียดนาม

การโฆษณาชวนเชื่อ vs. สงครามเวียดนาม

การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มุ่งชักจูงทัศนคติของประชาคมต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโฆษณาชวนเชื่อมักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิดเพื่อสร้างผลที่เลือกสรรแล้วในทัศนคติของผู้ชม ตรงข้ามกับการให้สารสนเทศอย่างยุติธรรม การโฆษณาชวนเชื่อ ในความหมายพื้นฐานที่สุด นำเสนอสารสนเทศเพื่อชักจูงผู้ชมเป็นหลัก การโฆษณาชวนเชื่อมักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เลือกเฟ้นแล้วเพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์อย่างเฉพาะเจาะจง หรือใช้ข้อความจำนวนมากเพื่อสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ มิใช่เหตุผล ต่อสารสนเทศที่นำเสนอ ผลที่คาดหวัง คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อหัวข้อในผู้ชมเป้าหมายเพื่อส่งเสริมวาระทางการเมืองหรือศาสนาต่อไป การโฆษณาชวนเชื่อยังสามารถใช้เป็นการสงครามการเมืองรูปแบบหนึ่งได้ แม้คำว่า การโฆษณาชวนเชื่อ จะดูมีความหมายเป็นลบ (เช่น การโฆษณาชวนเชื่อของนาซีที่ใช้สร้างความชอบธรรมแก่ฮอโลคอสต์) แต่ยังใช้กับ การแนะนำด้านสาธารณสุข ป้ายกระตุ้นให้พลเมืองเข้าร่วมในการลงประชามติหรือการเลือกตั้ง หรือข้อความกระตุ้นให้บุคคลรายงานอาชญากรรมต่อตำรวจ ก็ได้ หมวดหมู่:โฆษณาชวนเชื่อ หมวดหมู่:มติมหาชน หมวดหมู่:การควบคุมจิตใจ. งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การโฆษณาชวนเชื่อและสงครามเวียดนาม

การโฆษณาชวนเชื่อและสงครามเวียดนาม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การโฆษณาชวนเชื่อและสงครามเวียดนาม

การโฆษณาชวนเชื่อ มี 1 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามเวียดนาม มี 93 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (1 + 93)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การโฆษณาชวนเชื่อและสงครามเวียดนาม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »