การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์
การแยกตัวประกอบจำนวนเต็ม vs. ขั้นตอนวิธีของชอร์
ในทฤษฎีจำนวน การแยกตัวประกอบจำนวนเต็ม (integer factorization) หรือ การแยกตัวประกอบเฉพาะ (prime factorization) คือการแบ่งย่อยจำนวนประกอบออกเป็นตัวหารไม่ชัด (ตัวหารที่ไม่ใช่ 1 กับ ตัวมันเอง) หลายๆ ตัว ซึ่งเมื่อคูณตัวหารไม่ชัดเหล่านั้นเข้าด้วยกันจะได้ผลลัพธ์ดังเดิม เมื่อจำนวนมีขนาดใหญ่มาก ไม่มีขั้นตอนวิธีการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็มใดๆ ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ในปี 2009 ความพยายามในการแยกตัวประกอบของเลข 232 หลัก ได้สำเร็จลง จากการใช้เครื่องจักรมากกว่า 100 เครื่องภายในระยะเวลา 2 ปี ความยากของปัญหาแหละนี้คือหัวใจของขั้นตอนวิธีบางอย่างในวิทยาการเข้ารหัสลับ เช่น RSA จำนวนที่มีความยาวเท่ากัน ใช่ว่าจะแยกตัวประกอบด้วยความยากเท่ากัน กรณีที่ยากที่สุดของปัญหาเหล่านี้ (สำหรับกลวิธีที่รู้กันในปัจจุบัน) คือจำนวนครึ่งเฉพาะ (semiprime) ซึ่งก็คือจำนวนที่เป็นผลคูณของจำนวนเฉพาะ 2 ตัว จากทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต จำนวนเต็มบวกทุกตัวจะมีการแยกตัวประกอบเฉพาะที่แตกต่างกัน. ั้นตอนวิธีของชอร์ ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชื่อปีเตอร์ ชอร์ที่คิดขึ้นในปี..1994 โดยขั้นตอนวิธีนี้เป็นขั้นตอนวิธีควอนตัม (ขั้นตอนวิธีที่ทำงานบนควอนตัมคอมพิวเตอร์) ที่ใช้ในการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็ม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วใช้ในการแก้ปัญหา:ให้จำนวนเต็ม N แล้วให้หาตัวประกอบเฉพาะของ N ในควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้น การแยกตัวประกอบด้วยขั้นตอนวิธีของชอร์จะใช้เวลาในการทำงานไม่เกินฟังก์ชันพหุนาม (Polynomial) ของขนาดข้อมูล โดยจะใช้เวลาเป็น O ((log N) 3) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็มที่มีประสิทธิภาพในควอนตัมคอมพิวเตอร์ วิธีนี้จัดเป็นวิธีที่เร็วกว่าหลาย ๆ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปทีมักจะใช้เวลาเป็นฟังก์ชันเลขชี้กำลัง (Exponential) ขนาดของข้อมูล ให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีจำนวนคิวบิตที่เพียงพอ ขั้นตอนวิธีของชอร์จะสามารถถอดรหัสประเภทระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตรได้ ยกตัวอย่างเช่น รหัสลับRSA โดยRSAนั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าการคำนวณหาตัวประกอบของเลขที่มีจำนวนมาก ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ เท่าที่รู้กันสมมติฐานนี้ใช้ได้สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และไม่มีขั้นตอนวิธีใดที่จะทำงานในเวลาไม่เกินฟังก์ชันพหุนาม อย่างไรก็ตามขั้นตอนวิธีของชอร์แสดงให้เห็นถึงวิธีการแยกตัวประกอบที่มีประสิทธิภาพในควอนตัมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีขนาดที่ใหญ่พอที่จะถอดรหัสRSAได้ จึงสร้างแรงจูงใจอย่างมากในการออกแบบและการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ และสำหรับศึกษาแบบวิธีการบนควอนตัมคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ในขณะที่ก็มีการให้การสนับสนุนการวิจัยระบบการเข้ารหัสแบบใหม่เพื่อสร้างความปลอดภัยจากควอนตัมคอมพิวเตอร์ เรียกว่าวิทยาการเข้ารหัสลับหลังควอนตัม (post-quantum cryptography).
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์
การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์
การเปรียบเทียบระหว่าง การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์
การแยกตัวประกอบจำนวนเต็ม มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ขั้นตอนวิธีของชอร์ มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (12 + 7)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มและขั้นตอนวิธีของชอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: