โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแปลสิ่งเร้าผิดและประสาทสัมผัส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การแปลสิ่งเร้าผิดและประสาทสัมผัส

การแปลสิ่งเร้าผิด vs. ประสาทสัมผัส

งานศิลป์ "Head on a Platter (ศีรษะในจาน)" แสดงที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ประจำภาค ในเมืองโภปาล รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย การแปลสิ่งเร้าผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" หรือ มายา (illusion) หมายถึงความผิดพลาดหรือความบิดเบือนของการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ที่ชี้ให้เห็นถึงวิธีที่สมองจัดระเบียบและแปลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัส แม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดจะบิดเบือนความเป็นจริง แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับคนโดยมาก การแปลสิ่งเร้าผิดอาจเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสใดก็ได้ในมนุษย์ แต่ภาพลวงตาเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีความเข้าใจกันมากที่สุด ที่มีความสนใจในภาพลวงตามากก็เพราะว่า การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีอิทธิพลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้ในตัวอย่างเช่น คนที่กำลังดูการพูดดัดเสียง (ventriloquism) ได้ยินเสียงว่ามาจากหุ่นที่อยู่ที่มือของคนพูด เนื่องจากว่า เห็นหุ่นนั้นขยับปากตามเสียงคำพูด (แต่ไม่เห็นคนพูดขยับปาก) การแปลสิ่งเร้าผิดบางอย่างมีเหตุจากข้อสันนิษฐานที่สมองมีเกี่ยวกับความเป็นจริงเมื่อเกิดการรับรู้ ข้อสันนิษฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นอาศัยรูปแบบของสิ่งที่รับรู้, ความสามารถในการรับรู้ความลึกและการรับรู้ความเคลื่อนไหว, และความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยว่า วัตถุหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงแม้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับวัตถุนั้นจะได้เปลี่ยนไปแล้ว ส่วนการแปลสิ่งเร้าผิดอื่น ๆ เกิดขึ้นอาศัยความเป็นไปในระบบการรับรู้ภายในร่างกาย หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อม คำว่า การแปลสิ่งเร้าผิด หมายถึงการบิดเบือนความเป็นจริงทางการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ โดยที่ไม่เหมือนกับอาการประสาทหลอน (hallucination) ซึ่งเป็นความบิดเบือนความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเร้า การแปลสิ่งเร้าผิดเป็นการแปลผลความรู้สึก (อาศัยสิ่งเร้า) ที่มีขึ้นจริง ๆ ผิด ยกตัวอย่างเช่น การได้ยินเสียงโดยไม่มีเสียงจริง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเป็นอาการประสาทหลอน แต่ว่า การได้ยินเสียงคนในเสียงน้ำที่กำลังไหลอยู่ (หรือในเสียงอื่น ๆ) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิด ละครไมม์ ผู้แสดงทำท่าเหมือนกับพิงอะไรอยู่ที่ไม่มีจริง ๆ ละครไมม์เป็นบทการละเล่นลวงตาที่สร้างขึ้นโดยอาศัยการเคลื่อนไหวกาย คือผู้เล่นละครสร้างภาพลวงตาโดยเคลื่อนกายเหมือนกับทำปฏิกิริยากับวัตถุที่ไม่มี ภาพลวงตาเช่นนี้เกิดขึ้นได้อาศัยข้อสันนิษฐานที่ผู้ชมมีเกี่ยวกับความเป็นไปในโลกจริง ๆ บทเล่นที่รู้จักกันดีก็คือ "กำแพง" (คือทำปฏิกิริยากับกำแพงที่ไม่มี) "ปีนขึ้นบันได" "พิง" (ดูรูป) "ปีนลงบันได" และ "ดึงและผลัก". ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การแปลสิ่งเร้าผิดและประสาทสัมผัส

การแปลสิ่งเร้าผิดและประสาทสัมผัส มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลีบข้างสมองอัตวิสัยตัวกระตุ้น

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

กลีบข้างและการแปลสิ่งเร้าผิด · กลีบข้างและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

การแปลสิ่งเร้าผิดและสมอง · ประสาทสัมผัสและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

การแปลสิ่งเร้าผิดและอัตวิสัย · ประสาทสัมผัสและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

การแปลสิ่งเร้าผิดและตัวกระตุ้น · ตัวกระตุ้นและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การแปลสิ่งเร้าผิดและประสาทสัมผัส

การแปลสิ่งเร้าผิด มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประสาทสัมผัส มี 143 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.48% = 4 / (18 + 143)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การแปลสิ่งเร้าผิดและประสาทสัมผัส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »