โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปแพนเจีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปแพนเจีย

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค vs. มหาทวีปแพนเจีย

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี. แผนที่ของทวีปแพนเจีย ภาพเคลื่อนไหวที่แสดงการแยกตัวของมหาทวีปแพนเจีย สู่ทวีปในยุคปัจจุบัน มหาทวีปแพนเจีย หรือ มหาทวีปพันเจีย Pangaea (แพน หมายถึง ทั้งหมด; และ เจีย หมายถึง โลก ในภาษากรีกโบราณ) เป็นมหาทวีป อยู่ในช่วง มหายุคพาลีโอโซอิก และ มหายุคมีโซโซอิก มหาทวีปแพนเจียก่อตัวขึ้นจากหน่วยทวีปต่างๆ เมื่อประมาณ 335 ล้านปีที่แล้ว ก่อนที่จะเริ่มแยกตัวกันออกเป็นทวีปต่างๆอีกครั้งราว 175 ล้านปีก่อน เป็นทวีปลอเรเชียทางตอนเหนือ-ออสเตรเลียและกอนด์วานาทางตอนใต้-อินเดีย-อเมริกาใต้-แอฟริกา มหาทวีปแพนเจียตั้งอยู่ในซีกโลกทางใต้ ล้อมรอบโดยมหาสมุทรยักษ์ แพนธาลัสซา (Panthallssa; (จากภาษากรีก πᾶν "ทั้งปวง" และ θάλασσα "ทะเล")) แพนเจีย เป็นการเกิดขึ้นของมหาทวีปครั้งล่าสุดนับแต่การอุบัติขึ้นของดาวเคราะห์โลก และเป็นมหาทวีปแรกที่นักธรณีวิทยาหาหลักฐานมายืนยันได้ว่ามีอยู่จริง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปแพนเจีย

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปแพนเจีย มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาทวีป

มหาทวีป

ลื่อนไหวของการเคลื่อนที่ของมหาทวีปแพนเจีย ในทาง ธรณีวิทยา มหาทวีป เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยแกนทวีปมากกว่าหนึ่งแกน หรือ เปลือกโลกที่คงตัวแล้ว การชุมนุมของเปลือกโลกที่คงตัวแล้ว และ การเกิดหิน ที่สร้างทวีปยูเรเชียขึ้น ถูกเรียกว่ามหาทวีปในปัจจุบัน.

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีป · มหาทวีปและมหาทวีปแพนเจีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปแพนเจีย

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาทวีปแพนเจีย มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.33% = 1 / (25 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปแพนเจีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »