โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล vs. สุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Fall of Constantinople) เกิดขึ้นหลังจากที่คอนสแตนติโนเปิลถูกล้อมและยึดเมืองได้โดยสุลต่านเมห์เมดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่นำโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 การล้อมเริ่มตั้งแต่พฤหัสบดีที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1453 และสิ้นสุดลงเมื่อวันอังคารที่ 29 พฤษภาคมของปีเดียวกัน (ตามปฏิทินจูเลียน) การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลเท่ากับเป็นการสิ้นสุดอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่รุ่งเรืองมากว่าพันหนึ่งร้อยปี ที่ขณะนั้นก็เริ่มแตกแยกกันปกครองโดยราชวงศ์กรีกหลายราชวงศ์ หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านเมห์เมดแล้ว พระองค์ก็ทรงเพิ่มความกดดันต่อคอนสแตนติโนเปิลโดยการทรงสร้างเสริมป้อมปราการตามชายฝั่งช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) เมื่อวันที่ 2 เมษายน พระองค์ก็ทรงเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลพร้อมด้วยกองทัพราวระหว่าง 80,000 ถึง 200,000 คน ตัวเมืองมีทหารรักษาราว 7,000 คนในจำนวนนั้น 2,000 เป็นชาวต่างประเทศ การล้อมเริ่มต้นด้วยการโจมตีด้วยการยิงกำแพงเมืองอย่างรุนแรงจากฝ่ายออตโตมันขณะที่กองทหารอีกจำนวนหนึ่งไปยึดที่ตั้งมั่นของฝ่ายไบแซนไทน์ในบริเวณนั้น แต่ความพยายามที่ปิดเมืองในระยะแรกโดยฝ่ายออตโตมันไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรือกองหนุนของฝ่ายคริสเตียนสี่ลำเดินทางเข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิลได้ สุลต่านเมห์เมดจึงมีพระราชโองการให้นำเรือของพระองค์เข้าไปยังแหลมทอง (Golden Horn) โดยการลากขึ้นไปบนขอนไม้ที่ทำให้ลื่น ความพยายามของฝ่ายไบแซนไทน์ที่จะเผาเรือจึงไม่สำเร็จและสามารถทำให้ฝ่ายออตโตมันในที่สุดก็ปิดเมืองได้ การโจมตีกำแพงเมืองของฝ่ายตุรกีได้รับการโต้ตอบอย่างเหนียวแน่นจากฝ่ายไบแซนไทน์ที่ทำให้ต้องเสียกองกำลังไปเป็นจำนวนมาก และความพยายามที่จะระเบิดกำแพงเมืองลงก็ได้รับการตอบโต้เช่นกันจนในที่สุดก็ต้องเลิก สุลต่านเมห์เมดทรงเสนอว่าจะยุติการล้อมเมืองถ้าคอนสแตนติโนเปิลยอมให้พระองค์เข้าเมืองแต่ก็ไม่เป็นผล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ก็เกิดจันทรุปราคาที่เป็นลางถึงการเสียเมือง สองสามวันต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินก็ทรงได้รับข่าวว่าจะไม่มีกองหนุนจากสาธารณรัฐเวนิสมาช่วย หลังเที่ยงคืนของวันที่ 29 พฤษภาคมกองทัพออตโตมันก็เข้าโจมตีกำแพงเมือง ระลอกแรกไม่ประสบความสำเร็จ ระลอกสองสามารถเจาะกำแพงทางตอนเหนือได้ แต่ฝ่ายไบแซนไทน์ก็สามารถตีฝ่ายออตโตมันกลับไปได้และสามารถยืนหยัดต่อต้านกองทหารชั้นเอก Janissaries ของตุรกีได้ ระหว่างการต่อสู้จิโอวานนิ จุสติเนียนินายทัพจากเจนัวก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องถอยกลับไปยังเรือกับกองทหารและเสียชีวิตในที่สุด ทางด้านจักรพรรดิคอนสแตนตินพระองค์และกองทหารก็ดำเนินการต่อต้านต่อไปจนกระทั่งฝ่ายตุรกีเปิดประตูเมืองและบุกเข้าไปในเมืองพร้อมกับกองทหารเป็นจำนวนมากได้ กล่าวกันว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินทรงถูกสังหารระหว่างการต่อสู้แต่ก็มิได้พบพระวรกายของพระองค์ จากนั้นฝ่ายตุรกีก็ปล้นเมือง การเสียเมืองครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสิ้นเชิงหลังจากที่รุ่งเรืองมากว่า 1,100 ปี และเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ทรงมีโองการให้โจมตีโต้ตอบทันทีแต่พระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์ไม่นานหลังจากที่ทรงวางแผน สุลต่านเมห์เมดทรงประกาศให้คอนสแตนตินโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงดำเนินการโจมตีและพิชิตอาณาจักรของไบแซนไทน์อีกสองอาณาจักรได้--อาณาจักรเดสโพเททแห่งโมเรียและจักรวรรดิเทรบิซอนด์ ชาวกรีกที่ยังเหลืออยู่ในคอนสแตนตินโนเปิลก็หนีไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี การเคลื่อนย้ายของประชากรครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ในที่สุดก็นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิชาการบางคนมีความเห็นว่าการเสียเมืองคอนสแตนตินโนเปิลเป็นเหตุการณ์หลักที่นำไปสู่การสิ้นสุดของยุคกลาง และบางท่านก็ใช้เหตุการณ์นี้เป็นเครื่องหมายของการสิ้น. ลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน หรือ สุลต่านเซลิมผู้กล้าหาญ (Selim I, I.Selim) (10 ตุลาคม ค.ศ. 1465/ค.ศ. 1466/ค.ศ. 1470 – 22 กันยายน ค.ศ. 1520) พระนามมีสร้อยว่า “Yavuz” ที่แปลว่า “ผู้กร้าว” มีพระนามเต็มว่า “Yavuz Sultan Selim” เซลิมทรงเป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1512 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1520 Retrieved on 2007-09-16 พระองค์เป็นพระราชโอรสของสุลต่านเบเยซิดที่ 2 และ Ayşe Hatun จาก Dulkadir และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านสุลัยมานมหาร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและจักรวรรดิออตโตมัน · จักรวรรดิออตโตมันและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ สุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.33% = 1 / (22 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลและสุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »