โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเล่นแร่แปรธาตุและคาร์ล ยุง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเล่นแร่แปรธาตุและคาร์ล ยุง

การเล่นแร่แปรธาตุ vs. คาร์ล ยุง

การเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุ หรือ รสายนเวท (alchemy) เป็นแบบแผนประเพณีทางปรัชญาทรงอิทธิพล ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่โบราณอ้างว่าเป็นการตั้งต้นอำนาจที่ลึกซึ้ง วัตถุประสงค์ซึ่งนิยามการเล่นแร่แปรธาตุนั้นมีมากมาย แต่ในประวัติศาสตร์ มักรวมเอาเป้าหมายต่อไปนี้ คือ การสร้างศิลานักปราชญ์ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานเป็นโลหะมีสกุล การพัฒนาน้ำอมฤต ซึ่งจะมอบความเยาว์และอายุยืนยาว การเล่นแร่แปรธาตุต่างจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตรงที่รวมเอาหลักและการปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับปรัมปราวิทยา เวทมนตร์ ศาสนาและเจตสภาพ (spirituality) ถือกันว่าเป็นศาสตร์ก่อนวิทยาศาสตร์ (protoscience) ซึ่งเอื้อต่อการ พัฒนาการของเคมีและแพทยศาสตร์สมัยใหม่ นักเล่นแร่แปรธาตุพัฒนาโครงสร้างเทคนิคห้องปฏิบัติการ ทฤษฎี ศัพทวิทยา และวิธีการทดลองพื้นฐาน ซึ่งบางอย่างยังใช้มาจนปัจจุบัน. ร์ล กุสทัฟ ยุง (Carl Gustav Jung; 26 กรกฎาคม 1875 – 6 มิถุนายน 1961) เป็นนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิทยาวิเคราะห์ ยุงเสนอและพัฒนามโนทัศน์บุคลิกภาพแบบแสดงตัวและเก็บตัว แม่แบบ (Archetype) และจิตไร้สำนึกร่วม (Collective Unconscious) ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อจิตเวชศาสตร์และศาสนา วรรณกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง ยุงสร้างมโนทัศน์ทางจิตวิทยาอันเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางที่สุด รวมทั้งต้นแบบ จิตไร้สำนึกร่วม ปม (complex) และประสบการณ์เหตุการณ์ซ้อน (Synchronicity) ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ (MBTI) เครื่องมือจิตวิทยาที่ได้รับความนิยมมากในการทำความเข้าใจบุคลิกภาพแบบต่างๆก็พัฒนามาจากทฤษฎีของยุง อันที่จริงยุงกล่าวว่าทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นทั้งคนเก็บตัว (Introvert) และแสดงตัว (Extrovert) ส่วนหน้าที่การทำงานของจิตต่างๆคือ การคิด, ความรู้สึก, ผัสสาการ และ ญาณหยั่งรู้ และมนุษย์เราควรพัฒนาตนโดยการใช้หน้าที่ทางจิตเหล่านั้นให้ครบและสมดุล เพื่อจะได้มีชีวิตที่สมบูรณ์ทั่วถ้วน ยุงเล่าว่าการพัฒนาบุคลิกภาพเพียงด้านเดียว เช่น ตีกรอบบุคลิกภาพตัวเองให้เข้ากับแม่แบบบุคลิกภาพแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไป อาจจะเป็นหัวโขนทางหน้าที่การงานที่เราใส่ อาจเป็นกรอบผู้มีคุณธรรมตามหลักจารีตจนทำให้มีทัศนคติขาวดำสุดโต่งไปด้านเดียว หรือแม้แต่การใช้หน้าที่การทำงานบางอย่างของจิตมากจนเกินไป ทำให้บุคลิกภาพขาดความสมดุล คนที่ใช้ชีวิตด้วยทัศนคติสุดโต่งด้านเดียวมามาก ถึงเวลาหนึ่งจะรู้สึกว่าชีวิตตัวเองกลวงเปล่า อึดอัดคับข้อง มีอะไรขาดหายไม่สมบูรณ์ ทว่ายุงสามารถใช้การวิเคราะห์ทางจิต เพื่อให้บุคคลนั้นตระหนักรู้ได้ว่าเขาละเลยบุคลิกภาพด้านไหนของตนไป ซึ่งการวิเคราะห์นี้สามารถทำได้ผ่านทั้ง Active Imagination หรือผ่านการทำความเข้าใจความฝัน ความฝันนั้นก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลในจิตไร้สำนึกของตนได้ ใน Approaching the Unconscious ยุงกล่าวว่า "มนุษย์ไม่อาจเข้าใจอะไรหลายอย่างได้อย่างสมบูรณ์ จึงต้องใช้สัญลักษณ์ ทว่าการใช้สัญลักษณ์แบบรู้เนื้อรู้ตัวเป็นแค่ด้านหนึ่งของจิต จริงๆแล้วจิตมนุษย์สามารถสร้างสัญลักษณ์โดยไร้สำนึกและฉับพลัน ในรูปแบบของความฝัน" เมื่อเราทราบว่าอะไรเป็นสิ่งที่ละเลยไปจากบุคลิกภาพก็สามารถที่จะพัฒนาได้ เช่น อาจะใช้ "ความรู้สึก" มากกว่า "ความคิด" หรือใช้ "ความหยั่งรู้จากพลังงานทางจิตสู่โลกด้านใน (Introverted Intuition)" มากกว่าความรู้จาก "ประสาทสัมผัสจากโลกภายนอก (Extroverted Sensing)" เราก็สามารถจะพัฒนาด้านที่ละเลยให้เกิดความสมดุลและบริบูรณ์ขึ้น หรือถ้าเราใส่หัวโขนคุณธรรมมากไปจนมองเห็นแต่ด้านชั่วร้ายของคนอื่น เรียกอีกอย่างว่าฉายเงาของตน (project one's Shadow) ไปที่ผู้อื่น เราก็สามารถกลับมามองดูจิต เฉกเช่นการภาวนาให้เห็นอีกสภาวะที่เราไม่เคยรับรู้ในจิตตนมาก่อน ซึ่งจะทำให้เข้าใจตนเองได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น เมื่อสิ่งที่ไม่เคยถูกรู้ ถูกรู้ ก็เรียกได้ว่า มันออกมาจากจิตไร้สำนึกสู่จิตสำนึกรู้แล้ว กระบวนการแบบนี้สามารถจะเกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ บุคลิกภาพของเราจะได้จัดตำแหน่งศูนย์กลางใหม่เรื่อยๆ โดยมีการหลอมรวมเอาข้อมูลในจิตไร้สำนึกเข้ามาไว้ตรงกลาง เสมือนภาพวงมณฑลที่ผสานรวมขั้วตรงข้ามไว้ได้อย่างกลมกลืนและบริบูรณ์ เราอาจเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า "การกลายเป็นปัจเจก" (Individuation) ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมพบกับความโดดเดี่ยวในกระบวนการ ยกตัวอย่างการวิวัฒน์บุคลิกภาพตัวเองในบริบทของสังคม จากเดิมเราอาจต้องทำตามแบบบุคลิกภาพตามคนอื่นในสังคมไปเรื่อย อะไรที่คนอื่นบอกว่าดีก็ต้องทำอย่างนั้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ แน่นอนว่าจะมีหลายๆด้านที่เราต้องเก็บงำจนถึงขั้นลืมไปว่าเราก็มีสภาวะแบบนั้นเหมือนกัน เมื่อใดก็ตามเราเริ่มตระหนักในคุณลักษณะที่เราละเลยไป คนในสังคมอาจจะเริ่มมองว่าเราเป็นแกะดำ เพราะฉะนั้นมันเป็นกระบวนการที่อาจแยกเราจากฝูงชน และอาจพบความรู้สึกเดียวดายในเบื้องแรก ถ้าเปรียบกับการเดินทางของวีรบุคคลตามแนวคิดของ Joseph Campbell ซึ่งปรากฏใน A Hero with a Thousand Faces แล้วความโดดเดี่ยวนั้นปรากฏในช่วงแยกจากที่มั่นอันปลอดภัยของตนหรือ "Departure" นั่นเอง ยุงมองว่าจิตใจของมนุษย์ "เลื่อมใสในศาสนาโดยธรรมชาติ" และทำให้ความเลื่อมใสในศาสนานี้เป็นความสนใจของการค้นพบของเขา ยุงเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนในการวิเคราะห์และตีความสัญลักษณ์ความฝันร่วมสมัยที่รู้จักกันดีที่สุด ผลงานส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาอยู่ในสาขาการเล่นแร่แปรธาตุหรือรสายนเวท ปรัชญาตะวันออกและตะวันตก ดาราศาสตร์และสังคมวิทยา เช่นเดียวกับวรรณกรรมและศิลปะ ในส่วนของการเล่นแร่แปรธาตุนั้น โดยผิวเผินแล้วเราจะเห็นว่ามีความพยายามจะแปลงเหล็กให้กลายเป็นทอง (ภาษาลาตินเรียกทองว่า Aurum) และเป็นทองที่ไม่ธรรมดาด้วย ดั่งคำที่พวกเขากล่าวว่า "Aurum nostrum non est aurum vulgi" ด้วยว่าความมุ่งหมายที่ลึกลงไปของนักเล่นแร่แปรธาตุคือ พวกเขาพยายามทำสิ่งต่างๆนอกเหนือไปจากธาตุที่เอามาทดลอง ให้สมบูรณ์เท่าที่สารัตถะของสิ่งเหล่านั้นจะเป็นได้ นั่นหมายรวมถึงโลกภายในของมนุษย์ที่เชื่อมโยงอยู่กับสสาร เมื่อมีการกระทำบางอย่างต่อสสารในโลกภายนอก โลกภายในของนักเล่นแร่แปรธาตุก็ได้รับผลกระทบด้วย เสมือนว่าโลกภายในของพวกเขาถูกโปรเจกไปที่สสารภายนอก เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสสารไปสู่ธาตุบริสุทธิ์ จิตใจของนักเล่นแร่แปรธาตุก็เปลี่ยนด้วย พวกเขาใช้กระบวนการดังกล่าวเพื่อภาวนาจนเกิดการพัฒนาบุคลิกภาพภายในและเข้าถึงความบริบูรณ์ดั่งธาตุทองคำ ดังนั้นกระบวนการนี้จึงเหมือนกับกระบวนการกลายเป็นปัจเจกของยุง (Individuation).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเล่นแร่แปรธาตุและคาร์ล ยุง

การเล่นแร่แปรธาตุและคาร์ล ยุง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเล่นแร่แปรธาตุและคาร์ล ยุง

การเล่นแร่แปรธาตุ มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ คาร์ล ยุง มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (5 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเล่นแร่แปรธาตุและคาร์ล ยุง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »