โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเรียงลำดับแบบฟองและแถวลำดับ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเรียงลำดับแบบฟองและแถวลำดับ

การเรียงลำดับแบบฟอง vs. แถวลำดับ

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับแบบฟอง (bubble sort) เป็นขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับที่เรียบง่ายมาก ดำเนินการบนโครงสร้างข้อมูลประเภทรายการ ทำงานโดยเปรียบเทียบสมาชิกที่อยู่ติดกัน เมื่อพบตำแหน่งที่ผิด (นั่นคือตัวหน้ามากกว่าตัวหลังในกรณีการเรียงจากน้อยไปมาก) ก็จะทำการสลับข้อมูลกัน และจะดำเนินการซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีตำแหน่งที่ผิดอีกซึ่งบ่งบอกว่ารายการนั้นเรียงแล้ว ชื่อของขั้นตอนวิธีนี้มีมาจากสมาชิกที่น้อยที่สุดจะค่อยๆถูกสลับขึ้นมาจนอยู่หน้าสุดของรายการ เปรียบได้กับฟองที่ค่อยๆผุดขึ้นมาถึงผิวน้ำ เนื่องจากขั้นตอนวิธีนี้ใช้เพียงการเปรียบเทียบจึงเป็นการเรียงแบบเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังเป็นการเรียงแบบเสถียรอีกด้วย ถึงแม้ว่าการเรียงลำดับแบบฟองจะเป็นขั้นตอนวิธีที่เรียบง่ายมาก แต่ไม่เหมาะในการเรียงข้อมูลจำนวนมากซึ่งมีวิธีการเรียงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากกว. ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับ (array) คือโครงสร้างข้อมูลที่เป็นรายการอย่างหนึ่ง ข้อมูล (value) จะถูกเก็บบนหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ แบบอยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ การเข้าถึงข้อมูลสามารถกระทำได้ผ่านดัชนี (index) หรืออาจเรียกว่า คีย์ โดยดัชนีจะเป็นจำนวนเต็มซึ่งบอกถึงลำดับที่ของข้อมูลในแถวลำดับ นอกจากนี้ ค่าของดัชนียังไปจับคู่กับที่อยู่หน่วยความจำ ผ่านสูตรคณิตศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่นแถวลำดับที่มีข้อมูล 10 ตัว โดยมีดัชนีตั้งแต่ 0 ถึง 9 สมมุติให้ข้อมูลแต่ละตัวใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์ และแถวลำดับนี้มีที่อยู่ในหน่วยความจำคือ 2000 จะได้ว่าที่อยู่หน่วยความจำของข้อมูลตัวที่ i คือ 2000 + 4i แถวลำดับยังสามารถขยายมิติไปเป็นสองมิติหรือมากกว่านั้นได้ เนื่องจากรูปแบบของแถวลำดับสองมิติมีรูปร่างเป็นตาราง คล้ายกับเมตริกซ์ บางทีจึงอาจเรียกแถวลำดับสองมิติว่าเมตริกซ์หรือตาราง (สำหรับตารางโดยส่วนมากแล้วจะหมายความถึงตาราง lookup) เช่นเดียวกับแถวลำดับมิติเดียวที่บางครั้งก็อาจเรียกว่าเวกเตอร์หรือทูเพิล แถวลำดับถือได้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเขียนโปรแกรม และสำคัญมากในการเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกัน และแทบจะไม่มีโปรแกรมใดเลยที่ไม่ใช้แถวลำดับ โดยแถวลำดับนี้ยังนำไปอิมพลีเมนต์โครงสร้างข้อมูลอื่นอีกมากมายเช่นรายการหรือสายอักขระ แม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลที่มีที่อยู่หน่วยความจำก็อาจจะมองหน่วยเก็บข้อมูลเป็นแถวลำดับขนาดยักษ์ก็ได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเรียงลำดับแบบฟองและแถวลำดับ

การเรียงลำดับแบบฟองและแถวลำดับ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รายการ (โครงสร้างข้อมูล)วิทยาการคอมพิวเตอร์

รายการ (โครงสร้างข้อมูล)

รายการ เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการเรียงแบบต่อเนื่องไปเป็นลำดับ ข้อมูลจะมีลำดับก่อนหลังกันคล้ายเวกเตอร์ ตัวอย่างของรายการเช่น การเรียงลำดับตัวอักษร A,B,C,...

การเรียงลำดับแบบฟองและรายการ (โครงสร้างข้อมูล) · รายการ (โครงสร้างข้อมูล)และแถวลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

การเรียงลำดับแบบฟองและวิทยาการคอมพิวเตอร์ · วิทยาการคอมพิวเตอร์และแถวลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเรียงลำดับแบบฟองและแถวลำดับ

การเรียงลำดับแบบฟอง มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ แถวลำดับ มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 11.76% = 2 / (5 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเรียงลำดับแบบฟองและแถวลำดับ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »