โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเว็บเบราว์เซอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเว็บเบราว์เซอร์

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน vs. เว็บเบราว์เซอร์

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน (chunked transfer encoding) เป็นวิธีหนึ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์เอชทีทีพี ในการส่งถ่ายข้อมูลไปยังโปรแกรมประยุกต์ของเครื่องลูกข่าย (ซึ่งมักจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์) ปกติแล้วข้อมูลที่ได้รับจากข้อความตอบรับเอชทีทีพีจะถูกส่งมาเป็นข้อมูลชิ้นเดียว ซึ่งขนาดของเนื้อหานั้นได้แสดงไว้ในส่วนหัว Content-Length ขนาดของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าเครื่องลูกข่ายจำเป็นต้องทราบว่า เมื่อไรข้อความตอบรับจะสิ้นสุดและเมื่อไรข้อความถัดไปจะตามมา และด้วยการใช้การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน ข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นบล็อกย่อย ๆ และถูกส่งออกไปเป็นหนึ่งหรือหลาย "ชิ้นส่วน" (chunk) ดังนั้นเครื่องแม่ข่ายอาจเริ่มส่งข้อมูลก่อนที่มันจะทราบว่าขนาดรวมทั้งหมดของเนื้อหาเป็นเท่าใด บ่อยครั้งที่ขนาดของบล็อกจะเท่ากันหมด แต่ก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งเครื่องให้บริการเอชทีทีพีใช้การบีบอัดข้อมูล (gzip หรือ deflate) เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการส่งถ่ายข้อมูล แม้ว่าการเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนสามารถใช้ได้กับทรัพยากรที่บีบอัดเพื่อลดปริมาณชิ้นส่วนที่ส่ง แต่หลังจากแบ่งแล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการบีบอัดในตัวเองก็จะไม่มีประโยชน์อะไร แถมยังทำให้เซิร์ฟเวอร์เสียเวลาในการบีบอัดอย่างเต็มที่ แล้วข้อมูลบีบอัดที่ออกมาจึงค่อยถูกตัดแบ่งตามแผน ส่วนกรณีที่มีการตัดแบ่งเป็นชิ้นส่วนก่อนแล้วค่อยนำไปบีบอัด มีข้อดีตรงที่สามารถบีบอัดได้ทันทีในขณะที่ข้อมูลกำลังส่ง เพราะข้อมูลที่นำมาบีบอัดมีขนาดเล็ก แต่ก็มีข้อเสียคือไม่สามารถทราบถึงขนาดข้อมูลสุดท้ายที่บีบอัดแล้วได้โดยง. วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเว็บเบราว์เซอร์

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเว็บเบราว์เซอร์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เอชทีทีพี

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเอชทีทีพี · เว็บเบราว์เซอร์และเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเว็บเบราว์เซอร์

การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วน มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ เว็บเบราว์เซอร์ มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.94% = 1 / (10 + 24)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเข้ารหัสขนส่งเป็นชิ้นส่วนและเว็บเบราว์เซอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »