โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเฮลโลเวิลด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเฮลโลเวิลด์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ vs. เฮลโลเวิลด์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และขั้นตอนวิธีที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซวอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน. ปรแกรมเฮลโลเวิลด์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่ทำการแสดงผลคำว่า "Hello world" หรือ "Hello, world!"(ตามหลักภาษาอังกฤษ) บนอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการเขียนภาษาโปรแกรมต่างๆ เพราะฉะนั้นโดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว มักจะใช้ในการตรวจสอบว่าเขียนภาษาโปรแกรมได้ถูกต้องหรือระบบมีการประมวลผลที่ถูกต้อง และมักถูกใช้เป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุดในการแสดงวากยสัมพันธ์การเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบน command-line interpreter (เชลล์) เพื่อทำการแสดงผลออกมา อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ก็มีความซับซ้อนอย่างน่าประหลาดใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องเขียนโปรแกรมสำหรับส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เมื่อเขียนโปรแกรมในembedded system ช้อความจะถูกส่งมายังจอภาพผลึกเหลว ซึ่งตัวอุปกรณ์นั้นไม่ได้แสดงผลตัวอักษร แต่ตัวโปรแกรมง่ายๆ นี้ จะทำการสร้างสัญญาณ เช่นเดียวกับการเปิดLED บ้างที่เราอาจกล่าวได้ว่า "Hello world" เปรียบเสมือนการต้อนรับเราเข้าสู่โปรแกรมก็ได้ โปรแกรมเฮลโลเวิลด์โปรแกรมแรกเกิดขึ้น จากหนังสือการเขียนโปรแกรมภาษาซี แต่งโดยไบรอัน เคอร์นิงแฮน และ เดนนิส ริตชี ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) โดยตัวอย่างโปรแกรมมาจาก กระดาษจดข้อมูลของไบรอันขณะที่ทำงานที่ เบลล์แล็บ (Bell Laboratories) ปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ตัวอย่างในหนังสือ พิมพ์ข้อความว่า "hello, world" (โดย ไม่มีตัวพิมพ์ใหญ่ และเครื่องหมายตกใจ ซึ่งได้เพิ่มมาในภายหลัง) โดยแสดงข้อความ: การเขียนคำนี้ มีการใช้งานโดยเขียนหลายแบบคือ ตัวอักษร H ใหญ่ และ h เล็ก ขณะเดียวกับ W ใหญ่ และ w เล็ก รวมถึงการเขียนเครื่องหมาย และแบบไม่มีเครื่องหมาย การเขียนชุดคำสั่งนี้ในขณะที่บางโปรแกรมสามารถใช้คำสั่งได้อย่างเรียบง่าย ในขณะที่บางโปรแกรมต้องใช้คำสั่งซับซ้อนในการแสดงผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้GUI โปรแกรมเฮลโลเวิลด์มีประโยชน์ในการทดสอบว่าคอมไพเลอร์และส่วนต่างๆหลักของโปรแกรมทำงานได้ การรวบรวมคำสั่ง "hello world" ในภาษาโปรแกรมต่างๆ ถูกใช้ในการช่วยเรียน และการเปรียบเทียบการใช้งานของภาษาต่าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเฮลโลเวิลด์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเฮลโลเวิลด์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุภาษาโปรแกรมคอมไพเลอร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบดังเดิมมักนิยมใช้ ในการสร้างเว็บไซต์ต่าง.

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ · การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุและเฮลโลเวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรม

ษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer) ภาษาโปรแกรมในยุคแรกเริ่มนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยถูกใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ดและเครื่องเล่นเปียโน ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ หลายพันภาษาถูกสร้างขึ้นมา ส่วนมากใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และสำหรับวงการอื่นภาษาโปรแกรมก็เกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ ปี ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่อธิบายการคิดคำนวณในรูปแบบเชิงคำสั่ง อาทิลำดับของคำสั่ง ถึงแม้ว่าบางภาษาจะใช้การอธิบายในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ การพรรณนาถึงภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ วากยสัมพันธ์ (รูปแบบ) และอรรถศาสตร์ (ความหมาย) บางภาษาถูกนิยามขึ้นด้วยเอกสารข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น ภาษาซีเป็นภาษาหนึ่งที่กำหนดโดยมาตรฐานไอโซ) ในขณะที่ภาษาอื่นอย่างภาษาเพิร์ลรุ่น 5 และก่อนหน้านั้น ใช้การทำให้เกิดผลแบบอ้างอิง (reference implementation) เป็นลักษณะเด่น.

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และภาษาโปรแกรม · ภาษาโปรแกรมและเฮลโลเวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมไพเลอร์

คอมไพเลอร์ (compiler) หรือ โปรแกรมแปลโปรแกรม, ตัวแปลโปรแกรม เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าแปลงชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์หนึ่ง ไปเป็นชุดคำสั่งที่มีความหมายเดียวกัน ในภาษาคอมพิวเตอร์อื่น คอมไพเลอร์ส่วนใหญ่ จะทำการแปล รหัสต้นฉบับ (source code) ที่เขียนในภาษาระดับสูง เป็น ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาเครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำงานได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม การแปลจากภาษาระดับต่ำเป็นภาษาระดับสูง ก็เป็นไปได้ โดยใช้ตัวแปลโปรแกรมย้อนกลับ (decompiler) รูปแสดงขั้นตอนการทำงานของตัวแปลโปรแกรม ผลลัพธ์ของการแปลโปรแกรม (คอมไพล์) โดยทั่วไป ที่เรียกว่า ออบเจกต์โค้ด จะประกอบด้วยภาษาเครื่อง (Machine code) ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ของแต่ละจุด และการเรียกใช้วัตถุภายนอก (Link object) (สำหรับฟังก์ชันที่ไม่ได้อยู่ใน อ็อบเจกต์) สำหรับเครื่องมือที่เราใช้รวม อ็อบเจกต์เข้าด้วยกัน จะเรียกว่าโปรแกรมเชื่อมโยงเพื่อที่ผลลัพธ์ที่ออกมาในขั้นสุดท้าย เป็นไฟล์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้สะดวก คอมไพเลอร์ที่สมบูรณ์ตัวแรก คือ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ของ ไอบีเอ็ม ในปี ค.ศ. 1957 และ ภาษาโคบอล (COBOL) ก็เป็นคอมไพเลอร์ตัวแรก ๆ ที่สามารถทำงานได้บนหลาย ๆ สถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาตัวแปลภาษารุดหน้าอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อมา ในช่วงทศวรรษ 1960.

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และคอมไพเลอร์ · คอมไพเลอร์และเฮลโลเวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

รหัสต้นฉบับ "Hello, World" ในภาษาซี สนิปเพตที่รู้จักกันครั้งแรกในหนังสือ ''เดอะซีโปรแกรมมิงแลงกวิจ'' เขียนโดยไบรอัน เคอร์เนแฮน และเดนนิส ริตชี ในปี ค.ศ. 1974 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) เป็นชุดคำสั่ง ที่ปฏิบัติงานเฉพาะเมื่อคอมพิวเตอร์สั่งกระทำการ (execute) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการใช้โปรแกรมในการสั่งงาน และกระทำตามชุดคำสั่งในหน่วยประมวลผลกลาง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเขียนโดยนักเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรม คอมไพเลอร์สามารถแปลงรหัสเครื่อง (machine code) ที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้โดยตรงได้จากรหัสต้นฉบับ (source code) แบบมนุษย์อ่านได้ หรืออีกทางหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้ด้วยอินเทอร์พรีเตอร์ วนหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระทำงานงานหนึ่งที่นิยามไว้อย่างดี เรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คลัง (library) และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียกว่าซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจจัดประเภทได้จากฟังก์ชันยาวหลายบรรทัด เช่น โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ร.

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · เฮลโลเวิลด์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเฮลโลเวิลด์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ เฮลโลเวิลด์ มี 55 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 5.19% = 4 / (22 + 55)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเฮลโลเวิลด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »