โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเก็บพลังงาน

ดัชนี การเก็บพลังงาน

Pumped-storage hydroelectricity) ในเวลส์. สถานีพลังงานที่อยู่ต่ำลงไปมีกังหันน้ำสี่ชุดที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมด 360 เมกะวัตต์เป็นเวลาหลายชั่วโมง, เป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดเก็บและการแปลงพลังงานแบบประดิษฐ์ การเก็บพลังงาน (Energy storage) สามารถทำได้โดยอุปกรณ์หรือตัวกลางทางกายภาพเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่เป็นประโยชน์ในภายหลัง, อุปกรณ์เก็บพลังงานบางครั้งเรียกว่าตัวสะสมพลังงาน (accumulator).

21 ความสัมพันธ์: พลังงานศักย์การเก็บรักษาไฮโดรเจนมหาวิทยาลัยดุ๊กมหาวิทยาลัยโคโลราโดรอเชสเตอร์ (รัฐนิวยอร์ก)ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูงราชวิทยาลัยลอนดอนล้อตุนกำลังตัวเก็บประจุตัวเก็บประจุยิ่งยวดตัวเรียงกระแสซินแก๊สแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรดแก๊สธรรมชาติแหล่งจ่ายไฟไกลโคเจนไฮโดรเจนไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เชื้อเพลิงชีวภาพเศรษฐกิจไฮโดรเจนเดอะนิวยอร์กไทมส์

พลังงานศักย์

ในฟิสิกส์ พลังงานศักย์ (Potential energy) คือ พลังงานที่มีในวัตถุเนื่องด้วยตำแหน่งในสนามแรง หรือมีในระบบนั้นเนื่องด้วยการกำหนดค่าในส่วนนั้น ชนิดของพลังงานศักย์ที่พบได้บ่อยคือ พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ขึ้นอยู่กับมวลและตำแหน่งแนวดิ่ง พลังงานศักย์ยืดหยุ่น ของสปริงที่ยืดหยุ่น และพลังงานศักย์ไฟฟ้าของประจุในสนามไฟฟ้า หน่วยเอสไอของพลังงานนี้คือ จูล (สัญลักษณ์คือ J).

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและพลังงานศักย์ · ดูเพิ่มเติม »

การเก็บรักษาไฮโดรเจน

การเก็บรักษาไฮโดรเจน (Hydrogen Storage) มีหลายวิธีในการเก็บไฮโดรเจนไว้ใช้ เช่นเก็บในสารประกอบเคมีความดันสูง มีความเย็นยิ่งยวด ที่สามารถปลดปล่อย H2เมื่อได้รับความร้อนได้ ถังเก็บใต้ดินก็สามารถใช้เก็บไฮโดรเจนในยามคลาดแคลนพลังงานอื่น เช่นพลังงานลมที่อาจขาดหายเป็นช่วงๆ หรือเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิงในการขนส่ง เข่นเรือหรือเครื่องบิน ตัวเก็บไฮโดรเจนมีหลายแบบแล้วแต่ขนาดของผู้นำไปใช้ การค้นคว้าด้านการเก็บรักษาไฮโดรเจนส่วนใหญ่ เน้นไปทางด้านถังขนาดกระทัดรัด และเบา เพื่อเก็บพลังงานสำหรับงานที่ต้องเคลื่อนที่ สำหรับไฮโดรเจนเหลว ถังเก็บต้องเย็นยิ่งยวดที่ราว 20.268 K (−252.882 °C or −423.188 °F) การแปรสภาพให้เป็นของเหลว ทำให้สูญเสียพลังงานอย่างมาก เพราะต้องใช้พลังงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลงมากชนาดนั้น ถังเหล็กต้องเป็นฉนวนอย่างดีเพื่อป้องกันการเดือด งานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สุงมาก ไฮโดรเจนเหลวมีความหนาแน่นของพลังงานต่อหน่วยปริมาตร น้อยกว่าเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนเช่นแก๊สโซลืนประมาณ 4 เท่า จุดสำคัญของปัญหาความเข้มข้นของไฮโดรเจนบริสุทธ์ก็คือมีไฮโดรเจนใน 1 ลิตรของแก๊สโซลีน(116 กรัมไฮโดรเจน) มากกว่า1 ลิตรของไฮโดรเจนเหลวบริสุทธ์(71 กรัมไฮโดรเจน) ถึง 64% คาร์บอนในแก๊สโซลีนยังช่วยในการเผาใหม้อีกด้วย สำหรับไฮโดรเจนอัดความดันมีการเก็บรักษาต่างกันไป แก๊สไฮโดรเจนมีความเข้มข้นของพลังงานต่อหน่วยน้ำหนักดี แต่ความเข้มข้นของพลังงานต่อหน่วยปริมาตรไม่ดีเมื่อเทียบกับสารไฮโดรคาร์บอน นี่เองที่มันต้องการถังเหล็กที่ใหญ่กว่าเพื่อการเก็บ ด้วยปริมาณของพลังงานเท่าๆกัน ถังเก็บไฮโดรเจนจะใหญ่กว่าและหนักกว่าถังเก็บไฮโดรคาร์บอน การเพิ่มความดันแก๊สจะทำให้ความเข้มข้นมีมากขึ้นแต่ไม่ทำให้ถังเบาลง.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและการเก็บรักษาไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยดุ๊ก

มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองเดอแรม ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1838 ที่เมืองไทรนิทีภายใต้ชื่อ Brown's Schoolhouse และได้ย้ายมายังเมืองเดอแรมในปี ค.ศ. 1892 และเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยดุ๊ก เพราะได้รับการบริจาคเงินของราชายาสูบ เจมส์ บูแคนัน ดุ๊ก ปัจจุบันมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี 6,578 คน (ค.ศ.2010) และมีพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 8,709 เอเคอร์ ใช้ระบบเทอมการศึกษาตามรูปแบบปฏิทินการศึกษา มหาวิทยาลัยดุ๊กจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดประจำปี..2011 มหาวิทยาลัยดุ๊กมีชื่อเสียงในด้านวิชาการหลายด้าน ซึ่งในปี 2551 ทางนิตยสารยูเอสนิวส์จัดอันดับมหาวิทยาลัยในส่วนระดับปริญญาตรีเป็นอันดับ 8 ของประเทศ ซึ่งนอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงมากในด้านกีฬา โดยได้แข่งขันในลีกแอตแลนติกโคสต์คอนเฟอเรนซ์ ซึ่งได้ชนะเลิศบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 4 ครั้ง อาคารฟอนเดอร์เฮย์เดนพาวิลเลียน ในมหาวิทยาลัยดุ๊ก.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและมหาวิทยาลัยดุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโคโลราโด

มหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและมหาวิทยาลัยโคโลราโด · ดูเพิ่มเติม »

รอเชสเตอร์ (รัฐนิวยอร์ก)

รอเชสเตอร์ (Rochester) เป็นเมืองในมอนโรเคาน์ตี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ทะเลสาบออนแทรีโอ จากข้อมูลในปี..

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและรอเชสเตอร์ (รัฐนิวยอร์ก) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

ง HVDC ระยะไกล เพื่อส่งไฟฟ้าพลังน้ำจากแม่น้ำเนลสันของคานาดา มายังสถานีที่เห็นนี้ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟ AC ป้อนให้กริดสำหรับเมืองมานิโตบา ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง (High Voltage Direct Current Transmission System: HVDC) ใช้กระแสตรงในการส่งพลังงานไฟฟ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบการส่งด้วยกระแสสลับที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สำหรับการส่งทางไกลระบบ HVDC อาจจะถูกกว่าและประสบความสูญเสียไฟฟ้าน้อยกว่า แต่ยังเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละผู้ผลิตอยู่ สำหรับเคเบิ้ลใต้น้ำ HVDC หลีกเลี่ยงการใช้กระแสสูงที่จำเป็นในการ chargeและ discharge ตัว capacitor ของสายเคเบิลในแต่ละรอบคลื่น สำหรับระยะทางที่สั้นๆ อุปกรณ์แปลงไฟ DC มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับระบบ AC แต่อาจยังคงพอรับได้เนื่องจากประโยชน์หลายๆอย่างของระบบ DC ในการเชื่อมโยงหลายระบบเข้าด้วยกัน Proposed HVDC ยอมให้ทำการส่งกำลังระหว่างระบบไฟฟ้า AC สองระบบที่ต่างกันได้ และสามารถขจัดสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวที่กริด, HVDC ยังยอมให้ทำการถ่ายโอนกำลังไฟระหว่างระบบที่มีความถี่แตกต่างกันได้ เช่นความถี่ 50 Hz กับ 60 Hz ความสัมพันธ์ดังกล่าวช่วยปรับปรุงเสถียรภาพของแต่ละกริด เนื่องจากทำให้สามารถดึงเอากำลังจากอีกระบบหนึ่งมาใช้ในคราวจำเป็นได้ รูปแบบใหม่ของการส่งด้วย HVDC ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษที่ 1930 ในประเทศสวีเดน (ASEA) และในประเทศเยอรมนี การติดตั้งในเชิงพาณิชย์ในช่วงต้นรวมถึงในสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1951 ระหว่างมอสโกและ Kashira และ ระบบ 100 กิโลโวลต์, 20 MW ระหว่าง Gotland กับสวีเดนในปี ค.ศ.1954 การเชื่อมโยง HVDC ที่ยาวที่สุดในโลกในปัจจุบันคือ Xiangjiaba-เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 2,071 กิโลเมตร (1,287 ไมล์) เป็นระบบ± 800 kV 6400 เมกะวัตต์ ช่วงต้นปี ค.ศ.2013 การเชื่อมโยง HVDC ที่ยาวที่สุดจะเป็นที่ ริโอเดราในประเทศบราซิล ซึ่งประกอบด้วยสอง bipoles ของ± 600 กิโลโวลต์ 3,150 เมกะวัตต์เชื่อมต่อระหว่าง Porto Velho ในรัฐ Rondôniaไปยังพื้นที่ São เปาโล ด้วยความยาวของสาย DC มากกว่า 2,500 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) ในประเทศไทย ได้การเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย ด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง ระหว่างสถานีไฟฟ้าแรงสูงคลองแงะ จังหวัดสงขลา กับสถานีกูรุน ประเทศมาเลเซีย ด้วยแรงดัน 300 KV.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวิทยาลัยลอนดอน

ราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทย์ศาสตร์ (The Imperial College of Science, Technology and Medicine) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย) http://www3.imperial.ac.uk/pls/portallive/docs/1/21735699.DOC เป็นมหาวิทยาลัยบริติช ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ และธุรกิจ จนถึงปัจจุบัน บุคลากรของราชวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบลจำนวนทั้งหมด 15 รางวัล ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสถาบันมีชื่อเสียงมากในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี โดยมักได้รับการจัดอันดับจากสำนักต่างๆให้อยู่ในระดับต้นๆของทวีปยุโรปเสมอ และมักจะมีอันดับเป็นรองเพียงแค่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เท่านั้น ในปี ค.ศ. 2010 The Complete University Guide ได้จัดให้ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร รองจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ราชวิทยาลัยลอนดอนยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 5 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในปี ค.ศ. 2009 โดยนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ และอยู่ในอันดับที่ 26 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัสเซลล์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสามเหลี่ยมทองคำในสมาพันธ์มหาวิทยาลัยยุโรปและสมาพันธ์ประชาคมมหาวิทยาลัย ในช่วงแรก ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสมาชิกในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนที่จะแยกออกมาเป็นอิสระในครั้งฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย (8 กรกฎาคม..

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและราชวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ล้อตุนกำลัง

ล้อตุนกำลังในทางอุตสาหกรรม ล้อตุนกำลัง (Flywheel) เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่หมุนได้, มันถูกใช้ในการเก็บพลังงานที่เกิดขี้นจากการหมุน.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและล้อตุนกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (capacitor หรือ condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บ้างเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) แต่ส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า แคป (Cap) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักร้างกันหรือทำงานร่วมกันในวงจรต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ในระบบจ่ายไฟฟ้าใช้ตัวเก็บประจุเป็นชุดหลายตัวเพิ่มค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor) ให้กับระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า แคปแบงค์ (Cap Bank) ตัวเก็บประจุบางชนิดในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกนำมาใช้แทนแบตเตอรี่ เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor).

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและตัวเก็บประจุ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเก็บประจุยิ่งยวด

thumb ตัวเก็บประจุยิ่งยวด เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้าจำนวนมากๆ บางตัวทำงานโดยไม่ใช้ปฏิกิริยาทางเคมี คาดว่าจะถูกนำมาใช้แทน แบตเตอรีในอนาคต.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและตัวเก็บประจุยิ่งยวด · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเรียงกระแส

ตัวเรียงกระแส (Rectifier) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและตัวเรียงกระแส · ดูเพิ่มเติม »

ซินแก๊ส

ซินแก๊ส Syngas, or synthesis gas, เป็นแก๊สเชื้อเพลิงผสม ส่วนผสมหลักประกอบด้วย ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ชื่อนี้เพราะถูกใช้เป็นตัวกลางในการผลิต synthetic natural gas (SNG) และ แอมโมเนีย หรือ เมทานอล นอกจากนี้ ซินแก๊ส ยังใช้ผลิตปิโตรเลียมสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวหล่อลื่นในการผลิตแก๊สโวลีนอีกด้วย ซินแก๊สเผาไหม้ได้ดี และถูกนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในบ่อยๆ แต่มีความหนาแน่นของพลังงานน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแก๊สธรรมชาติเท่านั้น วิธีการผลิตซินแก๊ส คือการใช้ขบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) ของถ่านหิน หรือ มวลชีวภาพ หรือขบวนการเปลี่ยนสถานะจากพลังงานเหลือใช้โดยใช้เทคนิคของ gasification หรือใช้ขบวนการ เปลี่ยนรูปไอน้ำของแก๊สธรรมชาติหรือสารไฮโดรคาร์บอนเหลวให้เป็นแก๊สไฮโดรเจน.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและซินแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด

แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead–acid battery) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1859 โดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส แกสตัน Planté.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติ

ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและแก๊สธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งจ่ายไฟ

รูปแสดงแหล่งจ่ายไฟแบบหลอดสูญญากาศ แขวนบนแร็ค ปรับได้ ทำงานที่ +/- 1500 volts DC, 0 to 100mA output, สามารถจำกัดกระแสได้ แหล่งจ่ายไฟ (Power supply)เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและแหล่งจ่ายไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไกลโคเจน

รงสร้างของไกลโคเจน ไกลโคเจน (Glycogen) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่พบในเซลล์สัตว์ เป็นอาหารสะสมประเภทคาร์โบไฮเดรตในสัตว์ ซึ่งสร้างจากกลูโคส ประกอบไปด้วยกลูโคสต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะไกลโคซิดิก โดยมีการแตกกิ่งสั้น ๆ จำนวนมาก เหมือนกับอะไมโลเพกทิน แต่มีจำนวนกิ่งมากกว.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและไกลโคเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

รเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า H2O2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม ไม่อยู่ตัว ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน จึงควรเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง, ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงชีวภาพ

ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและเชื้อเพลิงชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจไฮโดรเจน

รษฐกิจไฮโดรเจน เป็นระบบที่ถูกนำเสนอเพื่อนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นพลังงานแทนพลังงานจากฟอสซิล มีผู้สนับสนุนในเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ในการใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนยานพาหนะ เป็นพลังงานในอาคารและอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ต่างๆ แต่ไฮโดรเจนอิสระไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้องสกัดออกมาจากสารอื่น มีวิธีสกัดหลายวิธี ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตนี่เองว่ามีแหล่งผลิตจากที่ใด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร และเป็นการผลิตพลังงานที่ยั่งยืนหรือไม่ วัฎจักรของส่วนประกอบในเศรษฐกิจไฮโดรเจน.

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและเศรษฐกิจไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: การเก็บพลังงานและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »