โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเกณฑ์ทหารและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การเกณฑ์ทหารและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง

การเกณฑ์ทหาร vs. สงครามพิวนิกครั้งที่สอง

ม่มีข้อมูล การเกณฑ์ (conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยการออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยการจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ. งครามพิวนิกครั้งที่สอง หรือบ้างเรียกว่า สงครามฮันนิบาล หรือ สงครามต่อต้านฮันนิบาล (สำหรับชาวโรมัน) กินเวลาตั้งแต่ปีที่ 218 ก่อนคริสตกาลจนถึงปีที่ 202 ก่อนคริสตกาล ประกอบด้วยการรบย่อยๆ จำนวนมากทั้งทางฟากตะวันตกและตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สงครามนี้จัดว่าเป็นสงครามใหญ่ครั้งที่ 2 ระหว่างคาร์เทจกับสาธารณรัฐโรมัน โดยมีชาวเบอร์เบอร์เข้าร่วมด้วยในฝั่งของคาร์เทจ รัฐทั้งสองนี้มีสงครามใหญ่กันทั้งสิ้น 3 ครั้งตลอดช่วงเวลาที่ทั้ง 2 รัฐดำรงอยู่ เรียกชื่อว่า "สงครามพิวนิก" เนื่องจากชื่อของอาณาจักรโรมในภาษาคาร์เทจนั้นเรียกว่า "พิวนิชี" ตามภาษาฟีนีเชียนของบรรพบุรุษ สงครามนี้นบว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อฮันนิบาลเดินทางข้ามเทือกเขาแอลป์ไปบุกจู่โจมโรมโดยไม่ทันตั้งตัว ตามด้วยทัพพันธมิตรของชาวกอลที่ร่วมเข้าบดขยี้กองทัพโรมันในยุทธการทรีเบีย และการซุ่มโจมตีครั้งใหญ่ในยุทธการทราซิมีน ฝ่ายโรมันพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในยุทธการคันนาย หลังจากนั้น พันธมิตรของโรมันหลายเมืองยกทัพไปโจมตีคาร์เทจ และทำให้การรบในอิตาลียืดเยื้ออยู่นับทศวรรษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กองทัพโรมันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี กองทัพโรมันสามารถเข้ายึดเมืองใหญ่หลายเมืองที่เข้ากับฝ่ายศัตรู และทำลายทัพคาร์เทจที่จะยกไปช่วยฮันนิบาลลงได้ในยุทธการเมเทารัส สกิปิโอ อัฟริกานุส นายพลชาวแอฟริกันซึ่งเป็นแม่ทัพโรมันสามารถเข้ายึดอาณาจักรคาร์เทจใหม่บนแผ่นดินสเปนได้ และเข้าครอบครองไอบีเรียในยุทธการอิลิปา สงครามสิ้นสุดลงในยุทธการซามา เมื่อสกิปิโอ อัฟริกานุส ประจันหน้ากับฮันนิบาลในแอฟริกา และฝ่ายหลังพ่ายแพ้ยับเยิน คาร์เทจยอมจำนนและตกเป็นรัฐอารักขาของโรมัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การเกณฑ์ทหารและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง

การเกณฑ์ทหารและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การเกณฑ์ทหารและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง

การเกณฑ์ทหาร มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามพิวนิกครั้งที่สอง มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (20 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การเกณฑ์ทหารและสงครามพิวนิกครั้งที่สอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »