เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

การาวัจโจ vs. ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี.. “นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” โดย คาราวัจโจ นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ หรือ นักบุญจอห์นเร่ร่อน (John the Baptist หรือ John in the Wilderness) เป็นหัวข้อที่เขียนอย่างน้อยแปดครั้งโดยคาราวัจโจ ผู้เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ระหว่างปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มี 27 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชีปีโอเน บอร์เกเซฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเตฟลอเรนซ์พ.ศ. 2145พ.ศ. 2153พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)การปฏิรูปคาทอลิกการเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ)มีเกลันเจโลวินเชนโซ จุสตีนีอานีสะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริดอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อาหารค่ำมื้อสุดท้ายจิตรกรรมสีน้ำมันจูเซปเป เซซารีดิเอโก เบลัซเกซความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)ค่าต่างแสงนักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ)นักดนตรี (คาราวัจโจ)โบสถ์น้อยกอนตาเรลลีโรมโจวันนี บาลยีโอเนโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรีเลโอนาร์โด ดา วินชีเด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ)

ชีปีโอเน บอร์เกเซ

ปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese หรือ Scipione Caffarelli; ค.ศ. 1576 - (2 ตุลาคม ค.ศ. 1633) พระคาร์ดินัล สคิปิโอเน บอร์เกเซเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกและนักสะสมศิลปะของยุคเรอเนสซองซ์และเป็นสมาชิกของตระกูลบอร์เกเซ thumbnail.

การาวัจโจและชีปีโอเน บอร์เกเซ · ชีปีโอเน บอร์เกเซและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต

ฟรันเชสโก มารีอา บอร์โบเน เดล มอนเต (Francesco Maria Borbone Del Monte; 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1549, เวนิส - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1627, โรม) เป็นนักบวชชาวอิตาลีที่มีตำแหน่งเป็นคาร์ดินัล เดล มอนเตเป็นนักการทูตและนักสะสมศิลปะคนสำคัญ ความสำคัญของเดล มอนเตอยู่ที่เป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์การาวัจโจผู้เป็นจิตรกรยุคบาโรกคนสำคัญของอิตาลี และเป็นผู้สะสมศิลปะที่เป็นงานชิ้นสำคัญ ๆ ในยุคนั้น.

การาวัจโจและฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต · ฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเตและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

การาวัจโจและฟลอเรนซ์ · ฟลอเรนซ์และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2145

ทธศักราช 2145 ใกล้เคียงกั.

การาวัจโจและพ.ศ. 2145 · พ.ศ. 2145และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2153

ทธศักราช 2153 ใกล้เคียงกั.

การาวัจโจและพ.ศ. 2153 · พ.ศ. 2153และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)

ระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (The Calling of St Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” เขียนเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 สำหรับชาเปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิในกรุงโรม ในทศวรรษก่อนหน้านั้น หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลในหัวเรื่องของชื่อของท่าน (มัตเตโอ.

การาวัจโจและพระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ) · พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปคาทอลิก

การปฏิรูปคาทอลิกราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 147 (Catholic Reformation) หรือการปฏิรูปคู่เคียง (Counter-Reformation), from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

การปฏิรูปคาทอลิกและการาวัจโจ · การปฏิรูปคาทอลิกและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)

การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (The Martyrdom of Saint Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลคอนทราเรลลิในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิในกรุงโรมในประเทศอิตาลี หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลของตนเองในหัวเรื่องของนักบุญผู้ที่ท่านใช้เป็นชื่อ (มัตเตโอ.

การาวัจโจและการเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ) · การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ)

มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (Martha and Mary Magdalene) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะดีทรอยต์ในสหรัฐอเมริกา ภาพ “มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา” เป็นภาพที่เขียนราวปี ค.ศ. 1598 เป็นภาพของพี่น้องในคัมภีร์ไบเบิล ขณะที่มารธากำลังพยายามชักชวนให้มารีย์ชาวมักดาลาละทิ้งชีวิตเดิมและหันมารับพระเยซู ใบหน้าของมารธาอยู่ในเงาเอนตัวไปข้างหน้าเพื่อหว่านล้อมมารีย์ผู้หมุนดอกส้มเล่นอยู่ในมือหนึ่งขณะที่อีกมือหนึ่งถือกระจกสัญลักษณ์ของความสำรวยที่แมรีจะต้องเลิกใช้เมื่อหันไปนับถือคริสต์ศาสนา “มารธาและมารีย์” เป็นภาพที่เขียนขณะที่พำนักอยู่ที่วังของพระคาร์ดินัลฟรันเชสโก มาเรีย เดล มอนเต ผู้เป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคนแรก ภาพที่การาวัจโจเขียนให้แก่เดล มอนเตแบ่งเป็นสองชุดชุดหนึ่งเป็นภาพชีวิตประจำวันทางโลกที่รวมทั้ง “นักดนตรี”, “คนเล่นลูท” และ “บาคคัส” - ภาพในกลุ่มนี้เป็นภาพเด็กชายหรือชายหนุ่มที่เขียนภายในห้องที่แคบ - และอีกกลุ่มหนึ่งคือภาพทางคริสต์ศาสนาที่รวมทั้ง “พักระหว่างหนีไปอียิปต์” และ “นักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์” ในบรรดาภาพทางศาสนาเป็นภาพเขียนสี่ภาพที่นางแบบเป็นสตรีคนเดียวกันสองคนทั้งรูปเดี่ยวและรูปที่มีทั้งสองคนอยู่ในภาพ ทั้งสองคนคืออันนา บิอังชินิ (Anna Bianchini) และฟิลลิเด เมลันโดรนิ (Fillide Melandroni) ผู้เป็นสาวโสเภณีผู้มีชื่อเสียงของกรุงโรมขณะนั้นและเป็นที่แสวงหาของชนชั้นสูงในสังคมของชาวโรม และมักจะมาแวะที่วังของเดล มอนเต อันนา บิอังชินิปรากฏก่อนเป็นแมรี แม็กดาเลนในภาพ “มารีย์ชาวมักดาลาสำนึกผิด” ที่เขียนร..

การาวัจโจและมารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ) · มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ)และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

การาวัจโจและมีเกลันเจโล · มีเกลันเจโลและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

วินเชนโซ จุสตีนีอานี

มาร์เกเซ วินเชนโซ จุสตีนีอานี (Marchese Vincenzo Giustiniani; 13 กันยายน ค.ศ. 1564 - 27 ธันวาคม ค.ศ. 1637) เป็นนายธนาคารและนักสะสมศิลปะคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 จุสตีนีอานีมีชื่อเสียงในปัจจุบันจากงานสะสมศิลปะที่พาลัซโซจุสตีนีอานี ใกล้ตึกแพนเทียนในกรุงโรมและที่ปาลัซโซของครอบครัวที่บัสซาโนโดยวินเชนโซและพี่ชายเบนเนเดตโต และในการเป็นผู้อุปถัมภ์การาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญ.

การาวัจโจและวินเชนโซ จุสตีนีอานี · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และวินเชนโซ จุสตีนีอานี · ดูเพิ่มเติม »

สะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริด

ลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (Salome with the Head of John the Baptist) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระราชวังมาดริด ในประเทศสเปน นักชีวประวัติโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี (Giovanni Bellori) กล่าวถึงภาพเขียน “สะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์” ในปี..

การาวัจโจและสะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริด · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และสะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริด · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

การาวัจโจและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

การาวัจโจและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

การาวัจโจและจิตรกรรมสีน้ำมัน · จิตรกรรมสีน้ำมันและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป เซซารี

ูเซปเป เซซารี (Giuseppe Cesari) (ราว ค.ศ. 1568 - 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1640) เป็นจิตรกรรมสมัยแมนเนอริสม์ชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน เซซาริเกิดเมื่อวันที่ ราว ค.ศ. 1568 ที่เมืองอาร์พิโนใน ประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1640 ที่กรุงโรม ชื่ออื่นที่เซซาริเป็นที่รู้จักคือ “อิล จุยเซ็ปปิโน” และ “คาวาเลียร์ดาร์ปิโน” เพราะได้รับแต่งตั้งให้เป็น “Cavaliere di Cristo” โดยสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้อุปถัม.

การาวัจโจและจูเซปเป เซซารี · จูเซปเป เซซารีและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ดิเอโก เบลัซเกซ

อโก เบลัซเกซ ดิเอโก โรดริเกซ เด ซิลบา อี เบลัซเกซ (Diego Rodríguez de Silva y Velázquez; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2142 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2203) เป็นจิตรกรชาวสเปน มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น Las Meninas, La Venus del espejo และ La Rendición de Breda.

การาวัจโจและดิเอโก เบลัซเกซ · ดิเอโก เบลัซเกซและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)

วามกังขาของนักบุญทอมัส (The Incredulity of Saint Thomas) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระราชวังซองส์ซูซิ, พอทสดัมในประเทศเยอรมนี ภาพ “ความกังขาของนักบุญทอมัส” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึงปี ค.ศ. 1602 เป็นภาพที่ในกลุ่มเดียวกับ “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “สังเวยไอแซ็ค” ที่อุฟฟิซิเพราะตัวแบบอัครสาวกในทุกภาพเป็นคนคนเดียวกัน เช่นเดียวกับภาพ “นักบุญแม็ทธิวและเทวดา” ภาพนี้เดิมเป็นของวินเชนโซ จุสตินิอานิและต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมหลวงของปรัสเซีย แต่โชคดีที่เก็บไว้ที่พอทสดัมจึงรอดจากการทำลายด้วยระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ ภาพนี้เป็นภาพที่นิยมก็อปปีกันมากที่สุด ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิ้น 22 ก็อปปีจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามบันทึกของพระวรสารนักบุญจอห์น นักบุญทอมัสไม่ได้เห็นการปรากฏตัวของพระเยซูแก่อัครสาวกหลังจากที่ทรงฟื้นชีพ นักบุญทอมัสจึงประกาศว่านอกจากว่าจะได้ยื่นมือไปสัมผัสแผลของพระองค์ก็จะไม่เชื่อในสิ่งที่ได้ยิน สัปดาห์หนึ่งต่อมาพระเยซูก็ทรงมาปรากฏตัวและบอกให้ทอมัสสัมผัสพระองค์และกล่าวว่า “ขอสมพรแก่ผู้ที่ยังไม่เห็นแต่เชื่อ” ความกังขาของนักบุญทอมัสประทับใจคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวเป็นอันมาก ไม่มีภาพเขียนภาพอื่นใดของคาราวัจโจที่สร้างความประหลาดใจได้เท่าภาพนี้ นักบุญทอมัสมีความกังขาจนถึงกับต้องเอานิ้วจิ้มแผลเพื่อพิสูจน์ก่อนที่จะอุทานเมื่อทราบแน่ว่าเป็นพระเยซูว่า “My Lord and my God” การวางภาพชายสี่คนยืนรวมกันจนศีรษะแทบชนกันโดยมีพระพักตร์ของพระเยซูอยู่ในเงามืดเป็นการเพิ่มอารมณ์ของภาพ ตัวแบบอีกสามคนมีแสงส่องบนใบหน้าว่า “รู้”.

การาวัจโจและความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ) · ความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ค่าต่างแสง

ต่างแสง (Chiaroscuro, แปลว่า แสง-ความมืด) เป็นศัพท์ที่ใช้ในการบรรยายงานศิลปะที่ใช้ความตัดกันของความมืดกับความสว่าง ซึ่งเป็นคำที่มักจะใช้สำหรับภาพเขียนที่ใช้การตัดกันอย่างรุนแรงที่มีผลต่อองค์ประกอบของภาพทั้งภาพ ลักษณะของภาพก็คล้ายกับการใช้สป็อตไลท์บนเวที แต่ศิลปินและนักประวัติศาสตร์ศิลป์ก็ใช้คำนี้ในการกล่าวถึงเท็คนิคการใช้ค่าแตกต่างของแสงซึ่งไม่จำเป็นต้องรุนแรง เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นมวลในการเขียนสิ่งที่เป็นสามมิติ เช่นร่างกายของมนุษย์ ในปัจจุบันคำนี้ก็ใช้ในการบรรยายภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ที่ปรากฏออกมาในลักษณะนี้.

การาวัจโจและค่าต่างแสง · ค่าต่างแสงและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ)

นักบุญฟรานซิสปลื้ม หรือ ความปิติของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซี (Saint Francis of Assisi in Ecstasy หรือ The Ecstasy of Saint Francis of Assisi) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แวดส์เวิร์ธแอนธีเนียม, ฮาร์ทฟอร์ด, คอนเนตทิคัตในสหรัฐอเมริกา ภาพ “นักบุญฟรานซิสปลื้ม” เขียนราวปี ค.ศ. 1595 เป็นภาพเขียนภาพแรกที่คาราวัจโจเขียนที่เกี่ยวกับศาสนาและเชื่อกันว่าเป็นภาพที่เขียนไม่นานหลังจากที่ย้ายไปพักอาศัยอยู่กับคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเต และคงเป็นภาพที่เขียนตามความประสงค์ของเดล มอนเตและคงเป็นภาพแรกที่เขียนในฐานะ “จิตรกรของเดล มอนเต” ที่เชื่อกันว่าคาราวัจโจใช้เป็นการบรรยายตัวเองอยู่หลายปีขณะที่พำนักอยู่ในวังมาดามา (Palazzo Madama) ของเดล มอนเต ภาพนี้เป็นภาพของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิ ซึ่งเป็นชื่อที่คาร์ดินัลใช้ในชั่วขณะที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นรอยแผลเดียวกับตำแหน่งแผลของพระเยซูเมื่อทรงถูกตรึงกางเขน การรับรอยแผลเป็นเรื่องที่บรรยายโดยหลวงพี่เลโอผู้เป็นสหายของนักบุญฟรานซิสในปี ค.ศ. 1224 ตามคำบรรยายแล้วนักบุญฟรานซิสออกไปในป่ากับผู้ติดตามกลุ่มหนึ่งเพื่อไปทำสมาธิ เมื่อตกกลางคือนหลวงพี่เลโอก็เห็นปรากฏการณ์ของดรุณเทพ หกปีกซึ่งเป็นเทวดาวรรณะหนึ่งลงมาปรากฏตัวตามคำสวดมนต์ของนักบุญฟรานซิสที่ว่ามีความเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานของพระเยซูและในความรักของพระองค์: ทันใดนั้นก็มีแสงส่องสว่างลงมาราวกับสวรรค์ระเบิดเป็นแสงสีที่เต็มไปด้วยสีสรรค์และดวงดาวที่พร่าพราย ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็มีแสงที่สว่างที่จัดจ้าที่พุ่งลงมาจากฟ้าด้วยความเร็วอย่างน่าหวาดหวั่นและมาหยุดลงโดยไม่เคลื่อนไหวเหนือหินแหลมหน้านักบุญฟรานซิส ที่ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ที่เป็นเพลิงมีปีกตรึงบนกางเขน สองปีกเพลิงพุ่งขึ้นไปข้างบน อีกสองปีกกางออกไปด้านข้าง และอีกสองปีกปิดตัวพระเพลิง และแผลที่มือและที่เท้ามีเลือดกระเด็นออกมา ตัวพระเพลิงที่เรืองแสงมีใบหน้าที่งามดั่งเทพแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นใบหน้าที่เศร้า และเป็นใบหน้าของพระเยซู ในทันใดนั้นก็มีเลือดและไฟพุ่งเป็นสายออกมาจากรอยแผลของพระองค์มายังมือและเท้าของนักบุญฟรานซิสและตาปูที่หัวใจที่ทรงถูกแทงด้วยหอก นักบุญฟรานซิสเปล่งเสียงร้องดังออกมาด้วยความปิติและความเจ็บปวดเมื่อตัวพระเพลิงประทับร่างลงบนนักบุญฟรานซิสเหมือนรูปสะท้อนที่เต็มไปด้วยความรัก, ความงาม และความเศร้า เมื่อได้รับรอยแผลบนร่างกายแล้วและด้วยความปิติดั่งเพลิงของทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว นักบุญฟรานซิสก็ทรุดลงและหมดสติลงในกองเลือด ภาพที่คาราวัจโจเขียนไม่มีความเป็นนาฏกรรมที่ใกล้เคียงกับคำบรรยายของหลวงพี่เลโอแต่อย่างใด ดรุณเทพหกปีกมาแทนด้ยวเทวดาสองปีธรรมดา นอกจากนั้นคาราวัจโจก็ละเว้นฉากการเผชิญหน้าอันรุนแรงระหว่างพระเยซูกับนักบุญฟรานซิส ไม่มีสายเลือดที่พุ่งกระฉูดลงมายังนักบุญฟรานซิส ไม่มีกองเลือด ไม่มีรูปพระเยซูในรูปของดรุณเทพ ภาพของคาราวัจโจเป็นแต่เพียงภาพของเทวดาที่ประคองนักบุญฟรานซิสอย่างอย่างอ่อนโยนโดยมีสหายของนักบุญอยู่ใกลออกไปในความมืดที่แทบจะมองไม่เห็น หัวเรื่องนี้เป็นหัวเรื่องที่นิยมวาดกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13: จอตโต ดี บอนโดเน เขียนหัวข้อนี้ในปีราวปี..

การาวัจโจและนักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ) · นักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ)และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

นักดนตรี (คาราวัจโจ)

นักดนตรี (The Musicians) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกา ภาพ “นักดนตรี” เขียนราวเสร็จในปี ค.ศ. 1595 ราว..

การาวัจโจและนักดนตรี (คาราวัจโจ) · นักดนตรี (คาราวัจโจ)และยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกอนตาเรลลี

ปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) เป็นชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสนาโวนาในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นวัดที่สร้างในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ออกแบบโดย จาโคโม เดลลา พอร์ตา (Giacomo della Porta) และสร้างโดยสถาปนิกโดเมนิโค ฟอนทานา (Domenico Fontana) ระหว่างปี ค.ศ. 1518 ถึงปี ค.ศ. 1589 เพื่อเป็นวัดประจำชาติของฝรั่งเศสในกรุงโรม ชาเปลคอนทราเรลลิมีความสำคัญในการเป็นที่ตั้งของภาพเขียนสามภาพโดยคาราวัจโจจิตรกรคนสำคัญของยุคบาโรกระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 ที่เป็นฉากชีวิตของนักบุญแม็ทธิวที่รวมทั้งภาพ: “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว”, “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” ชาเปลสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีผู้ที่ก่อนเสียชีวิตในปี..

การาวัจโจและโบสถ์น้อยกอนตาเรลลี · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และโบสถ์น้อยกอนตาเรลลี · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

การาวัจโจและโรม · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และโรม · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี บาลยีโอเน

อวานนิ บากลิโอเน (ภาษาอิตาลี: Giovanni Baglione หรือ Il Sordo del Barozzo) (ค.ศ. 1566 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1643) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกสมัยต้นและนักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

การาวัจโจและโจวันนี บาลยีโอเน · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และโจวันนี บาลยีโอเน · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี

อวานนิ เปียโตร เบลโลริ หรือ จาน เปียโตร เบลโลริ (ภาษาอังกฤษ: Giovanni Pietro Bellori หรือ Gian Pietro Bellori) (ค.ศ. 1613 - ค.ศ. 1696) เบลโลริเป็นนักเขียนชีวประวัติของศิลปินชาวอิตาลียุคบาโรกคนสำคัญของอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิโอวานนิ เบลโลริอาจจะเป็นหลานของนักสะสมของโบราณและนักเขียนฟรานเชสโค อันเจโลนิ (Francesco Angeloni) จิโอวานนิพำนักอยูที่บ้านของอันเจโลนิในกรุงโรม นอกจากนั้นก็ยังได้รับการศึกษาด้านศิลปะจากโดเม็นนิโค แซมปิเอริ (Domenico Zampieri) เมื่อยังหนุ่มเบลโลเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะเซนต์ลูคแต่ศึกษาและเขียนเกี่ยวกับศิลปะคลาสสิกและศิลปะร่วมสมัย ในปี..

การาวัจโจและโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

การาวัจโจและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ)

็กชายปอกผลไม้ (ภาษาอังกฤษ: Boy Peeling Fruit) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่มูลนิธิโรเบอร์โต ลอนกีห์, โรมในประเทศอิตาลี ภาพ “เด็กชายปอกผลไม้” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1592 ถึงปี ค.ศ. 1593 เป็นงานที่เชื่อกันว่าเป็นงานชิ้นแรกของคาราวัจโจที่เขียนไม่นานหลังจากมาถึงโรมจากมิลานในกลางปี ค.ศ. 1592 ที่อยู่ระหว่างนี้ไม่ทราบแน่นอนแต่ตามคำกล่าวของจุยเลียโน มันชินิ (Giulio Mancini) คาราวัจโจพักอยู่ระยะหนึ่งกับพันดุลโฟ พุชชิที่วังโคโลนนา แต่ไม่นานก็ย้ายเพราะไม่พอใจในวิธีที่พุชชิปฏิบัติด้วย (พุชชิให้แต่ผักเขียวกับผู้ที่พักอยู่ในบ้านจนคาราวัจโจตั้งชื่อเล่นให้ว่า “มอนซิยอร์สลัด”) ในช่วงนั้นคาราวัจโจกก็อปปีงานศาสนาให้พุชชิแต่ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ ในขณะเดียวกันก็เขียนงานสองสามชิ้นของตนเองที่รวมทั้งงานชิ้นนี้ซึ่งอาจจะวาดหลังจากที่พำนักกับมันชินิ และเมื่อไปทำงานกับจุยเซ็ปปิ เซซาริ หรือ “คาวาเลียร์ดาร์ปิโน” ช่างเขียนคนโปรดของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้เป็นช่างเขียนที่มีความสำเร็จดีในเวิร์คช็อพที่คล้ายโรงงาน ระหว่างนั้นคาราวัจโจก็ได้แต่เขียน “ดอกไม้และผลไม้” งาน “เด็กชายปอกผลไม้” เป็นงานที่เขียนสำหรับขายนอกเวิร์คช็อพแต่เป็นงานที่ยึดจากดาร์พิโนโดยคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese) ในปี..

การาวัจโจและเด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ) · ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)และเด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

การาวัจโจ มี 104 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มี 60 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 27, ดัชนี Jaccard คือ 16.46% = 27 / (104 + 60)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: