โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสั่นพ้องของวงโคจร

ดัชนี การสั่นพ้องของวงโคจร

การสั่นพ้องลาปลัสที่เกิดกับดวงจันทร์กาลิเลียนสามดวง สัดส่วนตัวเลขเป็นคาบการโคจร การสั่นพ้องของวงโคจร (orbital resonance) เป็นลักษณะทางกลศาสตร์ของเทหวัตถุบนท้องฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่มีวงโคจรสองชิ้นส่งอิทธิพลด้านแรงโน้มถ่วงต่อกันเป็นช่วงเวลา ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อวงโคจรของวัตถุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นสัดส่วนจำนวนเต็ม การสั่นพ้องของวงโคจรจะเพิ่มพูนแรงโน้มถ่วงระหว่างกันของวัตถุเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้วปรากฏการณ์นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่เสถียร ทำให้วัตถุมีการแลกเปลี่ยนโมเมนตัมและเปลี่ยนวงโคจรไปจนกระทั่งการสั่นพ้องไม่เกิดขึ้นอีก ในบางสภาวการณ์ ระบบที่มีการสั่นพ้องอาจจะเสถียรและปรับแก้ตัวเองก็ได้ ทำให้วัตถุยังคงอยู่ในภาวะการสั่นพ้องต่อไป ตัวอย่างเช่นการสั่นพ้องวงโคจร 1:2:4 ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี คือแกนีมีด ยูโรปา และไอโอ หรือการสั่นพ้อง 2:3 ระหว่างดาวพลูโตและดาวเนปจูน การสั่นพ้องที่ไม่เสถียรของดวงจันทร์รอบในของดาวเสาร์ทำให้ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ใหญ่ขึ้น หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า.

11 ความสัมพันธ์: กลศาสตร์ยูโรปาวงแหวนของดาวเสาร์ดาวพฤหัสบดีดาวพลูโตดาวเสาร์ดาวเนปจูนความโน้มถ่วงแกนีมีด (เทพปกรณัม)โมเมนตัมไอโอ

กลศาสตร์

Branches of mechanics กลศาสตร์ (กรีก: μηχανική) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของวัตถุทางกายภาพเมื่อถูกแรงกระทำหรือเมื่อมีการกระจัด กลศาสตร์มีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีซโบราณ งานเขียนของอาริสโตเติล และอาร์คิมิดีส นักวิทยาศาสตร์ในสมัยใหม่ตอนต้น เช่น โอมาร์ คัยยาม, กาลิเลโอ กาลิเลอี, โยฮันเนส เคปเลอร์, และโดยเฉพาะ ไอแซก นิวตัน เป็นผู้วางรากฐานกลศาสตร์ดั้งเดิม กลศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องอนุภาคทั้งที่หยุดนิ่งและที่กำลังเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าความเร็วแสง และเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุและแรงที่กระทำต่อวัต.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและกลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา

ูโรปาและซูส ผลงานของอันโตนีโอ มาร์ซีอาเล การ์รัชชี (Antonio Marziale Carracci) ยูโรปา (Europa) เป็นชายาอีกองค์หนึ่งของเทพเจ้าซูส ยูโรปาเป็นนิทัศนุทาหรณ์แห่งนิสัยเจ้าชู้ของซูสซึ่งเป็นราชาของเทพเจ้า อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่แสดงมูลที่มาของชื่อทวีปยุโรปด้วยในตัว ยูโรปาเป็นพระธิดาของท้าวอะจีนอร์ (Agenor) เจ้ากรุงฟินิเชีย ซึ่งเป็นบุตรของเทพโพไซดอนกับนางลิบเบีย นอกจากยูโรปาแล้ว ท้าวอะจีนอร์ยังมีโอรส-ธิดาอีก 3 องค์ เรียงตามลำดับคือ แคดมัส (Cadmus), ฟีนิกซ์ (Phoenix) และซิลิกซ์ (Cilix) วันหนึ่งขณะยูโรปากำลังเก็บดอกไม้อยู่ในทุ่งแห่งหนึ่ง และกำลังร่าเริงอยู่กับเหล่าบริวารและนางกำนัล พลันนั้น นางก็แลเห็นโคเผือกตัวผู้ตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามเจริญตา กอปรด้วยท่าทางละม่อมดุจชวนให้ลูบไล้ เมื่อโคเดินเข้าไปใกล้ ยูโรปาก็มีใจเบิกบานยินดี จึงเดินเข้าไปลูบโลมแต่โดยเบาและเอาช่อดอกไม้ทุ่งทอดให้ ฝ่ายโคก็น้อมตัวลงเชิญให้นางขึ้นนั่งหลัง พอยูโรปาขึ้นนั่งพลางร้องเรียกให้เหล่าบริวารให้ขึ้นนั่งบ้าง โคนั้นก็วิ่งหนีจนพ้นเขตท้องทุ่ง และมุ่งหน้าพานางออกสู่ชายทะเลโดยด่วน มิทันที่ใครจะทำตามเสียงนางเรียกนั้นได้ เมื่อถึงริมทะเล แทนที่จะหยุดวิ่งหรือนำยูโรปาลงไปจากหลัง โคกลับกระโจนทะยานล่องละลิ่วไปบนพื้นน้ำอันคลาคล่ำไปด้วยปลาโลมาดำผุดดำว่าย เหล่าอัปสรนีเรียดก็ผุดขึ้นเรียงรายรับแน่นขนัด ท้องทะเลสงบสงัดปราศจากคลื่น ส่วนไทรทัน (Triton) พนักงานแตรก็เป่าสังข์เสียงครื้นครั่นดังสนั่น ตลอดจนเทพโพไซดอนเจ้าสมุทรก็พลันผุดเป็นมัคคุเทศก์เข้าเคียงคลอชะลอเลื่อน ทั้งนี้เพราะโคนั้นหาใช่โคไม่ได้เป็นใครมาจากไหน แต่ที่แท้ก็คือเทพซูส ราชาแห่งเทพเจ้านั่นเองที่จำแลงมาเพื่อให้ยูโรปาหลงรัก ชื่อยูโรปา (Europa) ยังเป็นต้นกำเนิดของชื่อทวีปยุโรป (Europe) ในปัจจุบัน และเรื่องราวของนางยูโรปากับโคจำแลงนั้น ยังเป็นต้นกำเนิดของจักรราศีพฤษภอีกด้ว.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและยูโรปา · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนของดาวเสาร์

ราสดาวเสาร์บังดวงอาทิตย์ จากยานคาสสินี-ไฮเกนส์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2006 ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีระบบวงแหวนดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มากกว่าดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น วงแหวนของดาวเสาร์ช่วยสะท้อนแสง ทำให้มองเห็นความสว่างของดาวเสาร์เพิ่มมากขึ้น แต่เราไม่สามารถมองเห็นวงแหวนเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า ในปี..

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและวงแหวนของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

แกนีมีด (เทพปกรณัม)

ทพซูสแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ลักพาตัวแกนีมีด วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ปี 1611 แกนีมีด (Γανυμήδης, ''Ganymēdēs''.) ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย และ เป็นบุตรชายคนเล็กของกษัตริย์ทรอส แห่งดาร์ดาเนีย, มีพี่ชายสองคนคือ อิลัส (Ilus) ซึ่งในอนาคตอิลัสจะเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอิลิออส หรือ อิลิออน ซึ่งต่อมาเรียกกันในนามเมืองทรอยนั่นเอง (กรีก : Ἴλιον, Ilion หรือἼλιος, Ilios; และ Τροία, Troia; ละติน :Trōia และ Īlium) และ อัสซาราคัส (Assaracus), โฮเมอร์ได้พรรณาเกี่ยวกับแกนิมีดเอาไว้ว่า เป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามที่สุดในเหล่ามนุษย์ทั้งปวง, แกนิมีดถูกลักพาตัวไปโดย เทพซูสที่จำแลงร่างกลายเป็นอินทรีย์ยักษ์ โฉบเอาตัวแกนิมีดจากภูเขาไอดาในแคว้นไฟรเจีย ไปเป็นผู้รับใช้ บนเขาโอลิมปัส ทำหน้าที่เป็นผู้ถวายพระสุธารส (cupbearer) แทนที่เทพีเฮบี เทพีแห่งความเยาว์วัย ธิดาของซูสและฮีรา ชื่อ แกนีมีด ถูกนำมาใช้เป็นชื่อดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ดวงจันทร์แกนีมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุร.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและแกนีมีด (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

โมเมนตัม

ฟล์:HahnEcho GWM.gif| โมเมนตัม หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างมวลและความเร็วของวัตถุ มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ แต่ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ เมื่อนำปริมาณทั้งสองเข้าคูณด้วยกัน ถือว่าปริมาณใหม่เป็นปริมาณเวกเตอร์เสมอ ฉะนั้นโมเมนตัมจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ คือมีทั้งขนาดและทิศทาง.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและโมเมนตัม · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอ

อโอ (Io, Ἰώ) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: การสั่นพ้องของวงโคจรและไอโอ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »