โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสอบขุนนางและยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การสอบขุนนางและยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

การสอบขุนนาง vs. ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

การสอบขุนนาง (imperial examination) เป็นระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุข้าราชการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับระบบราชการของรัฐ ในการสอบใช้ข้อสอบแบบวัตถุวิสัย (objective) เพื่อประเมินการได้รับความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าสอบ ผู้สอบได้จะได้รับวุฒิ จิ้นชื่อ แปลว่า "บัณฑิตชั้นสูง" (advanced scholar) (ซึ่งอาจเทียบได้กับปริญญา ดุษฎีบัณฑิต หรือปริญญาเอกในระบบการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุด) รวมถึงปริญญาชั้นอื่น ๆ แล้วจะได้รับการประเมินเพื่อบรรจุเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ได้รับวุฒิจิ้นซี่อในการสอบขุนนางนั้นจะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการระดับสูงแห่งราชสำนัก ตำแหน่งที่ได้รับจะเรียงตามลำดับผลคะแนนที่สอบได้ ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงกว่าจะได้รับตำแหน่งที่ดีกว่า นอกจากนั้นองค์จักรพรรดิหรือจักรพรรดินีจะทรงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้เข้าสอบที่ได้คะแนนสูงสุด ด้วยพื้นฐานจากปรัชญาลัทธิขงจื้อ การสอบขุนนางนี้โดยทฤษฎีแล้วมุ่งทดสอบและคัดเลือกบุคคลด้วยคุณธรรม จึงมีอิทธิพลต่อประเทศจีนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการคานอำนาจในช่วงราชวงศ์ถัง ราชวงศ์โจวของพระนางบูเช็กเทียน (Wu Zetian) และราชวงศ์ซ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลเป็นการหลอมรวมโครงสร้างทางสังคมไว้เป็นเวลานาน อนึ่ง มีหลายครั้งที่การสอบทำให้อภิชนบางกลุ่มถูกแทนที่ด้วยบุคคลจากชั้นรากหญ้า หลายดินแดนในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และรีวกีว (Ryūkyū) รับระบบการสอบนี้มาใช้เพื่อคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิ เพื่อรักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากร กับทั้งเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียน เนื่องจากการจัดการสอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทะเบียนหลวง วันที่ได้รับการประสาทวุฒิจิ้นชื่อ จึงมักเป็นข้อมูลที่ชัดเจนส่วนหนึ่งที่ระบุไว้ในชีวประวัติบุคคลสำคัญสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อ ๆ มา ในประวัติศาสตร์จีน. ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฏประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การสอบขุนนางและยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

การสอบขุนนางและยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์จินราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์จิน

ราชวงศ์จิน เป็นราชวงศ์ที่ถูกก่อตั้งโดยชนเผ่าหนี่เจิน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู ในปี..

การสอบขุนนางและราชวงศ์จิน · ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักรและราชวงศ์จิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

การสอบขุนนางและราชวงศ์เหลียว · ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักรและราชวงศ์เหลียว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การสอบขุนนางและยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร

การสอบขุนนาง มี 66 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.70% = 2 / (66 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การสอบขุนนางและยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »