เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การสมรสและจิรเดช คชรัตน์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การสมรสและจิรเดช คชรัตน์

การสมรส vs. จิรเดช คชรัตน์

การสมรส เป็นการรวมกันทางสังคมหรือสัญญาตามกฎหมายระหว่างคู่สมรสที่สร้างสิทธิและข้อผูกพันระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่งคู่สมรสและบุตร และระหว่างคู่สมรสกับญาติโดยการสมรส นิยามของการสมรสแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยหลักแล้วเป็นสถาบันซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดหรือความสัมพันธ์ทางเพศ ได้รับการรับรอง เมื่อนิยามอย่างกว้าง การสมรสถูกพิจารณาว่าเป็นวัฒนธรรมสากล ในหลายวัฒนธรรม การสมรสถูกทำให้เป็นทางการผ่านพิธีแต่งงาน ในแง่ของการรับรองตามกฎหมาย รัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นส่วนมากจำกัดการสมรสไว้เฉพาะระหว่างคู่สมรสต่างเพศหรือสองบุคคลที่มีเพศภาวะตรงข้ามกันในสองเพศภาวะ (gender binary) และบางรัฐเอกราชและเขตอำนาจอื่นอนุญาตการสมรสที่มีภรรยาหลายคนได้ นับแต่ปี 2543 หลายประเทศและบางเขตอำนาจอื่นอนุญาตให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ในบางวัฒนธรรม แนะนำหรือบังคับให้มีการสมรสก่อนมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ บุคคลสมรสด้วยหลายเหตุผล มีทั้งทางกฎหมาย สังคม ลิบิโด อารมณ์ การเงิน จิตวิญญาณและศาสนา การสมรสสามารถกระทำในพิธีทางกฎหมายฝ่ายฆราวาส หรือทางฝ่ายศาสนาก็ได้ โดยปกติการสมรสสร้างข้อผูกพันที่เป็นนามธรรมหรือทางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางวัฒนธรรมอนุญาตให้เลิกการสมรสได้ผ่านการหย่าร้างหรือการเพิกถอนการสมรส การสมรสที่มีคู่ครองหลายคนอาจยังเกิดขึ้นแม้จะมีกฎหมายประจำชาติก็ตาม รัฐ องค์การ ฝ่ายศาสนา กลุ่มชนเผ่า ชุมชนท้องถิ่นหรือผู้เท่าเทียมกันสามารถรับรองการสมรสได้ มักถูกมองว่าเป็นสัญญา การสมรสตามกฎหมายเป็นมโนทัศน์ทางกฎหมายที่มองการสมรสว่าเป็นสถาบันของรัฐโดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ตามกฎหมายการสมรสของเขตอำนาจ การบังคับสมรส (forced marriage) มิชอบด้วยกฎหมายในบางเขตอำน. ลเอก จิรเดช คชรัตน์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบกและอดีตแม่ทัพภาคที่ 3 เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2492 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 9 (ตท.9), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 20 (จปร.20), โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 61, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4515) พล.อ.จิรเดช เป็นนายทหารปืนใหญ่ รับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้ ได้แก่ เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3, เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3, ราชองครักษ์, รองแม่ทัพภาคที่ 3, แม่ทัพน้อยที่ 3, แม่ทัพภาคที่ 3, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบก ในยุคที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบก หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.จิรเดช ในยศ พลโท (พล.ท.) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย หลังเกษียณราชการ พล.อ.จิรเดช ได้เปิดตัวเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับอดีตนายทหารในกองทัพหลายคน อาทิ พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี เป็นต้น แต่ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 พล.อ.จิรเดชก็ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการลาออกหลังจากที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกได้ไม่นาน หลังจากมีการแสดงบทบาทของกองทัพเรื่องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนที่เป็นแกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีพฤติกรรมการปราศรัยพาดพิงไปถึงก่อนหน้านั้นไม่นาน ชีวิตส่วนตัว พล.อ.จิรเดช มีชื่อเล่นว่า "จ๊อก" ทำให้สื่อมวลชนตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "บิ๊กจ๊อก" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางสุรภา คชรัตน์ มีบุตร 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน ประกอบด้วย นายอัมเรศ คชรัตน์, นายดิษพงษ์ คชรัตน์ และ นางสาววิสสุตา คชรัตน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การสมรสและจิรเดช คชรัตน์

การสมรสและจิรเดช คชรัตน์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การสมรสและจิรเดช คชรัตน์

การสมรส มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ จิรเดช คชรัตน์ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (5 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การสมรสและจิรเดช คชรัตน์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: