โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น

ดัชนี การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น

การสงครามสมัยใหม่ตอนต้น (Early modern warfare) สัมพันธ์กับการที่เริ่มมีการใช้ดินปืนอย่างแพร่หลายและการพัฒนาอาวุธที่เหมาะจะใช้ระเบิด ซึ่งรวมถึงปืนใหญ่และปืนที่ใช้มือถือ (handgun) เช่น ปืนไฟ และต่อมา คือ ปืนคาบศิลา ด้วยเหตุนี้ ยุคนี้จึงสรุปได้ว่าเป็นยุคแห่งการสงครามดินปืน ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีการใช้ดินปืนน้อยมาก แต่เปลี่ยนมาใช้ทั่วไปในสมัยใหม่ตอนต้น โดยพบใช้มากที่สุดระหว่างสงครามนโปเลียน ตั้งแต..

25 ความสัมพันธ์: กระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัสการรุกรานญี่ปุ่นของมองโกลมหาอำนาจยุทธการที่อาแซ็งกูร์รัฐชาติสมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสาธารณรัฐดัตช์สงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามสามสิบปีสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสสงครามนโปเลียนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหน้าไม้ธนูยาวอังกฤษทหารรับจ้างดินปืนปืนคาบศิลาปืนใหญ่ปืนไฟแถวหน้ากระดานแถวตอนเดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

กระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส

หน่วยทหารราบอังกฤษในยุคนโปลีโอนิกจัดกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส กระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป้นกระบวนทัพของทหารราบที่จัดเป็นกระบวนแถวปิดเพื่อรับการโจมตีของทหารม้.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส · ดูเพิ่มเติม »

การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล

การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล เป็นเหตุการณ์ที่กองทัพของจักรวรรดิมองโกล เข้ารุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปี..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและการรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่อาแซ็งกูร์

ทธการอาแฌงคูร์ต (Battle of Agincourt) เป็นยุทธการในสงครามร้อยปีที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1415 ที่เมืองอาแฌงคูร์ตทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายอังกฤษที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ และฝ่ายฝรั่งเศสที่นำโดยชาร์ลส์ ดาลเบรต์ ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองกำลังที่เหนือกว่ามากของฝรั่งเศส ชัยชนะของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีเป็นการเริ่มสมัยของสงครามใหม่ เมื่อพระเจ้าเฮนรีทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสหลังจากที่ผลของการเจรจาในการสละสิทธิราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนไม่ประสบผลสำเร็จ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสไม่ทรงสามารถนำกองทัพด้วยพระองค์เองได้เนื่องจากการประชวร ทางฝ่ายฝรั่งเศสจึงนำโดยชาร์ลส์ ดาลเบรต์ผู้เป็นข้าหลวงแห่งฝรั่งเศส (Constable of France) และขุนนางกลุ่มอาร์มันญัค (Armagnac party) สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสงครามครั้งนี้ในด้านความก้าวหน้าทางอาวุธที่ทำให้ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะคือการใช้ธนูแบบที่เรียกว่า ธนูยาวอังกฤษ ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของกองทัพของสมเด็จพระเจ้าเฮนรี.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและยุทธการที่อาแซ็งกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาติ

การทำสัตยาบันในสนธิสัญญามึนสเตอร์ นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมโนทัศน์ "รัฐชาติ" รัฐชาติ (nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐ.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและรัฐชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ. 1648.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสาธารณรัฐดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสามสิบปี

งครามสามสิบปี (Thirty Years' War) (ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648) สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดสงครามหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามส่วนใหญ่สู้รบกันในดินแดนเยอรมนีและมีผู้เข้าร่วมสงครามจากเกือบทุกประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ต้นเหตุของความขัดแย้งและจุดประสงค์ของผู้เข้าร่วมมีความซับซ้อนและมีเหตุผลในการทำสงครามของฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเริ่มแรกการต่อสู้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความขัดแย้งการทางอำนาจทางการเมืองภายในจักรวรรดิก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ในที่สุดสงครามก็ขยายออกไปเป็นความขัดแย้งของอาณาบริเวณต่างๆ ทั่วยุโรป สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์ (Treaty of Münster) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลี.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

งครามสืบราชบัลลังก์สเปน (ภาษาอังกฤษ: War of the Spanish Succession) (ค.ศ. 1702–ค.ศ. 1714) ซึ่งรวมทั้งสงครามพระนางแอนน์ (Queen Anne's War) ใน ทวีปอเมริกาเหนือเป็นสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของทวีปยุโรปเกี่ยวกับปัญหาการสืบสันติวงศ์ของบัลลังก์สเปน ซึ่งเป็นผลให้มีการเปลี่ยนความสมดุลทางอำนาจในยุโรป ผู้เป็นผู้นำทางทหารที่สำคัญๆ ในสงครามครั้งนี้ก็ได้แก่โคลด ลุยส์ เฮคเตอร์ แห่งวิลลาร์ส, เจมส์ ฟิทซเจมส์ ดยุกแห่งเบอร์วิก, จอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย ในปี..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

งครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หน้าไม้

ก็ตช์โดย เลโอนาโด ดาวินชี ประมาณ ค.ศ. 1500 หน้าไม้ เป็นอาวุธอันประกอบด้วยคันศรติดตั้งบนด้าม และยิงกระสุนวิถีโค้ง ที่มักเรียกว่า bolt หรือ quarrel หน้าไม้ในยุคกลางมีชื่อเรียกหลายชื่อ ซึ่งส่วนมากมีรากศัพท์มาจากคำว่า ballista ซึ่งเป็นเครื่องบิดที่มีรูปลักษณ์คล้ายกับหน้าไม้ ในประวัติศาสตร์ หน้าไม้มีบทบาทสำคัญในการสงครามเอเชียตะวันออก ยุโรป และเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบัน หน้าไม้ใช้ในกีฬา การล่าสัตว.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและหน้าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ธนูยาวอังกฤษ

นูยาวอังกฤษ ยาว 2 เมตร แรงต้าน (draw force) 470 นิวตัน ธนูยาวอังกฤษ หรือเรียก ธนูยาวเวลส์ เป็นธนูยาวสมัยกลางประเภททรงพลัง ยาวประมาณ 1.83 เมตร ซึ่งชาวอังกฤษและชาวเวลส์ใช้ในการล่าสัตว์และเป็นอาวุธในสงครามสมัยกลาง การใช้ธนูยาวของอังกฤษมีประสิทธิภาพต่อฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นของสงคราม ในยุทธการเครซี (ค.ศ. 1346) และปัวตีเย (ค.ศ. 1356) และที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ยุทธการอาแฌงคูร์ต (ค.ศ. 1415) แต่เริ่มประสบความสำเร็จน้อยลงหลังจากนั้น พลธนูยาวได้รับความสูญเสียที่ยุทธการแวร์เนย (ค.ศ. 1424) และถูกตีแตกพ่ายที่ยุทธการพาเทย์ (ค.ศ. 1429) เมื่อถูกเข้าตีก่อนที่พวกเขาจะจัดตั้งตำแหน่งตั้งรับ คำว่า ธนูยาว "อังกฤษ" หรือ "เวลส์" เป็นคำสร้างใหม่เพื่อแยกแยะธนูเหล่านี้จากธนูยาวอื่น แม้ธนูยาวแบบเดียวกันนี้จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก แต่ที่จริงแล้ว ก้านธนูยิวส่วนมากถูกนำเข้าจากสเปนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ธนูยาวที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักมาจากอังกฤษ ซึ่งถูกพบที่แอสคอทท์ฮีท (Ashcott Heath) มณฑลซอมเมอร์เซ็ท ซึ่งมีอายุถึง 2665 ปีก่อนคริสตกาล แต่ไม่มีธนูยาวเหลือรอดในช่วงที่ธนูยาวใช้กันอย่างแพร่หลาย (ระหว่าง ค.ศ. 1250-1450) ซึ่งอาจเป็นเพราะ เป็นธรรมชาติของธนูที่จะอ่อนแอลง หัก และถูกเปลี่ยน มากกว่าที่จะส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตาม มีธนูยาวมากกว่า 130 คันเหลือรอดจากยุคเรเนซ็องส์ มีลูกศรกว่า 3,500 ดอก และธนูยาวทั้งคัน 137 คัน ถูกกู้ขึ้นจากเรือแมรีโรส เรือของกองทัพเรือในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ซึ่งจมในพอร์ตสมัธ ใน..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและธนูยาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ทหารรับจ้าง

“ทหารรับจ้าง” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ค.ศ. 1480 ทหารรับจ้าง (mercenary) คือ บุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยมีความประสงค์ส่วนตัวในค่าตอบแทนที่จะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะมากกว่านายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพของผู้ว่าจ้างนั้น" (พิธีสารพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม) ผู้ที่เป็นทหารอาชีพของกองทัพตามปกติไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้าง แม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพสู้รบเพื่อเงินตอบแทน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบ ถึงแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้นก็ตาม ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “อาสาสมัครต่างด้าว” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือ เพราะจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส” (French Foreign Legion) และกองทหารกุรข่า (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้กฎการยุทธ (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่าง ที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและทหารรับจ้าง · ดูเพิ่มเติม »

ดินปืน

นปืนไร้ควัน ดินปืน เป็นสารเคมีที่ไวไฟยิ่งยวด และเมื่อเกิดการเผาไหม้แล้วจะเกิดแก๊ส ซึ่งนำคุณสมบัติด้านนี้ไปใช้ประโยชน์ในหลักการทำงานของปืน กล่าวคือ เมื่อดินปืนเกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ จนไม่สร้างความเสียหายแก่ลำกล้องปืนแล้ว จะเกิดแก๊สขึ้นมา แล้วแก๊สเหล่านี้จะไปขับดันกระสุนที่บรรจุในปืน ทำให้กระสุนปืนพุ่งออกมาจากตัวปืนด้วยความเร็วสูง ดินปืนถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวจีนอย่างแน่นอน หลักฐานชิ้นแรกสุดคือ ดินปืนดำในศตวรรษที่ 13 ที่โรเจอร์ เบคอน อธิบายสูตรเอาไว้.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและดินปืน · ดูเพิ่มเติม »

ปืนคาบศิลา

ปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน ปืนคาบศิลา (musket) เป็นปืนที่ใช้ดินปืน(ดิน"แรงดันต่ำ")ตำกรอกทางปากกระบอกปืน จากนั้นรอง"หมอน"นุ่น หรือผ้า แล้วใส่หัวกระสุนทรงกลม ปิดด้วยหมอนอีกชั้น ปืนชนิดนี้เมื่อบรรจุกระสุนไว้ต้องถือตั้งตรงตลอด ไม่งั้นกระสุนอาจไหลออกจากปากลำกล้อง เวลาจะยิงต้องใช้ หิน"คาบศิลา"(หินไฟ-Flint) ตอกกระทบโลหะ หรือกระทบกันเอง (มักทำเป็น คอนกติดหินไฟ ผงกด้วยสปริง) เพื่อจุดดินขับในถ้วยที่โคนปืน ให้ไฟแล่บติดดินขับ วิ่งเข้าไปทางรูที่ท้ายลำกล้อง แล้วจึงเกิดการลุกไหม้ในดินปืน ระเบิดกระสุนออกไป ปืนชนิดนี้เป็นต้นแบบของปืนไรเฟิลในปัจจุบันด้วย ไม่มีผู้ทราบว่าใครประดิษฐ์ขึ้น แต่ว่าในเอกสารทางการทหารของจีนได้มีการกล่าวถึงอาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า "หั่วหลงจิง (火龙经)" ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแรกเริ่มปืนคาบศิลาไค้มีการออกแบบให้ใช้กับทหารราบเท่านั้น และได้มีการปรับปรุงขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่นมีเกลียวในลำกล้อง การมีกล้องเล็ง มีกระสุนปลายแหลมซี่งแต่เดิมนั้นเป็นลูกกลมๆ และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีการประดิษฐ์ปืนชนิดที่บรรจุกระสุนทางท้ายรังเพลิงปืนซึ่งแต่เดิมนั้นบรรจุกระสุนทางปากลำกล้องเข้ามาแทนที.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและปืนคาบศิลา · ดูเพิ่มเติม »

ปืนใหญ่

ปืนใหญ่ หมายถึง อาวุธปืนที่มีความกว้างปากลำกล้องตั้งแต่ 20 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยมีระยะยิงกลางถึงไกล มีอำนาจทำลายล้างสูง ใช้การยิงหัวกระสุนด้วยแรงดันจากการเผาไหม้ดินส่งกระสุนให้เกิดก๊าซจนเคลื่อนที่ออกไป โดยสามารถทำการยิงได้ทั้งแนววิถีราบหรือวิถีโค้ง โดยภายในหัวกระสุนจะบรรจุวัตถุระเบิดและตัวจุดชนวน เมื่อหัวกระสุนตกกระทบเป้าหมายจะเกิดการระเบิดสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและปืนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปืนไฟ

ปืนไฟแบบยาว ปืนไฟแบบสั้น ปืนไฟแบบสั้นอีกแบบ ปืนไฟ หรือ ปืนคาบชุด (Arquebus) เป็นปืนที่ใช้หลักการจุดชนวนด้วย "ชุด" (match) ซึ่งทำมาจากเส้นด้ายชุบเชื้อไฟเพื่อให้เส้นด้ายเกิดการลุกไหม้อย่างช้า ๆ คาบเส้นด้ายไว้ด้วยกระเดื่อง ที่มีลักษณะเหมือนหัวงูซึ่งมีลักษณะโค้งงอไปมาเป็นรูปตัว S เมื่อเหนี่ยวไกปืนเพื่อทำการยิง ปลายของชุดก็จะตีลงบนจานชนวนทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้ขึ้นที่เส้นด้ายและเข้าไปจุดระเบิดดินปืนที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดแรงผลักลูกกระสุนออกไปได้.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและปืนไฟ · ดูเพิ่มเติม »

แถวหน้ากระดาน

ทำศึก ''The Thin Red Line'' ภาพวาดแสดงการรบด้วยแถวหน้ากระดานต่อต้านทหารม้า กระบวนทัพแถวหน้ากระดาน คือการจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐานที่ถูกใช้มาตลอดประวัติศาสตร์ เป็นกระบวนทัพที่มีอำนาจยิงตรงหน้าสูงที่สุดแลกกับการสูญเสียสมรรถนะในการเคลื่อนกำลังและการต้านทานการโจมตีของทหารม้า กระบวนทัพแถวหน้ากระดานได้รับความสนใจอย่างมากในยุคแห่งเหตุผล โดยสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียได้ทรงใช้กระบวนทัพนี้อย่างได้ผลในสงครามเจ็ดปี กระบวนทัพแถวหน้ากระดานสำหรับกองทัพทหารราบนั้น ทหารจะเรียงกันเป็นแถวหลายแถว ตั้งแต่สองถึงห้าแถว แต่สามแถวมักจะถูกใช้งานมากที่สุด แถวหน้ากระดานแต่ละแถวมีระยะห่างระหว่างกันประมาณครึ่งเมตร และทหารแต่ละนายในแถวจะยืนค่อนข้างชิดกัน โดยทั่วไปใช้ระยะหนึ่งช่วงแขน ซึ่งจะทำให้ทหารมีพื้นที่มากพอที่ใช้งานอาวุธประจำกายรวมทั้งการยิงและบรรจุใหม่ การใช้งานกระบวนทัพแถวหน้ากระดานนั้น ทหารจะต้องได้รับการฝึกมาอย่างดีและต้องการการควบคุมจากนายทหาร (ทั้งชั้นประทวนและสัญญาบัตร) ใน คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 กองทัพในยุโรปมักจะให้ทหารชั้นประทวนยืนประจำอยู่ตอนท้าย มีทวนยาวเป็นอาวุธประจำกายซึ่งทวนยาวนี้จะใช้เป็นทั้งเครื่องประดับและใช้ในการจัดแถวทหาร ในการฝึกแถวทหาร ทวนยาวนี้จะถูกใช้ในการกดปืนของพลทหารที่ประทับเล็งสูงเกินไป และใช้ในการจัดแถวทหารให้สวยงามถูกต้อง การเคลื่อนกำลังพลด้วยกระบวนทัพแถวหน้ากระดานนี้จะช้ามาก ยกเว้นว่ากองทัพนั้นจะได้รับการฝึกมาอย่างยอดเยี่ยม กระบวนทัพแถวหน้ากระดานสามารถเสียรูปอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในยุทธบริเวณที่เป็นป่า ด้วยเหตุนี้กระบวนทัพแถวหน้ากระดานมักจะถูกใช้ในการตั้งรับเป็นส่วนมาก โดยหน่วยทหารจะเคลื่อนที่ด้วยกระบวนทัพแถวตอนและปรับกระบวนเป็นแถวหน้ากระดานเมื่อถึงที่หมาย กระบวนทัพแถวหน้ากระดานนี้ อ่อนแอต่อการบุกเข้าตีของทหารม้าอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อถุกเข้าตีทางปีกและทางท้าย ซึ่งการโจมตีนี้จะทำให้รูปกระบวนหน้ากระดานเสียกระบวนและพังทลายในที่สุด เว้นแต่ว่ากองทหารจะแปรกระบวนให้เป็นกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจตุรัสได้ ในช่วงสงครามนโปเลียน กองทัพอังกฤษนำกระบวนแถวหน้ากระดานสองแถวแคบมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผลเพื่อชดเชยข้อเสียเปรียบด้านกำลังพลและเพิ่มอำนาจยิงตรงหน้า ส่วนมากแล้วกระบวนแถวหน้ากระดานมักจะถูกทำลายด้วยการโจมตีของทหารม้า แต่ในยุทธการบลักลาวาโดยกรมทหารเดินเท้าที่ 93 แห่งสหราชอาณาจักรสามารถใช้กระบวนทัพแถวหน้ากระดานต่อต้านการโจมตีของทหารม้ารัสเซียได้ จนกลายเป็่นที่มาของสำนวน "The Thin Red Line" กระบวนทัพแถวหน้ากระดานแบบหลวม ๆ ถูกใช้งานในกลายกองทัพในปัจจุบันในระหว่างปฏิบัติการเข้าตีเพื่อเพิ่มอำนาจยิงตรงหน้าให้มากที่สุด มีประโยชน์ในการโจมตีที่มั่นข้าศึก และสามารถประยุกต์ใช้เป็นยุทธวิธีเคลื่อนที่ยิงได้ หมวดหมู่:รูปขบวนเชิงยุทธวิธี.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและแถวหน้ากระดาน · ดูเพิ่มเติม »

แถวตอน

ลักษณะกระบวนทัพแถวตอน สมรภูมิเธอร์โมไพเลด้วยกระบวนทัพแถวตอน กระบวนทัพแถวตอน คือการจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธีที่ใช้งานมาแต่ยุคโบราณได้ตั้งแต่การเดินทัพแถวตอนเดี่ยวของหน่วยทหารไปจนถึงหลายแถวตอนประกอบเข้าด้วยกัน โดยระยะตอนลึกของกระบวนทัพนั้นจะกว้างกว่าทางกว้าง (แถวหน้ากระดาน) กระบวนทัพแถวตอนนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการเคลื่อนกำลังพลเชิงยุทธวิธีสำหรับยานพาหนะและเรือได้อีกด้วย ข้อดีของกระบวนทัพแถวตอน.

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและแถวตอน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" (The Star-Spangled Banner แปลว่า ธงอันแพรวพราวด้วยดารา) เป็นเพลงชาติประจำสหรัฐ โดยเนื้อเพลงมาจากกวีนิพนธ์ชื่อว่า "การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่ (Defence of Fort M'Henry)" ซึ่งประพันธ์ขึ้นในวันที่ 14 กันยายน..

ใหม่!!: การสงครามสมัยใหม่ตอนต้นและเดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การสงครามดินปืน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »