โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การศึกษาตามแผน

ดัชนี การศึกษาตามแผน

การศึกษาตามแผน หรือ งานศึกษาตามรุ่น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ "cohort-" ว่า "ตามรุ่น" เช่น "cohort analysis" แปลว่า "การวิเคราะห์ตามรุ่น", และของ "panel analysis" ว่า "การวิเคราะห์ตามบุคคลในรุ่น" (cohort study) หรือ งานศึกษาตามบุคคลในรุ่น เป็นแบบหนึ่งของงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ที่ใช้ในสาขาการแพทย์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย "business analytics" และนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ในการแพทย์ อาจจะมีงานศึกษาที่วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง โดยติดตามกลุ่มประชากรที่ไม่มีโรค แล้วใช้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับการติดโรค เพื่อกำหนดความเสี่ยงสัมพัทธ์ ของการติดโรค งานศึกษาตามรุ่นเป็นแบบการศึกษาทางคลินิกชนิดหนึ่ง เป็นงานศึกษาตามยาว (longitudinal study) โดยเทียบกับงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) คือ เป็นการวัดค่าผลลัพธ์ที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ของกลุ่มประชากร และของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่มประชากรนั้น ๆ ตามชั่วระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเทียบกับการวัดค่าที่เป็นประเด็นเพียงครั้งเดียวในงานศึกษาตามขวาง "cohort" (รุ่น, กลุ่มร่วมรุ่น) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีคุณลักษณะหรือประสบการณ์ที่เหมือนกันภายในช่วงเวลาเดียวกัน (เช่น เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน มีประวัติได้ยา ฉีดวัคซีน หรือประสบมลพิษภาวะ ช่วงเดียวกัน หรือได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน) ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่เกิดในวันเดียวกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นในปี..

35 ความสัมพันธ์: การทดลองทางคลินิกการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการคุมกำเนิดมะเร็งปอดยาเม็ดคุมกำเนิดรัฐแมสซาชูเซตส์รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลำดับชั้นหลักฐานวิทยาการระบาดสมมติฐานสหรัฐสหราชอาณาจักรสหสัมพันธ์สังคมศาสตร์สถิติศาสตร์อุบัติการณ์อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างจริยธรรมทวีปแอฟริกาความเสี่ยงความเอนเอียงคณิตศาสตร์ประกันภัยงานศึกษามีกลุ่มควบคุมงานศึกษาตามยาวงานศึกษาตามรุ่นย้อนหลังงานศึกษาตามรุ่นตามแผนงานศึกษาตามขวางงานศึกษาแบบสังเกตประชาคมเศรษฐกิจยุโรปประชานประเทศออสเตรเลียประเทศเยอรมนีนิเวศวิทยาแพทยศาสตร์เซตย่อย

การทดลองทางคลินิก

การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) คือชุดของกระบวนการในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายาที่ทำขึ้นเพื่อประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย (รวมทั้งผลไม่พึงประสงค์จากยาและผลข้างเคียงของวิธีการรักษา) และประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ ในการให้บริการสุขภาพ (เช่น ยา การตรวจ อุปกรณ์ วิธีการรักษา ฯลฯ) การวิจัยจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคลินิกจนได้ข้อมูลที่น่าพอใจแล้ว และผ่านการรับรองขององค์กรจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ในการทำวิจัยเช่นนี้ผู้วิจัยจะรวบรวมอาสาสมัครทั้งที่มีสุขภาพปกติและ/หรือป่วยด้วยภาวะที่สนใจเข้ามาศึกษาในการวิจัยนำร่องขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงเริ่มการวิจัยขนาดใหญ่ต่อไป ส่วนใหญ่ทำโดยเปรียบเทียบของใหม่กับของเก่าที่ใช้อยู่ เมื่อศึกษาพบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว การวิจัยลำดับถัดไปจะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยให้มากขึ้น การวิจัยเช่นนี้มีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อาจทำในศูนย์วิจัยแห่งเดียวหรือหลายศูนย์หลายประเทศพร้อมๆ กัน ก็มี หมวดหมู่:การวิจัยทางคลินิก หมวดหมู่:การออกแบบการทดลอง หมวดหมู่:เภสัชวิทยา หมวดหมู่:อุตสาหกรรมยา หมวดหมู่:วิทยาการระบาด หมวดหมู่:วิธีการประเมินผล หมวดหมู่:การค้นพบยาเสพติด หมวดหมู่:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมวดหมู่:การทดลองทางคลินิก หมวดหมู่:การวิจัยทางการพยาบาล.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและการทดลองทางคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การคุมกำเนิด

ตัวอย่างยาเม็ดคุมกำเนิด ประสิทธิผลของวิธีคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ การคุมกำเนิด (birth control) คือเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการปฏิสนธิหรือขัดขวางการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดถูกใช้มาแต่โบราณ ทว่าวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดีพึ่งมีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การวางแผน เตรียมการ และการใช้การคุมกำเนิดถูกเรียกว่าเป็นการวางแผนครอบครัว บางวัฒนธรรมไม่สนับสนุนและจำกัดการเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องการทางศีลธรรม ศาสนา หรือการเมือง วิธีที่ซึ่งให้ประสิทธิผลสูงสุดคือการทำหมัน โดยการตัดหลอดนำอสุจิ (vasectomy)ในเพศชายและการผูกท่อรังไข่ในเพศหญิง การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) และการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ตามมาด้วยการใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง วงแหวนช่องคลอด และการฉีดฮอร์โมน วิธีที่ได้ผลรองลงมาได้แก่วิธีการนับระยะปลอดภัยและวิธีการที่ใช้สิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย หมวกครอบปากมดลูก และฟองน้ำคุมกำเนิด วิธีที่ได้ผลน้อยที่สุดได้แก่การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ (spermicide) และการหลั่งนอกช่องคลอด การทำหมันให้ประสิทธิผลสูงแต่มักเป็นการคุมกำเนิดที่ถาวร ต่างกับวิธีอื่นซึ่งเป็นการคุมแบบชั่วคราวและสามารถย้อนกลับได้เมื่อหยุดใช้ การปฏิบัติทางเพศที่ปลอดภัย เช่นการใช้ถุงยางอนามัยชายหรือหญิงยังสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เทคนิคการคุมกำเนิดฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ใช้ภายใน 72 ถึง 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน บางคนเชื่อว่าการไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นการคุมกำเนิดแบบหนึ่ง ทว่าเพศศึกษาแบบที่สอนให้งดเว้นอย่างเดียวอาจเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหากไม่สอนควบคู่ไปกับการใช้การคุมกำเนิด เพราะการไม่ยอมทำตาม ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น..

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและการคุมกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและมะเร็งปอด · ดูเพิ่มเติม »

ยาเม็ดคุมกำเนิด

ม็ดคุมกำเนิด (Combined Oral Contraceptive Pill, COCP, the Pill) คือยาเม็ดที่มีส่วนผสมของ เอสโทรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และโพรเกสทิน (โพรเกสโทรเจนสังเคราะห์) ใช้รับประทานเพื่อยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) ในเพศหญิง ยาคุมกำเนิดได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1960 ด้วยจุดประสงค์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมีจำนวน 12 ล้านคนในอเมริกา และ 100 ล้านคนทั่วโลก อัตราการใช้ยาคุมกำเนิดแปรผันไปตามประเทศ อายุ การศึกษา และสถานภาพสมรส อาทิ เกือบหนึ่งในสี่ของผู้หญิงที่อายุ 16-49 ปีในสหราชอาณาจักรใช้ยาคุมกำเนิด (ซึ่งอาจเรียกว่า combined pill หรือ minipill)British women aged 16-49: 24% currently use the Pill (17% use Combined pill, 5% use Minipill, 2% don't know type) แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (Oral contraceptive pills) แบ่งตามชนิดของฮอร์โมนที่เป็นส่วนประกอบได้เป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ Combined pills, Progestin only pills.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและยาเม็ดคุมกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแมสซาชูเซตส์

รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) เป็นรัฐหนึ่งในเขตนิวอิงแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ประกอบไปด้วย 50 เมืองขนาดใหญ่ และ 301 เมืองขนาดเล็กใน 14 เคาน์ตี เมืองขนาดใหญ่ในรัฐได้แก่ บอสตัน สปริงฟิลด์ วูสเตอร์ โลเวลล์ บล็อกตัน และเคมบร.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและรัฐแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับชั้นหลักฐาน

ลำดับชั้นหลักฐาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hierarchy ว่า "ลำดับชั้น" (Evidence hierarchies) สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือโดยเปรียบเทียบของงานวิจัยทางชีวเวช (biomedical research) ประเภทต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีลำดับชั้นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ว่า ก็ยังมีมติร่วมกันอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประเภทหลัก ๆ คือ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) น่าเชื่อถือกว่างานศึกษาแบบสังเกต (observational studies) ในขณะที่ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ (expert opinion) และหลักฐานโดยเรื่องเล่า (anecdotal evidence) น่าเชื่อถือน้อยที่สุด ลำดับชั้นหลักฐานบางอย่างจะถือว่าการปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (meta analysis) น่าเชื่อถือกว่า RCT เพราะว่างานเหล่านี้มักจะรวบรวมข้อมูลจาก RCT หลาย ๆ งาน และจากงานประเภทอื่น ๆ ด้วย ลำดับชั้นหลักฐานเป็นเรื่องสำคัญของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) มีคำวิจารณ์ว่าลำดับชั้นหลักฐานแบบต่าง ๆ ให้ความเชื่อถือแก่ RCT มากเกินไป เพราะว่า ปัญหางานวิจัยทั้งหมดไม่สามารถตอบได้โดยใช้ RCT เพราะว่า เป็นงานที่ทำได้ยาก หรือเพราะมีปัญหาทางจริยธรรม นอกจากนั้นแล้ว แม้ว่าจะมีหลักฐานจาก RCT ที่มีคุณภาพสูง แต่หลักฐานจากงานวิจัยประเภทอื่น ๆ ก็ยังอาจจะสำคัญ มีนักวิชาการท่านหนึ่งเสนอว่า น้ำหนักความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประเภทต่าง ๆ (คือ ลำดับชั้นหลักฐาน) เมื่อต้องตัดสินใจทำการรักษา จะให้ลำดับดังต่อไปนี้ คือ.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและลำดับชั้นหลักฐาน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและสถิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติการณ์

อุบัติการณ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและอุบัติการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง หรือ ความเอนเอียงโดยการคัดเลือก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ selection ว่า "การคัดเลือก, การเลือกสรร, และการเลือกหา" (Selection bias) คือความผิดพลาดทางสถิติ เนื่องมาจากวิธีการเลือกตัวอย่างหรือกลุ่มตัวอย่างในงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่โดยเฉพาะหมายถึงการคัดเลือกบุคคล กลุ่ม หรือข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยที่ไม่มีการสุ่ม (randomization) ที่สมควร และดังนั้นจึงทำให้ตัวอย่างที่ชัก ไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการจะวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยง

วามเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิท.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและความเสี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียง

วามเอนเอียง (Bias) เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป เราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง การมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ ความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ).

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์ประกันภัย

ณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial science) เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการคาดคะเนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยทำให้เหตุการณ์ในอนาคตเป็นเหตุเป็นผลในรูปของการเงิน โดยการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจ โดยคิดถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ และสามารถที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ประเมินความเสี่ยงในปัจจุบัน และสร้างโมเดลคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งก็ทำงานได้ในองค์กรที่แตกต่างกัน คือ บริษัทประกันชีวิต, บริษัทให้คำปรึกษา, บริษัทประกันวินาศภัย และบริษัททางการเงินอื่นๆ "คณิตศาสตร์ประกันภัย (actuarial science)" เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาต่างๆหลายด้าน เช่น คณิตศาสตร์ (mathematics), ทฤษฎีความน่าจะเป็น (probability), สถิติศาสตร์ (statistics), การเงิน (finance), เศรษฐศาสตร์ (economics), เศรษฐศาสตร์การเงิน (financial economics), และการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer programming) เป็นต้น มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีเปิดหลักสูตรนี้น้อยมากเนื่องจากต้องศึกษาวิชาในหลายๆด้าน แต่ปัจจุบันสาขาวิชานี้กำลังเป็นที่นิยมและต้องการ ของตลาดทั้งในและต่างประเท.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและคณิตศาสตร์ประกันภัย · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษามีกลุ่มควบคุม

การศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort) จะศึกษาการเกิดของโรคที่มีแล้ว งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (page, case history study, case referent study, retrospective study) เป็นแบบการศึกษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ ที่มีการพัฒนาในยุคแรก ๆ ในสาขาวิทยาการระบาด แม้ว่าต่อ ๆ มาก็มีการสนับสนุนให้ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ของสังคมศาสตร์ เป็นงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ประเภทหนึ่ง ที่จะกำหนดกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลต่างกัน แล้วเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานว่าอะไรเป็นเหตุของผลที่ต่างกันนั้น เป็นแบบงานที่มักจะใช้เพื่อกำหนดองค์ประกอบที่มีผลต่ออาการของโรค โดยเปรียบเทียบคนไข้ที่มีอาการ/โรค (case) กับผู้ที่ไม่มีอาการ/โรค (control) ที่มีลักษณะอย่างอื่น ๆ เหมือน ๆ กัน เป็นแบบงานที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า แต่ว่าให้หลักฐานความเป็นเหตุผลได้อ่อนกว่าการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial).

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและงานศึกษามีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามยาว

งานศึกษาตามยาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ longitudinal ว่า "-ตามยาว" และของ longitudinal study ว่า "วิธีศึกษาระยะยาว" หรือ วิธีศึกษาระยะยาว (longitudinal study) เป็นการศึกษาวิจัยโดยสหสัมพันธ์ที่สังเกตวัดค่าตัวแปรเดียวกัน ๆ เป็นระยะเวลายาว บ่อยครั้งเป็นทศวรรษ ๆ เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่ง มักใช้ในสาขาจิตวิทยาเพื่อศึกษาพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดชั่วชีวิต และในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งชีวิตหรือหลายชั่วชีวิต เป็นการศึกษาที่ไม่เหมือนกับการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะการศึกษาตามขวางเปรียบเทียบลักษณะเดียวกันของบุคคลต่าง ๆ แต่การศึกษาตามยาวติดตามบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ค่าต่าง ๆ ที่พบในบุคคลเหล่านั้น มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชั่วคน การศึกษาตามยาวจึงสามารถแสดงความเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำกว่า และจึงมีการประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ในการแพทย์ การศึกษาแบบนี้ใช้เพื่อค้นหาตัวทำนาย (predictor) ของโรค ส่วนในการโฆษณา ใช้เพื่อตรวจความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมโฆษณา เนื่องจากการศึกษาแบบนี้เป็นแบบสังเกต คือสังเกตดูสภาพความจริงโดยที่ไม่เข้าไปจัดการ จึงมีการอ้างว่า มีกำลังที่จะตรวจจับความเป็นเหตุผลน้อยกว่าการศึกษาเชิงทดลอง แต่เพราะว่า เป็นการสังเกตลักษณะในระดับบุคคลอย่างซ้ำ ๆ กัน จึงมีกำลังกว่าการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะสามารถแยกออกซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นกับเวลา และสามารถติดตามเหตุการณ์ตามลำดับเวลา ข้อเสียของการศึกษาตามยาวก็คือใช้เวลามากและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จึงไม่ค่อยสะดวกที่จะทำ การศึกษาแบบนี้ช่วยให้นักสังคมศาสตร์แยกแยะระหว่างปรากฏการณ์ระยะสั้นกับปรากฏการณ์ระยะยาว เช่นความยากจน คือ ถ้าอัตราความยากจนอยู่ที่ 10% ที่เวลาหนึ่ง ก็อาจจะหมายความว่า มีประชากร 10% พวกเดียวกันที่เป็นคนยากจนตลอด หรือว่า ในประชากรทั้งหมด ณ เวลาหนึ่ง จะมีประชากร 10% ที่เป็นคนยากจน ซึ่งไม่สามารถจะแยกแยะได้โดยใช้การศึกษาตามขวางซึ่งวัดค่าต่าง ๆ เพียงครั้งเดียว ประเภทต่าง ๆ ของการศึกษาตามยาวรวมทั้งงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) และ panel study งานแบบแรกสุ่มตัวอย่างจากคนในรุ่น ซึ่งกำหนดเป็นกลุ่มบุคคลที่ประสบเหตุการณ์อย่างหนึ่ง (ปกติคือการเกิด) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วติดตามศึกษาเป็นระยะ ๆ ส่วนงานแบบที่สองสุ่มตัวอย่างตามขวาง คือจากทั้งกลุ่มประชากร แล้วสำรวจข้อมูลต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ส่วนการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เป็นการศึกษาตามยาวที่ตรวจข้อมูลย้อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น อาจจะตรวจดูบันทึกทางการแพทย์ของปีที่แล้วเพื่อตรวจหาแนวโน้ม.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและงานศึกษาตามยาว · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง

publisher.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและงานศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามรุ่นตามแผน

publisher.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและงานศึกษาตามรุ่นตามแผน · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามขวาง

ในงานวิจัยทางการแพทย์และสังคมศาสตร์ งานศึกษาตามขวาง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cross sectional analysis ว่า "การวิเคราะห์ตามขวาง" และของ cross-sectional study ว่า "วิธีศึกษาแบบตัดขวาง" หรือ งานศึกษาแบบตัดขวาง หรือ งานวิเคราะห์ตามขวาง (cross-sectional study, cross-sectional analysis, transversal study, prevalence study) เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่งที่วิเคราะห์ข้อมูลของประชากร หรือของกลุ่มตัวแทนประชากร ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง (คือวิเคราะห์ cross-sectional data) ในสาขาเศรษฐศาสตร์ งานประเภทนี้มักจะใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติแบบ cross-sectional regression เพื่อตรวจสอบตัวแปรอิสระ (independent variable) หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น ว่าเป็นเหตุของตัวแปรตาม (dependent variable) คือผลหรือไม่ และเหตุนั้นมีอิทธิพลต่อผลขนาดไหน ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์แบบ time series analysis ซึ่งติดตามดูความเป็นไปของข้อมูลรวม (aggregate data) อย่างน้อยหนึ่งตัว เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในงานวิจัยทางการแพทย์ งานประเภทนี้ต่างจากงานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control studies) โดยที่งานประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อมูลที่เป็นประเด็นศึกษา ของประชากรทั้งกลุ่ม เทียบกับงานศึกษามีกลุ่มควบคุม ที่มักจะศึกษากลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแต่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมด งานประเภทนี้เป็นงานเชิงพรรณนา (descriptive) ไม่ใช่งานตามยาว (longitudinal) ไม่ใช่งานเชิงทดลอง (experimental) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ odds ratio, ความเสี่ยงสัมบูรณ์ (absolute risk), และความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk) จากความชุกของโรค (prevalence) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับกลุ่มประชากร เช่น ความชุกของโรค หรือแม้แต่ให้หลักฐานเบื้องต้น ในการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เป็นงานที่ต่างจากงานศึกษาตามยาว (longitudinal studies) เพราะงานตามยาวตรวจสอบข้อมูลจากลุ่มประชากรมากกว่าครั้งเดียว เป็นระยะ ๆ เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและงานศึกษาตามขวาง · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาแบบสังเกต

ในสาขาวิทยาการระบาดและสถิติศาสตร์ งานศึกษาแบบสังเกต"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ observational methods ว่า "วิธีวิจัยแบบสังเกต" และ study ว่า "งานศึกษา, การศึกษา" (observational study) เป็นการศึกษาที่อนุมานผลของวิธีการรักษาที่เป็นประเด็นการศึกษาต่อคนไข้ ใช้เมื่อการจัดคนไข้เข้ากับกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ซึ่งแตกต่างจากการทดลองเช่นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่สามารถจัดผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนให้อยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยสุ่มได้.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและงานศึกษาแบบสังเกต · ดูเพิ่มเติม »

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community, EEC; บ้างเรียกสั้นเพียง ประชาคมยุโรป (European Community)) เป็นองค์การระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นด้วยทรรศนะที่จะทำให้เกิดบูรณาการทางเศรษฐกิจ (รวมทั้งตลาดร่วม) ในบรรดาหกสมาชิกดั้งเดิมหกประเทศ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาโรม..

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซตย่อย

ในคณิตศาสตร์โดยเฉพาะสาขาทฤษฎีเซต เซต A เป็นเซตย่อยของเซต B หรืออาจจะบอกว่าเซต B เป็นซูเปอร์เซตของเซต A ถ้า A เป็นส่วนหนึ่งของ B นั่นก็คือสมาชิกทั้งหมดของเซต A จะต้องเป็นสมาชิกของเซต B ด้วย ทั้งนี้ A กับ B อาจเท่ากันก็ได้.

ใหม่!!: การศึกษาตามแผนและเซตย่อย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cohort studyPanel studyPanel surveyการศึกษาตามรุ่นการศึกษาตามบุคคลในรุ่นงานศึกษาตามรุ่นงานศึกษาตามบุคคลในรุ่นงานศึกษาตามแผน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »