เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัส vs. พระเจ้าดาไรอัสที่ 3

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัส (Siege of Halicarnassus) เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียกับฝ่ายจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด เกิดขึ้นเมื่อปีที่ 334 ก่อนคริสต์ศักราชที่เมืองแฮลิคาร์แนสซัส (ปัจจุบันคือเมืองโบดรุม (Bodrum) ประเทศตุรกี) ฝ่ายเปอร์เซียใช้กองทัพเรือยั่วยุพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ไม่มีกองเรือไว้ต่อต้าน กองเรือเปอร์เซียแล่นมาที่เมืองแฮลิคาร์แนสซัสเพื่อใช้เป็นเมืองตั้งรับ พิกซอดารัสแห่งแคเรีย (Pixodarus of Caria) สั่งปลดราชินีเอดา (Ada of Caria) พระภคินี (พี่สาว) ของตนเองและปกครองเมืองแทน แต่ไม่นานหลังจากนั้นพิกซอดารัสก็สวรรคต ฝ่ายเปอร์เซียจึงแต่งตั้งโอรอนโตบาเตส (Orontobates) ขึ้นปกครองเมืองต่อ เขาและเมมนอนแห่งโรดส์ (Memnon of Rhodes) ได้ร่วมกันสร้างปราการเพื่อรอรับมือกองทัพมาซิโดเนีย เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาถึง พระองค์ได้รับความช่วยเหลือจากราชินีเอดา พระองค์ใช้แผนส่งสายลับเข้าไปเพื่อช่วยเปิดประตูเมือง แต่เกิดการปะทะกันขึ้น ทหารมาซิโดเนียสามารถทลายกำแพงเมืองได้ แต่ฝ่ายเปอร์เซียโต้กลับด้วยเครื่องยิงหิน (catapult) และส่งทหารเข้าต่อสู้ อย่างไรก็ตาม ทหารมาซิโดเนียบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ เมื่อเห็นว่าเสียเมืองแล้ว เมมนอนสั่งให้จุดไฟเผาเมืองและถอนทัพออกไป ลมที่พัดแรงยิ่งโหมเปลวไฟให้ลุกลามเผาเกือบทั้งเมือง หลังยึดเมืองได้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้คืนตำแหน่งเจ้าเมืองให้ราชินีเอดา ราชินีเอดาจึงรับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เป็นบุตรเพื่อรักษาสิทธิ์ผู้สืบทอดหลังพระองค์สวรรคต พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เลือกที่จะให้ราชินีเอดาปกครองเมืองต่อไปเพราะพระองค์เป็นที่รักของประชาชนและประชาชนจะไม่ลุกฮือต่อต้านพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ในภายหลัง. ระสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III of Persia, 380 – กรกฎาคม 330 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม อาร์ตาชาตา (Artashata) ตามที่กรีกเรียกก่อนจะเปลี่ยนเป็นดาไรอัสในภายหลัง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิด

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · พระเจ้าดาไรอัสที่ 3และราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและอเล็กซานเดอร์มหาราช · พระเจ้าดาไรอัสที่ 3และอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและจักรวรรดิอะคีเมนิด · จักรวรรดิอะคีเมนิดและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3

การล้อมแฮลิคาร์แนสซัส มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 21.43% = 3 / (5 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การล้อมแฮลิคาร์แนสซัสและพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: