ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสงครามโลกครั้งที่สอง
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสงครามโลกครั้งที่สอง มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฝ่ายอักษะสหภาพโซเวียตปฏิบัติการบาร์บารอสซานาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)เดอะบลิตซ์เซวัสโตปอล
ฝ่ายอักษะ
ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และฝ่ายอักษะ · ฝ่ายอักษะและสงครามโลกครั้งที่สอง ·
สหภาพโซเวียต
หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสหภาพโซเวียต · สงครามโลกครั้งที่สองและสหภาพโซเวียต ·
ปฏิบัติการบาร์บารอสซา
ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและสงครามโลกครั้งที่สอง ·
นาซีเยอรมนี
นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และนาซีเยอรมนี · นาซีเยอรมนีและสงครามโลกครั้งที่สอง ·
แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · สงครามโลกครั้งที่สองและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) ·
เดอะบลิตซ์
อะบลิตซ์ (The Blitz) หมายถึงการทิ้งระเบิดเกือบทุกเมืองทั้งใหญ่และเล็กในสหราชอาณาจักรโดยนาซีเยอรมันอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 และวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน (Luffwaffe) การเน้นหนักอยู่ที่นครลอนดอน เดอะบลิตซ์ ทำให้คนตาย 43,000 คน บ้านเรือนถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านหลัง แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้สหราชอาณาจักรหมดความสามารถในการทำสงคราม หรือหมดขีดความสามารถในการต่อต้านการรุกรานของนาซี ถึงแม้ว่าคำว่า "บลิตซ์" (Blitz) เป็นคำย่อของ 'blitzkrieg' ซึ่งแปลว่า "การโจมตีสายฟ้าแลบ" แต่ยุทธการเดอะบลิตซ์กลับไม่ตรงความหมายคือรวดเร็วอย่างฟ้าแลบ แต่ได้กลายเป็นแบบอย่างของ "การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์" (strategic bombing)ที่ทุกฝ่ายนำไปใช้ในเวลาต่อมา การโจมตีทางอากาศของนาซีต่อสหราชอาณาจักรได้เบาบางลงและทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง มาเริ่มต้นใหม่ในปี..
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และเดอะบลิตซ์ · สงครามโลกครั้งที่สองและเดอะบลิตซ์ ·
เซวัสโตปอล
ซวัสโตปอล (Sevastopol, ยูเครนและรัสเซีย: Севасто́поль) เป็นหนึ่งในสองนครที่มีสถานภาพพิเศษในประเทศยูเครน (อีกนครหนึ่ง คือ เคียฟ เมืองหลวงของประเทศ) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลดำของคาบสมุทรไครเมีย มีประชากร 342,541 คน (2544) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพการเดินเรือของท่าเรือเซวัสโตปอลทำให้นครดังกล่าวเป็นจุดนาวิกที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นรีสอร์ตริมทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช นครยังเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซีย ซึ่งเดิมเป็นของโซเวียต และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือยูเครนและรัสเซียเช่าฐานทัพเรือจากยูเครนไปถึงปี 2585 เซวัสโตปอลเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทัพเรือยูเครนและกองเรือทะเลดำของรัสเซีย ความสำคัญด้านการค้าและการต่อเรือของท่าเซวัสโตปอลเติบโตขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้จะประสบความยากลำบากที่มาจากการควบคุมท่าเรือและสะพานเทียบเรือร่วมกันของทหาร เซวัสโตปอลยังเป็นศูนย์วิจัยชีววิทยาทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการศึกษาและฝึกโลมาในนครนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ เซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในประเทศยูเครน โดยฤดูหนาวไม่หนาว และฤดูร้อนอบอุ่นปานกลาง วันที่ 6 มีนาคม 2557 เซวัสโตปอลประกาศว่าตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียฝ่ายเดียว.
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และเซวัสโตปอล · สงครามโลกครั้งที่สองและเซวัสโตปอล ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสงครามโลกครั้งที่สอง มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสงครามโลกครั้งที่สอง
การเปรียบเทียบระหว่าง การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสงครามโลกครั้งที่สอง
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942) มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามโลกครั้งที่สอง มี 331 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 1.99% = 7 / (21 + 331)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)และสงครามโลกครั้งที่สอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: