โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)

ดัชนี การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลระหว่าง (ค.ศ. 674-678) หรือ การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยชาวอาหรับครั้งแรก (Siege of Constantinople) เป็นความขัดแย้งที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไบแซนไทน์–อาหรับและเป็นการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งหนึ่งในหลายครั้งที่เกิดขึ้น การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และฝ่ายจักรวรรดิอุมัยยะฮ์ของอาหรับ มุอาวิยะห์ผู้เรืองอำนาจขึ้นมาเป็นผู้นำจักรวรรดิอาหรับหลังจากสงครามกลางเมืองสงครามฟิตนาครั้งที่ 1 (First Fitna) ส่งลูกชายยาซิดไปล้อมเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 ในล้อมเมืองครั้งนี้ฝ่ายอุมัยยะฮ์ไม่สามารถทำลายกำแพงธีโอโดเซียนที่เป็นกำแพงป้องกันเมืองทางฝั่งบอสฟอรัส เพื่อเข้าตีเมืองได้ เมื่อมาถึงฤดูหนาวฝ่ายอาหรับก็ต้องถอยทัพลึกเข้าไปบนแผ่นดินใหญ่ราว 80 ไมล์จากตัวเมือง ก่อนหน้าที่จะล้อมเมืองผู้ลี้ภัยคริสเตียนชาวซีเรียชื่อคาลลินคอสแห่งเฮลิโอโพลิสประดิษฐ์อาวุธใหม่ที่มีประสิทธิภาพให้แก่จักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่มารู้จักกันว่า “ปืนไฟกรีก” (Greek fire) ในปี ค.ศ. 677 ราชนาวีของไบแซนไทน์ก็ใช้อาวุธนี้ในการทำลายกองเรือของฝ่ายอุมัยยะฮ์อย่างย่อยยับในทะเลมาร์มารา ที่เป็นผลทำให้ฝ่ายอุมัยยะฮ์ยุติการล้อมเมืองในปี..

16 ความสัมพันธ์: ช่องแคบบอสพอรัสพ.ศ. 1217พ.ศ. 1220พ.ศ. 1221พ.ศ. 1260พ.ศ. 1261การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)มุอาวิยะห์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์สงครามไบแซนไทน์-อาหรับอาหรับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4จักรวรรดิไบแซนไทน์ทะเลมาร์มะราคอนสแตนติโนเปิล

ช่องแคบบอสพอรัส

กอากาศของช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบบอสพอรัส (Bosporus Strait) หรือ ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus Strait) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (İstanbul Boğazı) เป็นช่องแคบที่กั้นระหว่างตุรกีเธรซที่อยู่ในทวีปยุโรปกับคาบสมุทรอานาโตเลียในทวีปเอเชีย เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดะเนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับทะเลอีเจียน ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาเนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลมาร์มะราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบบอสฟอรัสยาวราว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นถึงราว 11 ล้านคน.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และช่องแคบบอสพอรัส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1217

ทธศักราช 1217 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และพ.ศ. 1217 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1220

ทธศักราช 1220 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และพ.ศ. 1220 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1221

ทธศักราช 1221 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และพ.ศ. 1221 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1260

ทธศักราช 1260 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และพ.ศ. 1260 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1261

ทธศักราช 1261 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และพ.ศ. 1261 · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล

การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในปี ค.ศ. 1453 (เขียนใน ค.ศ. 1499) การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (List of sieges of Constantinople) กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกล้อมหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ การล้อมสองครั้งมีผลทำให้ถูกยึดจากการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1204 โดยนักรบครูเสด และครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1453 โดยจักรวรรดิออตโตมันภายใต้การนำของสุลต่านเมเหม็ดที่ 2.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718) หรือ การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยชาวอาหรับครั้งที่สอง (Siege of Constantinople) เป็นความขัดแย้งที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไบแซนไทน์–อาหรับและเป็นการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองในหลายครั้งที่เกิดขึ้น การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิบัลแกเรียฝ่ายหนึ่งและจักรวรรดิอุมัยยะฮ์ของอาหรับอีกฝ่ายหนึ่ง การสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นทางทางบกและทางทะเลโดยฝ่ายอาหรับในการพยายามยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ กองทหารราบของฝ่ายอาหรับนำโดยมาสลามา อิบุน อับดาล มาลิคได้รับความพ่ายแพ้ จากการพยายามตีกำแพงธีโอโดเซียนของคอนสแตนติโนเปิลของที่ไม่สามารถตีแตกได้ และจากการโจมตีของกองกำลังบัลแกเรีย ขณะเดียวกันทางด้านการรบทางทะเลกองเรือฝ่ายอาหรับก็ถูกทำลายโดย “ไฟกรีก” (Greek fire) ไปเป็นอันมาก กองเรือที่รอดหลงเหลือก็มาล่มในพายุระหว่างการเดินเรือกลับ การสงครามครั้งนี้มักจะเปรียบเทียบกับยุทธการตูร์เพราะเป็นยุทธการที่หยุดยั้งการขยายตัวของมุสลิมเข้ามายังยุโรปเป็นเวลาเกือบ 700 ปี.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718) · ดูเพิ่มเติม »

มุอาวิยะห์

มุอาวิยะห์ (معاوية بن أبي سفيان, Muawiyah I) (ค.ศ. 602 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 680) เป็นคอลีฟะหรือกาหลิบองค์แรกของ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ แห่ง ดามัสกั.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และมุอาวิยะห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

งครามไบแซนไทน์-อาหรับ (Byzantine–Arab Wars) เป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิกาหลิป และจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เริ่มตั้งแต่การพิชิตดินแดนของมุสลิมภายใต้จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนและจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ และต่อสู้ต่อเนื่องกันมาด้วยสาเหตุความขัดแย้งของพรมแดนจนถึงสงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น ผลของสงครามคือการเสียดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือชาวอาหรับเรียกว่า “รุม” ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แตไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับ

กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 (Constantine IV; Κωνσταντίνος Δ', Kōnstantinos IV, Constantinus) (ค.ศ. 652 – กันยายน ค.ศ. 685) คอนสแตนตินที่ 4 ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์เฮราเคลียน ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 668 จนเสด็จสวรรคตในเดือนกันยายน ค.ศ. 685 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2 ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ ก่อนที่จะทรงเป็นจักรพรรดิด้วยพระองค์เองคอนสแตนตินที่ 4 ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระราชบิดาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลมาร์มะรา

ที่ตั้งของทะเลมาร์มะรา ทะเลมาร์มะรา หรือ ทะเลมาร์โมรา (Sea of Marmara, Marmara Sea, Sea of Marmora; Marmara Denizi; Προποντίς) เป็นทะเลที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลอีเจียน ซึ่งแยกตุรกีในทวีปเอเชียจากตุรกีในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือช่องแคบบอสฟอรัสเชื่อมกับทะเลดำ ทางตอนใต้ช่องแคบดาร์ดาเนลส์เชื่อมกับทะเลอีเจียน ทะเลมาร์มะรามีเนื้อที่ทั้งหมด 11,350 ตารางกิโลเมตร และจุดที่ลึกที่สุดลึก 1,370 เมตร.

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และทะเลมาร์มะรา · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)และคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Battle of SyllaeumSiege of Constantinople (674)Siege of Constantinople (674–678)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »