โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560 vs. ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

มีการจัด การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ทั่วประเทศตุรกีเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2560 ว่าจะอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งตุรกีที่เสนอไว้ 18 มาตราหรือไม่ ซึ่งพรรครัฐบาล พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (AKP) และพรรคขบวนการชาตินิยม (MHP) เป็นผู้เสนอ หากได้รับอนุมัติ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะถูกยุบและการปกครองระบบรัฐสภาเดิมจะถูกเปลี่ยนเป็นประธานาธิบดีฝ่ายบริหาร (executive presidency) และระบบประธานาธิบดี มีการเสนอให้ที่นั่งในรัฐสภาเพิ่มขึ้นจาก 550 เป็น 600 ที่นั่ง และมีการเสนอให้ประธานาธิบดีควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการสู่สำนักงานผู้พิพากษาและอัยการสูงสุดได้มากขึ้น การจัดรัฐธรรมนูญดังกล่าวอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งมีการประกาศหลังความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลวในเดือนกรกฎาคม 2559 ผลเบื้องต้นชี้ว่าฝ่ายออกเสียงลงคะแนน "ใช่" นำอยู่ 51-49% สภาการเลือกตั้งสูงสุดอนุญาตให้ยอมรับบัตรลงคะแนนที่มิได้ประทับตราว่ามีผลใช้ได้ พรรคฝ่ายค้านหลักประกาศว่าท่าทีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าบัตรลงคะแนนถึง 1.5 ล้านบัตรมิได้ประทับตรา และปฏิเสธยอมรับผลการลงประชามติ สำนักงานการเลือกตั้งแถลงว่า อาจประกาศผลลัพธ์อย่างเป็นทางการในอีก 11 ถึง 12 วัน ประธานธิบดีฝ่ายบริหารเป็นนโยบายที่มีมายาวนานของพรรครัฐบาล AKP และผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีตุรกีคนปัจจุบัน เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ในเดือนตุลาคม 2559 พรรคขบวนการชาตินิยม (MHP) ประกาศความร่วมมือในการผลิตร่างข้อเสนอร่วมกับรัฐบาล ด้วยการสนับสนุนร่วมของทั้งสมาชิกรัฐสภา AKP และ MHP เพียงพอนำข้อเสนอดังกล่าวสู่การลงประชามติหลังการเลือกตั้งรัฐสภาในเดือนมกราคม ผู้ที่เห็นชอบกับการออกเสียงลงคะแนน 'ใช่' แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต่อประเทศตุรกีที่เข้มแข็งและเสถียร ว่าประธานาธิบดีฝ่ายบริหารจะนำมาซึ่งจุดจบของรัฐบาลผสมที่ไม่เสถียรซึ่งครอบงำการเมอืงตุรกีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงปี 2545 การรณรงค์ 'ไม่' แย้งว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกระจุกอำนาจอยู่ในมือของประธานาธิบดีมากเกินไป ทำลายการแยกใช้อำนาจโดยสิ้นเชิง และดึงอำนาจนิติบัญญัติจากรัฐสภา นักวิจารณ์แย้งว่าระบบที่เสนอจะคล้ายกับ "เผด็จการจากการเลือกตั้ง" โดยไม่มีความสามารถเอาผิดกับฝ่ายบริหารได้ นำไปสู่ "การฆ่าตัวตายทางประชาธิปไตย" ในที่สุด สามวันก่อนการลงประชามติ ผู้ช่วยของแอร์โดกันคนหนึ่งเรียกร้องให้มีระบบสหพันธรัฐหากฝ่ายออกเสียง 'ใช่' ชนะ ทำให้เกิดเสียงโต้กลับจาก MHP ที่นิยมใช่ การรณรงค์ทั้งสองฝ่ายถูกกล่าวหาว่าใช้วาทกรรมแบ่งแยกและสุดขั้ว โดยแอร์โดกันกล่าวหาผู้ออกเสียง 'ไม่' ทุกคนว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่เข้ากับผู้สมคบรัฐประหารที่ล้มเหลวเมื่อปี 2559 การรณรงค์มีข้อกล่าวหาว่ามีการปราบปรามของรัฐต่อผู้รณรงค์ 'ไม่' ขณะที่การรณรงค์ 'ใช่' สามารถใช้สถานที่และเงินทุนของรัฐในการจัดระเบียบการเดินขบวนและเหตุการณ์การรณรงค์ สมาชิกผู้นำของการรณรงค์ 'ไม่' ล้วนถูกความรุนแรงและการจำกัดการรณรงค์ การรณรงค์ 'ใช่' เผชิญกับการจำกัดการรณรงค์โดยหลายประเทศยุโรป รัฐบาลเยอรมัน ดัตช์ เดนมาร์กและสวิสยกเลิกและขอให้ระงับเหตุการณ์การรณรงค์ 'ใช่' ที่มีเป้าหมายยังผู้ออกเสียงลงคะแนนชาวตุรกีต่างประเทศ การจำกัดดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ทางทูตเสื่อมลงอย่างมากและทำใหเกิดวิกฤตการณ์ทางทูตระหว่างประเทศตุรกีและเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ ยังมีการยกข้อกังวลเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของการออกเสียงลงคะแนน โดยผู้ออกเสียง 'ใช่' ในประเทศเยอรมนีถูกจับได้ว่าพยายามออกเสียงมากกว่าหนึ่งครั้งและยังพบว่ามีบัตรออกเสียงในครอบครองก่อนเริ่มกระบวนการออกเสียงลงคะแนนในต่างประเทศ หมวดหมู่:การลงประชามติในปี พ.ศ. 2560 หมวดหมู่:การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2560 หมวดหมู่:การลงประชามติในประเทศตุรกี หมวดหมู่:การเลือกตั้งในประเทศตุรกี. ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดชตัก (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมวดหมู่:ประชาธิปไตย.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบรัฐสภาระบบประธานาธิบดี

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และระบบรัฐสภา · ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประธานาธิบดี

ระบบประธานาธิบดี คือ ระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น.

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และระบบประธานาธิบดี · ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและระบบประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560 มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 15.38% = 2 / (6 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกี พ.ศ. 2560และประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »