โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรับรู้และสภาวะเห็นทั้งบอด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การรับรู้และสภาวะเห็นทั้งบอด

การรับรู้ vs. สภาวะเห็นทั้งบอด

ลูกบาศก์เนกเกอร์และแจกันรูบินสามารถมองเห็น/รับรู้ได้มากกว่า 1 แบบ การรับรู้ หรือ สัญชาน (Perception จากคำภาษาละตินว่า perceptio) เป็นการจัดระเบียบ ระบุ และแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัสเพื่อใช้เป็นแบบจำลองและเข้าใจข้อมูลหรือโลกรอบ ๆ ตัว การรับรู้ทุกอย่างจะต้องเกี่ยวกับสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังระบบประสาท โดยสัญญาณก็จะเป็นผลของการเร้าระบบรับความรู้สึกทางกายภาพหรือทางเคมี ยกตัวอย่างเช่น การเห็นจะเกี่ยวกับแสงที่มากระทบจอตา การได้กลิ่นจะอำนวยโดยโมเลกุลที่มีกลิ่น และการได้ยินจะเกี่ยวกับคลื่นเสียง การรับรู้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรับสัญญาณทางประสาทสัมผัสเฉย ๆ แต่จะได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้ ความทรงจำ ความคาดหวัง และการใส่ใจของบุคคลนั้น ๆ การรับรู้สามารถแบ่งเป็นสองส่วน คือ. วะเห็นทั้งบอด หรือ การเห็นทั้งบอด หรือ เห็นทั้งบอด หรือ บลายน์ดไซต์ (blindsight) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางตา ของผู้ที่มีความบอดเหตุสมอง (cortical blindness) ที่เนื่องมาจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นไม่สามารถจะเห็นตัวกระตุ้นนั้น งานวิจัยของสภาวะเห็นทั้งบอดโดยมาก ได้ทำกับคนไข้ที่มีภาวะบอดของลานสายตาเพียงข้างเดียว หลังจากที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมของคนไข้ถูกทำลายแล้วเพราะโรคหรือเหตุอย่างอื่น คือ นักวิจัยจะให้คนไข้ตรวจจับ หาตำแหน่ง และแยกแยะตัวกระตุ้นทางตาที่แสดงให้กับลานสายตาข้างที่คนไข้มองไม่เห็น โดยบอกให้คนไข้เดา และแม้ว่าคนไข้จะมองไม่เห็นตัวกระตุ้นนั้นจริง ๆ งานวิจัยกลับแสดงถึงความแม่นยำของการเดาในระดับหนึ่งที่น่าประหลาดใจ ความสามารถในการเดาด้วยความแม่นยำที่สูงกว่าความบังเอิญ ถึงลักษณะบางอย่างของตัวกระตุ้นทางตา เช่นตำแหน่ง หรือว่าชนิดของความเคลื่อนไหว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการรับรู้ในตัวกระตุ้นโดยประการทั้งปวง เรียกว่า สภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 1 ส่วนสภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 2 เป็นแบบที่คนไข้อ้างว่า รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนไปในลานสายตาข้างที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหว แต่ว่าไม่ใช่โดยการมองเห็นสิ่งเร้าทางตา สภาวะเห็นทั้งบอดท้าทายความเชื่อที่แพร่หลายว่า สิ่งเร้าต้องปรากฏต่อการรับรู้ จึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้ ปรากฏการณ์นี้แสดงว่า พฤติกรรมของเราสามารถเปลี่ยนไปเพราะข้อมูลการรับรู้ ที่ "เรา" ไม่ได้รับรู้ด้วยเลย สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การรับรู้และสภาวะเห็นทั้งบอด

การรับรู้และสภาวะเห็นทั้งบอด มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จอตาความใส่ใจ

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

การรับรู้และจอตา · จอตาและสภาวะเห็นทั้งบอด · ดูเพิ่มเติม »

ความใส่ใจ

วามใส่ใจกับการเล่นเกม ความใส่ใจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (Attention) เป็นกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ที่เลือกที่จะเข้าไปใส่ใจหรือมีสมาธิในอะไรอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยที่ไม่สนใจในสิ่งอื่น มีการกล่าวถึงความใส่ใจว่า เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัส ความใส่ใจเป็นประเด็นงานวิจัยที่มีการศึกษามากที่สุดประเด็นหนึ่งในสาขาจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์วิทยาการปัญญา (cognitive neuroscience) และยังเป็นประเด็นการศึกษาที่สำคัญในสาขาการศึกษา จิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ ประเด็นงานวิจัยที่ยังเป็นไปอย่าต่อเนื่องในปัจจุบันรวมทั้ง การหาแหล่งกำเนิดของสัญญาณในสมองที่มีผลเป็นเป็นความใส่ใจ ผลของสัญญาณต่อการเลือกตัวกระตุ้น (neuronal tuning) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก และความสัมพันธ์ของความใส่ใจกับกระบวนการทางประชานอื่น ๆ เช่นหน่วยความจำใช้งาน (working memoryหน่วยความจำใช้งาน (working memory) คือระบบความจำที่รองรับข้อมูลชั่วคราวซึ่งสมองใช้ในการประมวลผล เช่น จะจำเบอร์โทรศัพท์อย่างชั่วคราวได้ก็จะต้องใช้ระบบนี้) และ vigilance นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีประเด็นงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ตรวจสอบผลของการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะต่อความใส่ใจ คำว่า ความใส่ใจนั้น อาจจะมีความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่เชื้อชาติวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจกับความรู้สึกตัว (พิชาน) เป็นเรื่องที่ซับซ้อนจนกระทั่งว่า มีการศึกษาทางด้านปรัชญามาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนมาถึงในปัจจุบัน แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เริ่มขึ้นตั้งแต่โบราณ แต่ก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันอย่างสำคัญเริ่มตั้งแต่ในด้านสุขภาพจิต จนกระทั่งถึงงานวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษ.

การรับรู้และความใส่ใจ · ความใส่ใจและสภาวะเห็นทั้งบอด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การรับรู้และสภาวะเห็นทั้งบอด

การรับรู้ มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ สภาวะเห็นทั้งบอด มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.28% = 2 / (25 + 36)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้และสภาวะเห็นทั้งบอด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »