โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรักษาด้วยออกซิเจนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การรักษาด้วยออกซิเจนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การรักษาด้วยออกซิเจน vs. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การรักษาด้วยออกซิเจนหรือออกซิเจนเสริม เป็นการใช้ออกซิเจนเป็นการรักษาทางการแพทย์ ใช้ในกรณีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ความเป็นพิษคาร์บอนมอนออกไซด์ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ และการรักษาออกซฺเจนให้เพียงพอระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกชนิดสูดดม ออกซิเจนระยะยาวมักมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำเรื้อรัง เช่น จากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือซิสติกไฟโบรซิสรุนแรง สามารถให้ออกซิเจนได้หลายวิธี เช่น หลอดคาจมูก หน้ากากครอบหน้า และในห้องความกดอากาศสูง ออกซิเจนจำเป็นสำหรับเมแทบอลิซึมของเซลล์ปกติ ความเข้มข้นสูงเกินสามารถทำให้เกิดภาวะพิษออกซิเจน เช่น ปอดได้รับบาดเจ็บหรือส่งผลให้การหายใจล้มเหลวในผู้โน้มเอียงเกิดโรค ความเข้มข้นของออกซิเจนที่สูงขึ้นยังเพิ่มความเสี่ยงอัคคีภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะสูบบุหรี่ และหากไม่ให้ความชื้นร่วมยังสามารถทำให้จมูกแห้ง ความอิ่มตัวของออกซิเจนเป้าหมายที่แนะนำขึ้นอยู่กับภาวะที่กำลังรักษา ในภาวะส่วนใหญ่ แนะนำให้ความอิ่มตัวอยู่ที่ 94-98% ขณะที่ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งแนะนำที่ 88-92% มากกว่า และในผู้ที่มีภาวะพิษคาร์บอนมอนออกไซด์หรือหัวใจหยุดให้ความอิ่มตัวออกซิเจนสูงสุดเท่าที่ทำได้ อากาศตรงแบบมีออกซิเจน 21% โดยปริมาตรขณะที่การรักษาด้วยออกซิเจนสามารถเพิ่มค่านี้ไปได้ถึง 100% การใช้ออกซิเจนในการแพทย์แพร่หลายหลังปี 1917 อยู่ในรายการยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ราคาของออกซิเจนที่บ้านอยู่ที่ประมาณ 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในประเทศบราซิลและ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในสหรัฐ การให้ออกซิเจนที่บ้านสามารถให้ทางถังออกซิเจนหรือเครื่องผลิตออกซิเจน (oxygen concentrator) เชื่อว่าออกซิเจนเป็นการรักษาที่ให้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาลในประเทศพัฒนาแล้ว. รคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD, chronic obstructive lung disease, COLD, chronic obstructive airway disease, COAD) เป็นโรคปอดอุดกั้นที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศของระบบทางเดินหายใจ --> และมักจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป --> อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อย ไอ และ มีเสมหะ ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนใหญ่จะมี COPD ด้วย สาเหตุพบบ่อยที่สุดของ COPD คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม เป็นต้น สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อากาศเสียจากการทำอาหารหรือควันไฟ การสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นในเนื้อปอด ทำให้หลอดลมฝอยตีบลงและการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด เรียกว่า ถุงลมโป่งพอง อังกฤษ:emphysema การวินิจฉัยนั้นใช้พื้นฐานของความสามารถในการไหลผ่านของอากาศด้วยการตรวจวัดโดย การทดสอบการทำงานของปอด โดยมีความแตกต่างจากโรคหอบหืด คือ การลดลงของปริมาณอากาศที่ไหลผ่านด้วยการให้ยานั้นไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ COPD สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของโรคที่ทราบ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการสูบบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอก การรักษา COPD ได้แก่: การเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีน การฟื้นฟูสภาพ และการพ่นสูดยาขยายหลอดลมบ่อยๆ และการใช้ยาสเตียรอยด์ บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวหรือการปลูกถ่ายปอด ในกลุ่มผู้ที่มีการทรุดลงอย่างเฉียบพลันช่วงหนึ่ง การเพิ่มยาที่ใช้รักษาและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็น ในทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วย COPD จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากร ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การรักษาด้วยออกซิเจนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การรักษาด้วยออกซิเจนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การรักษาด้วยออกซิเจนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การรักษาด้วยออกซิเจน มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มี 52 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (6 + 52)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การรักษาด้วยออกซิเจนและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »