โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การระเบิดที่ตุงกุสคาและภัยพิบัติ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การระเบิดที่ตุงกุสคาและภัยพิบัติ

การระเบิดที่ตุงกุสคา vs. ภัยพิบัติ

การระเบิดที่ตุงกุสคา หรือ เหตุการณ์ตุงกุสคา (Tunguska explosion, Tunguska event) เป็นการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพอดกาเมนนายาตุงกุสคา (Podkamennaya Tunguska River) ไซบีเรีย จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือ กราสโนยาร์คไคร ตอนกลางของรัสเซีย) เมื่อเวลาประมาณ 7.12 น. วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ตามเวลาท้องถิ่น (GMT+7 ตามเวลาในประเทศไทย) แม้ว่าสาเหตุยังคงเป็นประเด็นถกเถียง แต่การระเบิดคล้ายมากกับการระเบิดคลื่นอัดอากาศจากการแตกตัวของอุกกาบาตหรือดาวหางขนาดใหญ่ ที่ความสูงเหนือพื้นผิวโลก 5-10 กิโลเมตร (3-6 ไมล์) แม้ว่าการระเบิดของอุกกาบาตกลางอากาศก่อนถึงพื้นผิวเกิดขึ้นน้อยกว่าการชนพื้นผิว แต่ก็ยังจัดเป็นการปะทะของอุกกาบาตอีกลักษณะหนึ่ง การศึกษาต่างวาระแสดงหลักฐานตรงกันว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 10-30 เมตร แต่ขนาดที่แน่นอนอ้างไม่ตรงกัน ประมาณการว่า การระเบิดนี้มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที ระหว่าง 5 เมกะตัน ถึง 30 เมกะตัน หรือประมาณ 1,000 เท่า _ ของระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น การระเบิดเกิดขึ้นกลางอากาศที่ความสูงประมาณ 5-10 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน การระเบิดทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนแผ่ออกเป็นวงกว้าง เทียบเท่ากับแผ่นดินไหวที่แมกนิจูด 5.0 ทำลายต้นไม้ประมาณ 80 ล้านต้น กินอาณาบริเวณประมาณ 2,150 ตารางกิโลเมตร แม้เชื่อกันว่าเหตุการณ์ตุงกุสคาเป็นการปะทะของอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุดที่มนุษย์สังเกตพบในช่วงประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่การปะทะขนาดคล้ายกันนี้พบได้ในพื้นที่มหาสมุทรที่ห่างไกล ซึ่งพลาดการสังเกตพบในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 เพราะยังไม่มีการคิดค้นระบบตรวจการณ์ทางดาวเทียม. แผ่นดินไหวในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2449 ภัยพิบัติ คือ ภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน โดยส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ภัยพิบัติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือ ภัยที่มีสาเหตุมาจากธรรมชาติ อาทิ แผ่นดินไหว อุทกภัย อัคคีภัย พายุ การระเบิด โดยการระเบิดที่กล่าวถึงนี้คือการระเบิดของแก๊ซที่มีความไวไฟสูงที่ธรรมชาติปล่อยออกมาสู่ภายนอก นอกจากนี้ภัยพิบัติทางธรรมชาติยังรวมถึงภัยจากนอกโลกด้วย เช่น อุกกาบาต ภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ ภัยพิบัติที่มีสาเหตุมาจากมนุษย์ เช่น การสูบน้ำใต้ดินปริมาณมากจนส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากจากโรงงานอุตสาหกรรมจนส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและท่วมพื้นที่ในระดับต่ำ การเปลี่ยนทางน้ำจนทำให้เกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ เป็นต้น รวมถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ซึ่งส่งผลต่อชั้นหินใต้เปลือกโลก โดยอาจมีผลกระทบต่อโลกในระยะยาว เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การระเบิดที่ตุงกุสคาและภัยพิบัติ

การระเบิดที่ตุงกุสคาและภัยพิบัติ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อุกกาบาต

อุกกาบาต

อุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐอเมริกา อุกกาบาต คือ วัตถุในอวกาศ ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า สะเก็ดดาวตก พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเรียกว่า ดาวตก เราสามารถพบหรือเจออุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร เป็นต้น อุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที และเกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆอุกกาบาตมีความดันสูงขึ้นจึงเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ สะเก็ดอุกกาบาตเล็กจะถูกเผาไหม้จนหมดแต่สำหรับก้อนที่มีขนาดใหญ่นั้นจะไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกมายันบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้.

การระเบิดที่ตุงกุสคาและอุกกาบาต · ภัยพิบัติและอุกกาบาต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การระเบิดที่ตุงกุสคาและภัยพิบัติ

การระเบิดที่ตุงกุสคา มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภัยพิบัติ มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 1 / (19 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การระเบิดที่ตุงกุสคาและภัยพิบัติ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »