เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและนายกรัฐมนตรีไทย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและนายกรัฐมนตรีไทย

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย vs. นายกรัฐมนตรีไทย

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย คือ การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสิ้นสุดลง โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งปวงพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร อาจนำมาใช้แก้ปัญหาทางตันทางการเมือง นอกจากทางอื่น เช่น รัฐบาลลาออก อนึ่ง เหตุผลในการยุบสภานั้น หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติไว้ไม่ ดังนี้ จึงเป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น อาทิ เกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล การใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง เช่น ขณะที่ตนมีคะแนนนิยมสูงมาก การที่สภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบอายุสภา เช่น ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว. นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง) ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและนายกรัฐมนตรีไทย

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและนายกรัฐมนตรีไทย มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชวน หลีกภัยพระมหากษัตริย์ไทยการอภิปรายไม่ไว้วางใจยิ่งลักษณ์ ชินวัตรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสภาผู้แทนราษฎรไทยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอานันท์ ปันยารชุนทักษิณ ชินวัตรคณะรัฐมนตรีไทยเปรม ติณสูลานนท์

ชวน หลีกภัย

วน หลีกภัย (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 —) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 ดำรงตำแหน่งสองสมัย ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัต.

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและชวน หลีกภัย · ชวน หลีกภัยและนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์ไทย

ระมหากษัตริย์ไทย เป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์ พระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี และเป็นประมุขราชวงศ์จักรี มีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยทรงรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและพระมหากษัตริย์ไทย · นายกรัฐมนตรีไทยและพระมหากษัตริย์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) กระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่พอใจ ในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล วิธีอื่นนอกจากนี้ ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน การถอดถอนจากตำแหน่ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วย การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นไปตามหลักการที่ว่า "ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ" ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เป็นต้น.

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและการอภิปรายไม่ไว้วางใจ · การอภิปรายไม่ไว้วางใจและนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

งลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 21 มิถุนายน..

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร · นายกรัฐมนตรีไทยและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหม.

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย · นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรไทย

ผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร จนถึงวันก่อนวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · นายกรัฐมนตรีไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือชื่อเกิดว่า มาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ละติน: Mark Abhisit Vejjajiva) เกิด 3 สิงหาคม..

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ · นายกรัฐมนตรีไทยและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ · ดูเพิ่มเติม »

อานันท์ ปันยารชุน

อานันท์ ปันยารชุน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 —) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี..

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและอานันท์ ปันยารชุน · นายกรัฐมนตรีไทยและอานันท์ ปันยารชุน · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและทักษิณ ชินวัตร · ทักษิณ ชินวัตรและนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย

ณะรัฐมนตรีไทยเป็นคณะบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีเป็นกลุ่มบุคคลหลักที่ขับเคลื่อนส่วนราชการต่างๆของรัฐบาลไทย สมาชิกของคณะรัฐมนตรีนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรีและได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งประกอบไปด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ คณะรัฐมนตรีไทยนั้นมีขึ้นครั้งแรกหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิบไตยตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่าคณะกรรมการราษฎร และหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช พ.ศ. 2475 จึงเปลี่ยนมาเรียกว่าคณะรัฐมนตรี และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน จำนวนรัฐมนตรีในคณะนั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ขณะนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีรัฐมนตรีได้ไม่เกิน 35 คน, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี คณะที่ 61เป็นคณะรัฐมนตรีชุดล่าสุดจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม..

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและคณะรัฐมนตรีไทย · คณะรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปรม ติณสูลานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี..

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและเปรม ติณสูลานนท์ · นายกรัฐมนตรีไทยและเปรม ติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและนายกรัฐมนตรีไทย

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย มี 32 ความสัมพันธ์ขณะที่ นายกรัฐมนตรีไทย มี 58 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 12.22% = 11 / (32 + 58)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยและนายกรัฐมนตรีไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: