เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน vs. พระเจ้าคนุตมหาราช

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี. ระเจ้าคนุตมหาราช (Canute the Great หรือ Cnut the Great; นอร์สโบราณ: Knútr inn ríki; Knut den mektige; Knut den Store; Knud den Store) หรือ คานุต กษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ปี..1016 เดนมาร์ตั้งแต่ปี..1018 และสวีเดนตั้งแต่ปี..1028 พระองค์เริ่มต้นชีวิตวัยหนุ่มด้วยการเป็นนักรบไวกิ้งและกลายเป็นผู้ปกครองของจักรวรรดิที่ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดประกอบด้วยอังกฤษ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และส่วนหนึ่งของสวีเดน คานุตรุกรานอังกฤษในปี..1013 ร่วมกับพระราชบิดา สเวน กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก หลังการสวรรคตของสเวนในปี..1014 พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นกษัตริย์โดยกองกำลังไวกิ้ง คานุตปราบเอ็ดมุนด์ที่ 2 จอมพลังที่อาสซานดุน เอสเซ็กซ์ ในปี..1016 พระองค์กับเอ็ดมุนด์จอมพลังแยกอังกฤษออกจากกัน คานุตได้ปกครองเมอร์เซียและนอร์ธัมเบรียจนกระทั่งพระองค์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมดหลังการสวรรคตของเอ็ดมุนด์ พระองค์สืบสันตติวงศ์เป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กต่อจากพระเชษฐา ฮารัลด์ ในปี..1018 ทรงบังคับให้พระเจ้าแมลคอล์มถวายความจงรักภักดีด้วยการรุกรานสก็อตแลนด์ในช่วงราวปี..1027 และพิชิตนอร์เวย์ในปี..1028 พระองค์ได้รับการสืบสันตติวงศ์โดยพระโอรสนอกกฎหมาย แฮโรลด์ที่ 1 ภายใต้การปกครองของคานุต การค้าของอังกฤษเจริญรุ่งเรืองขึ้น และพระองค์ได้รับความนิยมจากไพร่ฟ้าชาวอังกฤษจากการส่งทหารกลับเดนมาร์ก ทว่าจักรวรรดิทะเลเหนือที่ประกอบด้วยเดนมาร์ก อังกฤษ และนอร์เวย์ล่มสลายหลังการสวรรคตของพระองค์ ทรงถูกฝังที่วินเชสเตอร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวไวกิงพระเจ้าฮาร์ธาคนุตพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีราชอาณาจักรอังกฤษศาสนาคริสต์สภาวิททันสแกนดิเนเวียนอร์มัน

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและชาวไวกิง · ชาวไวกิงและพระเจ้าคนุตมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาร์ธาคนุต

ระเจ้าฮาร์ธาคนุต หรือ พระเจ้าคนุตที่ 3 แห่งเดนมาร์ก (Harthacanute หรือ Canute the Hardy หรือ Hardecanute; Hörthaknútr หรือ Hardeknud) (ค.ศ. 1018 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคนุต เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1018 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคนุตมหาราช และ เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ. 1035 ถึงปี ค.ศ. 1042 และราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตได้รับราชบัลลังก์เดนมาร์กเมื่อปี ค.ศ. 1035 หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคนุตมหาราชเสด็จสวรรคต แต่การรุกรานของพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ทำให้ไม่ทรงสามารถมารับราชบัลลังก์อังกฤษได้ ทางอังกฤษจึงตกลงยกพระราชบัลลังก์ให้ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตพระเชษฐาต่างพระมารดาผู้เป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าคนุตมหาราชเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของพระองค์เองในปี ค.ศ. 1037 ฮาร์ธาคนุต “ถูกทิ้งเพราะไปอยู่เสียไกลในเดนมาร์ก”The Anglo-Saxon Chronicle — และเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีพระราชมารดาของฮาร์ธาคนุตผู้ที่ประทับอยู่ที่วินเชสเตอร์กับกองทหารของฮาร์ธาคนุตก็ทรงถูกบังคับให้หนีไปบรูจส์ (Bruges) ในฟลานเดอร์ส พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงสงบศึกกับทางสแกนดิเนเวียด้วยสนธิสัญญาที่ทรงทำกับพระเจ้าแม็กนัสราวปี ค.ศ. 1038 หรือ ค.ศ. 1039 โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดตายดินแดนของผู้ที่ตายไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นพระเจ้าฮาร์ธาคนุตก็เตรียมการรุกรานอังกฤษเพื่อที่จะไปปลดพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตจากราชบัลลังก์ แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตจึงได้รับการอัญเชิญจากอังกฤษ ทรงขึ้นฝั่งอังกฤษที่แซนด์วิชในเค้นท์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1040 พร้อมกับเรือรบ 62 ลำ เมื่อเสด็จมาถึงก็มีพระราชโองการให้ขุดร่างของพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นมาแล้วเอาไปโยนทิ้ง พระเจ้าฮาร์ธาคนุตเป็นพระมหากษัตริย์ที่โหดร้ายและไม่เป็นที่นิยม ทรงเรียกเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อที่ทรงใช้ในการบำรุงกองทัพเรือของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1041 ชาววูสเตอร์สังหารทหารสองคนของพระเจ้าฮาร์ธาคนุตที่มาเก็บภาษี พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงตอบโต้โดยการเผาเมือง เกี่ยวกับเรื่องภาษีมีตำนานเล่ากันว่าเลดี้โกไดวาเปลือยร่างขี่ม้ารอบเมืองโคเวนทรีเพื่อเรียกร้องให้เอิร์ลลดภาษีที่พระเจ้าฮาร์ธาคนุตสั่งให้เก็บ พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน (Anglo-Saxon Chronicle) กล่าวถึงพระองค์อย่างผ่านๆ ว่าไม่ทรงประสบความสำเร็จอะไรในฐานะพระเจ้าแผ่นดินระหว่างเวลาที่ทรงครองราชย์ นอกจากนั้นก็ยังกล่าวว่าในปี ค.ศ. 1041 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงละเมิดสัญญาและทรยศต่อเอิร์ลเอดวูลฟแห่งนอร์ทธัมเบรียผู้อยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1041 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงอัญเชิญพระอนุชาต่างพระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ กลับจากการลี้ภัยในนอร์ม็องดีมาอยู่ในราชสำนักของพระองค์และคงคิดจะตั้งเอ็ดเวิร์ดให้เป็นรัชทายาทด้วย พระเจ้าฮาร์ธาคนุตมิได้ทรงเสกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่ก็มีข่าวลือว่ามีพระโอรสนอกสมรส วิลเลียม คนุต พระเจ้าฮาร์ธาคนุตเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 ที่แลมเบ็ธ พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ที่เดียวกับพระราชบิดาและพระราชมารดา เอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ฟื้นฟูราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของแซ็กซอน.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าฮาร์ธาคนุต · พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าฮาร์ธาคนุต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ (Ethelred II หรือ Ethelred the Unready หรือ Aethelred the Unready) (ราว ค.ศ. 968- 23 มิถุนายน ค.ศ. 1016) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 968 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์แห่งอังกฤษ และ เอลฟรีดา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (Ælfthryth) ทรงเสกสมรสกับเอลจิฟูและต่อมาเอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 978 ถึงปี ค.ศ. 1013 และจากปี ค.ศ. 1014 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1016 เหตุการณ์สำคัญส่วนใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์คือการต่อสู้กับไวกิงที่มารุกรานอังกฤษ.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี หรือนักบุญเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี (Edward the Confessor หรือ Saint Edward the Confessor) (ราว ค.ศ. 1003/1004 – 4 มกราคม ค.ศ. 1066) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เวสเซ็กซ์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว..

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี · พระเจ้าคนุตมหาราชและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและราชอาณาจักรอังกฤษ · พระเจ้าคนุตมหาราชและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและศาสนาคริสต์ · พระเจ้าคนุตมหาราชและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาวิททัน

ระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอนและสภาขุนนาง (คริสต์ศตวรรษที่ 11) สภาวิททัน (ภาษาอังกฤษ: Witan หรือ Witenagemot) เป็นสถาบันทางการเมืองของแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษซึ่งมีบทบาทระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 11 คำว่า “witenagemot” มาจากภาษาอังกฤษเก่าจากคำว่า “การพบปะของผู้อาวุโส” (“wita” คือ ผู้มีปัญญา หรือ ที่ปรึกษา (พหูพจน์ “witan”); “gemot” คือ การประชุม) ที่มาของสภาวิททันมาจากการประชุมของประเพณีของการปกครองของชนเผ่าในสมัยโบราณ ซึ่งต่อมามามีอำนาจและที่ดินมากขึ้น สมาชิกสภานอกจากจะเป็นผู้มีอำนาจและก็ยังรวมนักบวชอาวุโสและข้าราชสำนักของพระมหากษัตริย์ด้ว.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและสภาวิททัน · พระเจ้าคนุตมหาราชและสภาวิททัน · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและสแกนดิเนเวีย · พระเจ้าคนุตมหาราชและสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและนอร์มัน · นอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเจ้าคนุตมหาราช มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 13.04% = 9 / (22 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันและพระเจ้าคนุตมหาราช หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: