เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การพลัดถิ่นและลัทธินอกศาสนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การพลัดถิ่นและลัทธินอกศาสนา

การพลัดถิ่น vs. ลัทธินอกศาสนา

ียนแสดงการอพยพของชาวไอริช ราว ค.ศ. 1868 การพลัดถิ่น (Diaspora) คำว่า “Diaspora” มาจากภาษากรีก “διασπορά” ที่แปลว่า “การหว่าน” เป็นคำที่หมายถึงการโยกย้ายของประชากรที่มีชาติพันธุ์เดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ที่อาจจะเกิดจากการถูกบังคับให้ทำการโยกย้าย หรือ เลือกที่จะโยกย้ายถิ่นฐานโดยความตั้งใจของตนเองจากถิ่นฐานที่อยู่เดิมไปตั้งถิ่นฐานและเป็นพลเมืองในดินแดนใหม่ที่มักจะไกลจากถิ่นฐานที่ตั้งอยู่เดิม “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้เร่ร่อน และใกล้เคียงกับการเป็นผู้ลี้ภัย (Refugee) มากกว่า แต่การลี้ภัยอาจจะเป็นการโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในดินแดนใหม่หรือไม่ก็ได้ คำว่า “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากการลี้ภัยที่หมายถึงกลุ่มผู้ที่พลัดจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนใหม่อย่างเป็นการถาวร คำนี้นิยมใช้กับการอพยพของชนกลุ่มใหญ่ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการบังคับให้โยกย้าย หรือจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้มีความจำเป็นต้องไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็ได้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้พลัดถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอื่น ก็อาจจะแตกต่างไปจากการวิวัฒนาการของชนกลุ่มเดียวกันในบ้านเกิดเมืองนอนที่ทิ้งมา การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี นอกจากนั้นปัจจัยต่างๆ ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างระดับกันไป แต่แนวโน้มโดยทั่วไปแล้วความผูกพันทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้พลัดถิ่นมักจะดำเนินไปในรูปของการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงของภาษาและในการรักษาประเพณีการปฏิบัติทางศาสนาเช่นที่เคยทำกันมาในประเทศบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะในชั่วคนรุ่นแรก. ้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การพลัดถิ่นและลัทธินอกศาสนา

การพลัดถิ่นและลัทธินอกศาสนา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การพลัดถิ่นและลัทธินอกศาสนา

การพลัดถิ่น มี 117 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธินอกศาสนา มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (117 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การพลัดถิ่นและลัทธินอกศาสนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: