โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การพลัดถิ่นและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การพลัดถิ่นและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

การพลัดถิ่น vs. ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

ียนแสดงการอพยพของชาวไอริช ราว ค.ศ. 1868 การพลัดถิ่น (Diaspora) คำว่า “Diaspora” มาจากภาษากรีก “διασπορά” ที่แปลว่า “การหว่าน” เป็นคำที่หมายถึงการโยกย้ายของประชากรที่มีชาติพันธุ์เดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ที่อาจจะเกิดจากการถูกบังคับให้ทำการโยกย้าย หรือ เลือกที่จะโยกย้ายถิ่นฐานโดยความตั้งใจของตนเองจากถิ่นฐานที่อยู่เดิมไปตั้งถิ่นฐานและเป็นพลเมืองในดินแดนใหม่ที่มักจะไกลจากถิ่นฐานที่ตั้งอยู่เดิม “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้เร่ร่อน และใกล้เคียงกับการเป็นผู้ลี้ภัย (Refugee) มากกว่า แต่การลี้ภัยอาจจะเป็นการโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในดินแดนใหม่หรือไม่ก็ได้ คำว่า “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากการลี้ภัยที่หมายถึงกลุ่มผู้ที่พลัดจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนใหม่อย่างเป็นการถาวร คำนี้นิยมใช้กับการอพยพของชนกลุ่มใหญ่ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการบังคับให้โยกย้าย หรือจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้มีความจำเป็นต้องไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็ได้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้พลัดถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอื่น ก็อาจจะแตกต่างไปจากการวิวัฒนาการของชนกลุ่มเดียวกันในบ้านเกิดเมืองนอนที่ทิ้งมา การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี นอกจากนั้นปัจจัยต่างๆ ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างระดับกันไป แต่แนวโน้มโดยทั่วไปแล้วความผูกพันทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้พลัดถิ่นมักจะดำเนินไปในรูปของการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงของภาษาและในการรักษาประเพณีการปฏิบัติทางศาสนาเช่นที่เคยทำกันมาในประเทศบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะในชั่วคนรุ่นแรก. ร่างสตรีและเด็กที่เป็นบรรยายความยากเข็ญของบริจิต โอดอนเนล จากลอนดอนนิวส์ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ (An Gorta Mór, Irish Potato Famine) หรือในภาษาเกลิก “An Gorta Mór” แปลตรงตัวว่า “ความโหยหิวอันยิ่งใหญ่” หรือ “An Drochshaol” ที่แปลว่า “ชีวิตอันตกอับ” เป็นสมัยที่เกิดทุพภิกขภัย โรคระบาด และการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ระหว่างปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การพลัดถิ่นและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

การพลัดถิ่นและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเตนใหญ่การพลัดถิ่นของชาวไอริชสหรัฐสงครามโลกครั้งที่สองทวีปยุโรปทวีปอเมริกาใต้ประเทศออสเตรเลียประเทศแคนาดาโลกใหม่

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ. 2250–2344 ก่อนที่นอร์เทิร์นไอร์แลนด์จะเข้าร่วม เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และนอร์เทิร์นไอร์แลน.

การพลัดถิ่นและบริเตนใหญ่ · ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การพลัดถิ่นของชาวไอริช

“ชาวไอร์แลนด์พลัดถิ่น” ภาพพิมพ์แกะโดยเฮนรี ดอยล์ (ค.ศ. 1827–ค.ศ. 1892) สำหรับหนังสือ “''Illustrated History of Ireland''” โดยแมรี ฟรานซ์ คูแซ็ค, ค.ศ. 1868 การพลัดถิ่นของชาวไอริช (Diaspóra na nGael, Irish diaspora) หมายถึงผู้อพยพชาวไอริชและบุตรหลานที่พำนักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, อาร์เจนตินา, นิวซีแลนด์, เม็กซิโก, แอฟริกาใต้, บราซิล และรัฐในแคริบเบียนและแผ่นดินใหญ่ยุโรป ผู้พลัดถิ่นเมื่อตีความหมายอย่างกว้างๆ แล้วก็มีด้วยกันกว่า 80 ล้านคน ซึ่งมากกว่าสิบสามเท่าของประชากรบนเกาะไอร์แลนด์เอง ที่มีประชากรราว 6.2 ล้านคนใน..

การพลัดถิ่นและการพลัดถิ่นของชาวไอริช · การพลัดถิ่นของชาวไอริชและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

การพลัดถิ่นและสหรัฐ · ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

การพลัดถิ่นและสงครามโลกครั้งที่สอง · ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

การพลัดถิ่นและทวีปยุโรป · ทวีปยุโรปและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

การพลัดถิ่นและทวีปอเมริกาใต้ · ทวีปอเมริกาใต้และทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

การพลัดถิ่นและประเทศออสเตรเลีย · ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

การพลัดถิ่นและประเทศแคนาดา · ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์และประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

โลกใหม่

ระวังสับสนกับ โลกยุคใหม่โลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกใหม่ (New World) เป็นคำที่ใช้สำหรับดินแดนที่นอกไปจากทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย ที่ก็คือทวีปอเมริกา และอาจจะรวมไปถึงออสตราเลเชียด้วย เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อทวีปอเมริกายังใหม่ต่อชาวยุโรปผู้ที่เดิมเชื่อว่าโลกประกอบด้วยทวีปเพียงสามทวีปที่เรียกรวมกันว่าโลกเก่า คำว่า “โลกใหม่” ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “โลกยุคใหม่” (Modern era) คำหลังหมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มิใช่แผ่นดิน.

การพลัดถิ่นและโลกใหม่ · ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์และโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การพลัดถิ่นและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

การพลัดถิ่น มี 117 ความสัมพันธ์ขณะที่ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ มี 102 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 4.11% = 9 / (117 + 102)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การพลัดถิ่นและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »