การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
การฝ่อ vs. ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
ในทางการแพทย์ การฝ่อ หมายถึงการลีบ แห้ง หรือผอมลงบางส่วนหรือทั้งหมดของส่วนต่างๆ ร่างกาย สาเหตุของการฝ่ออาทิการขาดสารอาหาร ขาดเลือดไหลเข้ามาเลี้ยง ขาดฮอร์โมนที่มาช่วยในการทำงาน ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงที่อวัยวะเป้าหมาย การขาดการออกกำลังกายหรือโรคที่เกิดภายในเนื้อเยื่อเอง การฝ่อนับเป็นกระบวนการปกติทางสรีรวิทยาของการเสื่อมหรือทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอะพอพโทซิส (apoptosis) ในระดับเซลล์อันเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการของร่างกายและการรักษาภาวะธำรงดุล แต่หากเกิดจากโรคหรือการขาดปัจจัยที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อจากโรค จะจัดเป็นการฝ่อทางพยาธิวิทยา (pathological atrophy) หมวดหมู่:พยาธิกายวิภาคศาสตร์ หมวดหมู่:มหพยาธิวิทยา. วะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) หรือ โรคผอมแห้ง คือ ภาวะน้ำหนักลด กล้ามเนื้อฝ่อ ล้า อ่อนเพลียและหมดความอยากอาหารอย่างสำคัญในผู้ที่ไม่ได้กำลังพยายามลดน้ำหนักอย่างขันแข็ง นิยามภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกอย่างเป็นทางการ คือ การเสียมวลร่างกายซึ่งไม่สามารถย้อนได้ด้วยโภชนาการ แม้ผู้ป่วยได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้น ก็ยังมีการสูญเสียมวลร่างกาย ซึ่งบ่งชี้ว่ามีพยาธิสภาพหลัก ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกพบได้ในผู้ป่วยมะเร็ง เอดส์ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคหัวใจเลือดคั่ง วัณโรค โรคแอมิลอยด์ชนิดกรรมพันธุ์ที่มีโรคเส้นประสาท ภาวะพิษปรอท และการขาดฮอร์โมน ภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงเชิงบวกของการเสียชีวิต หมายความว่า หากผู้ป่วยมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก โอกาสเสียชีวิตจากสภาพเบื้องหลังจะเพิ่มขึ้นมาก ภาวะนี้สามารถเป็นอาการแสดงของความผิดปกติเบื้องหลังหลายอย่าง เมื่อผู้ป่วยมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาความน่าจะเป็นมะเร็ง ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก (จากการสังเคราะห์โปรตีนลดลงและแคแทบอลิซึมโปรตีนเพิ่มขึ้น) โรคติดเชื้อบางชนิด (เช่น วัณโรค เอดส์) ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และความผิดปกติออโตอิมมูน หรือการติดแอมเฟตามีน ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอทางกายภาพถึงสถานะที่เคลื่อนไหวไม่ได้จากการขาดความอยากอาหาร หมดแรง และโลหิตจาง และปกติสนองต่อการรักษามาตรฐานเลว ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกมีซาร์โคพีเนีย (sarcopenia) เป็นพยาธิสภาพส่วนหนึ่งและอาจจะเกี่ยวกับพันธุกรรมของพ่อหรือแม่ด้วยเช่นกัน.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
การเปรียบเทียบระหว่าง การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก
การฝ่อ มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (12 + 7)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การฝ่อและภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: