เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การฝังเข็มและเมแทบอลิซึม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การฝังเข็มและเมแทบอลิซึม

การฝังเข็ม vs. เมแทบอลิซึม

การฝังเข็ม (針灸; Acupuncture) เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง โดยการฝังเข็มเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การฝังเข็มสามารถระงับอาการเจ็บปวด ช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยาก ป้องกันโรคบางชนิด รวมถึงเสริมสุขภาพ การฝังเข็มเป็นแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีน ซึ่งสามารถสืบย้อนประวัติได้ยาวนานหลายพันปี และยังมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มปักลงไปตามจุดต่างๆบนร่างกายของทั้งมนุษย์และสัตว์ ตามจุดสำคัญๆที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า มีความสำคัญและสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆในร่างกาย จุดฝังเข็มบนร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายร้อยจุด แต่จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีอยู่จำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) หลักๆ 12 เส้นหลักและอีก 2 เส้นรอง จำนวนเส้นลมปราณในร่างกายแต่ละข้าง (ขวา-ซ้าย) มี 12 เส้น โดยแบ่งเป็นส่วนของแขน 6 เส้น และส่วนของขาอีก 6 เส้น (ส่วนอีก 2 เส้นรองจะอยู่ตรงกลางหลังและตรงกลางหน้าท้อง) ในส่วนของแขน 6 เส้น ก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ เช่นเดียวกับขาก็จะจับคู่กันเองเป็น 3 คู่ แต่ละเส้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่ของมันอย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่าง 2 เส้นใน 6 เส้นบนแขน เส้นของปอดและ ลำไส้ใหญ่ โดยเส้นของปอดจะสิ้นสุดที่ข้างหัวนิ้วโป้ง ส่วนเส้นของลำไส้ใหญ่ จะเริ่มบริเวณด้านข้างปลายนิ้วชี้ทั้ง2เส้น นี้คือเส้นของปอดและลำไส้ใหญ่จะ สัมพันธ์กันแบบภายนอกและภายใน เป็นแบบ External & Internal relationship เส้นของปอดมีชื่อเรียกว่า เส้นไท่อินปอด (Taiyin lung meridian) เส้นของลำไส้ใหญ่มีชื่อเรียกว่า เส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ (Yangming large intestine meridian) ในเส้นลมปราณแต่ละเส้น จะมีจุดฝังเข็ม (Acupunture points) หลายจุดจำนวนแตกต่างกันไปมากบ้าง น้อยบ้าง เช่น บนเส้นไท่อินปอดจะมีอยู่ 11 จุด บนเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่จะ มีอยู่ 20 จุด แต่ละจุดก็จะมีชื่อเรียกของตัวเองทุกจุดชื่อของจุดจะแตกต่าง กันออกไป และทุกชื่อก็จะมีความหมายของตัวเอง ชื่อทั้งหมดเป็นชื่อในภาษาจีนกลาง เช่นจุดที่บริเวณด้านข้าง ปลายนิ้วโป้งของเส้นไท่อินปอด มี ชื่อเรียกว่า จุดเซ่าซาง (Shao Shang) หรือจุดแรกของเส้นหยางหมิงลำไส้ใหญ่ ที่ปลายนิ้วชี้ด้านข้างมีชื่อว่าจุดซางหยาง (Shang Yang) สำหรับคนต่างชาติการจะไปจำชื่อจุด ฝังเข็มนับร้อยจุดเป็นชื่อจีนกลางเป็นเรื่องยาก ทางองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดรหัสขึ้นมาแทนชื่อจุดเหล่านั้น เช่นจุดเซ่าซางมีรหัสเป็น LU-11 จุดซางหยางมีรหัสเป็น LI-1 เป็นต้น "การเตรีมตัวก่อนการรักษา" 1.สวมใส่เสื้อผ้าที่แยกเสื้อส่วนบน กับกางเกงหรือกระโปรงส่วนล่าง เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม 2.หากฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องรวบผมขึ้นให้เรียบร้อย เพราะการฝังเข็มบริเวณต้นคอ ต้องใช้ความแม่นยำให้การฝังเป็นอย่างมาก 3.ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเครียด เพราะความเครียดจะทำให้โลหิตหมุนเวียนไม่ดี 4.ชำระร่างกายให้สะอ. กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การฝังเข็มและเมแทบอลิซึม

การฝังเข็มและเมแทบอลิซึม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การฝังเข็มและเมแทบอลิซึม

การฝังเข็ม มี 1 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมแทบอลิซึม มี 152 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (1 + 152)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การฝังเข็มและเมแทบอลิซึม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: