ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี
การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กำแพงเบอร์ลินสหรัฐสงครามโลกครั้งที่สองสงครามเย็นฮัมบวร์คฮันโนเฟอร์ประชาธิปไตยประเทศฝรั่งเศสประเทศอินเดียประเทศเยอรมนีตะวันออกประเทศเยอรมนีตะวันตกแผนมาร์แชลล์เบอร์ลินเอาโทบาน
กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลิน ภาพถ่ายจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตก เมื่อปี พ.ศ. 2529 กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall; Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงสงครามเย็น มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันตก กับเยอรมนีตะวันออกที่โอบอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนถูกทลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ในเยอรมนีตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม มันถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "แนวป้องกันการต่อต้านฟาสซิตส์" แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 137 ถึง 206 คน.
การปิดกั้นเบอร์ลินและกำแพงเบอร์ลิน · กำแพงเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี ·
สหรัฐ
หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).
การปิดกั้นเบอร์ลินและสหรัฐ · ประเทศเยอรมนีและสหรัฐ ·
สงครามโลกครั้งที่สอง
งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.
การปิดกั้นเบอร์ลินและสงครามโลกครั้งที่สอง · ประเทศเยอรมนีและสงครามโลกครั้งที่สอง ·
สงครามเย็น
กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..
การปิดกั้นเบอร์ลินและสงครามเย็น · ประเทศเยอรมนีและสงครามเย็น ·
ฮัมบวร์ค
ัมบวร์ค (Hamburg) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเยอรมนี รองลงมาจาก เบอร์ลิน และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 8 ของยุโรป โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองฮัมบวร์คมากกว่า 1.8 ล้านคน ในขณะที่รวมปริมณฑลรอบ ๆ ไปด้วยแล้วจะทำให้ นครฮัมบวร์คมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน ท่าเรือฮัมบวร์คเป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งนับเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรป และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก พื้นที่ท่าเรือส่วนใหญ่เป็นบริเวณปลอดภาษี ฮัมบวร์ค ถือเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญและถือเป็นหนึ่งใน เมืองที่รวยที่สุดในยุโรปและเป็นเขตเมือง อุตสาหกรรมที่แห่งหนึ่งที่สำคัญของ เยอรมันมีบริษัท ห้างร้านที่สำคัญ ๆ ของเยอรมนี อยู่ที่เมืองนี้ และที่สะคัญ ฮัมบวร์คได้รับการศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญมานานหลายศตวรรษและเป็นที่ตั้งของธนาคารที่เก่าแก่ในประเทศเยอรมันคือ ธนาคารแบร์มเบริก ธนาคารนองจากนนี้ ฮัมบวร์คยังเป็น เมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจากการจัดอันดับโดยได้อันดับที่ ที่ 17 ของโลกในปี 2555 และในปี 2553 ก็ได้อันดับที่ 10 ชื่ออย่างเป็นทางการของฮัมบวร์คคือ นครอิสระและฮันเซียติกแห่งฮัมบวร์ค (เยอรมัน: Freie und Hansestadt Hamburg) คำว่าฮันเซียติกนั้นหมายถึงการเป็นสมาชิกสันนิบาตฮันเซียติกของฮัมบวร์คตั้งแต่ยุคกลาง และบ่งบอกว่าฮัมบวร์คมีฐานะเป็นนครรัฐ ถือเป็น 1 ใน 16 รัฐสหพันธ์ของเยอรมนี ฮัมบวร์คอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นั้นอยู่ระหว่างสแกนดิเนเวียกับพื้นทวีปยุโรป ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ปัจจุบันฮัมบวร์คเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ และศูนย์กลางวัฒนธรรมของเยอรมนีทางภาคเหนือ.
การปิดกั้นเบอร์ลินและฮัมบวร์ค · ประเทศเยอรมนีและฮัมบวร์ค ·
ฮันโนเฟอร์
ันโนเฟอร์ (Hannover) เป็นเมืองหลวงของรัฐนีเดอร์ซัคเซินในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,772 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) เคยถูกปกครองโดยเป็นรัฐร่วมประมุขของราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ โดยดยุกแห่งดัชชีเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ต่อมาหลังจากสงครามนโปเลียน ได้ตั้งเป็นราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ ปัจจุบัน ฮันโนเฟอร์เป็นศูนย์กลางในการจัดงานแสดงสินค้าและการประชุม เป็นเจ้าภาพในการจัดงานแสดงนิทรรศการนานาชาติหรือเอ็กซ์โป 2000 และจัดงาน CeBIT กับ Hanover Fair เป็นประจำทุกปี ฮันโนเฟอร์เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006.
การปิดกั้นเบอร์ลินและฮันโนเฟอร์ · ประเทศเยอรมนีและฮันโนเฟอร์ ·
ประชาธิปไตย
รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.
การปิดกั้นเบอร์ลินและประชาธิปไตย · ประชาธิปไตยและประเทศเยอรมนี ·
ประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.
การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศฝรั่งเศส · ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี ·
ประเทศอินเดีย
อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.
การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและประเทศเยอรมนี ·
ประเทศเยอรมนีตะวันออก
อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.
การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีตะวันออก · ประเทศเยอรมนีและประเทศเยอรมนีตะวันออก ·
ประเทศเยอรมนีตะวันตก
ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..
การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีตะวันตก · ประเทศเยอรมนีและประเทศเยอรมนีตะวันตก ·
แผนมาร์แชลล์
แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) หรือชื่อทางการคือ แผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme: ERP) เกิดขึ้นเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ของนายพล จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ (George Catlett Marshall) เป็นโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแก่ยุโรปตะวันตก เพื่อป้องกันการพังทลายทางเศรษฐกิจ และเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐชาติของยุโรปตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยในแผนมาร์แชลล์นี้ยุโรปได้รับมากกว่า 12 พันล้านดอลลาร์ทั้งในรูปเงินกู้และเงินช่วยเหลือตลอดระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1948-1951 แผนมาร์แชลล์อย่างเป็นทางการโปรแกรมกู้ยุโรปที่เรียกว่าช่วยมาร์แชลล์เป็นโปรแกรมช่วยสหรัฐมุ่งเป้าไปที่ยุโรปซึ่งเปิดตัวในปี 1947 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองโดยสหรัฐอเมริกาเลขานุการของรัฐโปรแกรมจอร์จมาร์แชลล์ได้ริเริ่มขึ้นหลังจากที่มาร์แชลล์ได้รับเมื่อสัปดาห์ที่หก การเดินทางไปทั่วยุโรปซึ่งเขาก็เชื่อว่าทวีปสงครามฉีกขาดไม่สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและสั่งขนาดใหญ่โปรแกรมการช่วยเหลือสหรัฐ แผนเปิดตัวโดยมาร์แชลล์ในการพูดที่ Harvard University 5 มิถุนายน 1947 แต่ทว่าทางสหภาพโซเวียตได้มองแผนมาร์แชลล์ว่า เป็นแผนอุบายอันแยบยลของสหรัฐอเมริกาที่จะดึงประเทศอันเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยแทน จึงได้บังคับเหล่าประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกไม่ให้ยอมรับแผนมาร์แชลและเริ่มดำเนินแผนโมโลตอฟคือการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจตามแบบคอมมิวนิสต์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น.
การปิดกั้นเบอร์ลินและแผนมาร์แชลล์ · ประเทศเยอรมนีและแผนมาร์แชลล์ ·
เบอร์ลิน
อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.
การปิดกั้นเบอร์ลินและเบอร์ลิน · ประเทศเยอรมนีและเบอร์ลิน ·
เอาโทบาน
อาโทบานสาย 3 ตัดกับสาย 5 บริเวณแฟรงเฟิร์ต เอาโทบาน (Autobahn ออกเสียง: เอาโทบาน) เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันหมายถึง ทางด่วนระหว่างเมือง ซึ่งเป็นทางคู่และมีทางยกระดับข้ามทางแยก ศัพท์คำนี้ใช้เรียกทางด่วนในเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ แต่เมื่อกล่าวโดยทั่วไปมักหมายถึงทางหลวงในเยอรมนี เอาโทบานในเยอรมนีเป็นทางด่วนที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าผ่านทาง ส่วนในออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์มีด่านเก็บค่าผ่านทาง ในเยอรมนีและออสเตรีย กำหนดให้พาหนะที่ใช้งานเอาโทบานได้ จะต้องเป็นพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กม/ชม (37 mph) ส่วนในสวิตเซอร์แลนด์ต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 80 กม/ชม (50 mph) ส่วนขีดจำกัดความเร็วนั้น กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 130 กม/ชม (80 mph) สำหรับออสเตรีย, ไม่เกิน 120 กม/ชม (75 mph) สำหรับสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนในเยอรมนีนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีจำกัดความเร็วสูงสุด แต่มีการกำหนดความเร็วแนะนำที่ 130 กม/ชม (80 mph) ยกเว้นในบางรัฐเช่น เบรเมิน ที่เริ่มจำกัดความเร็วเพื่อควบคุมระดับเสียงและลดมลภาวะ เอาโทบานในสมัยนาซีเยอรมนี ค.ศ. 1939 ทางหลวงในลักษณะเดียวกับเอาโทบานนี้ เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรกในปี..
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี
การเปรียบเทียบระหว่าง การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี
การปิดกั้นเบอร์ลิน มี 62 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประเทศเยอรมนี มี 231 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 4.78% = 14 / (62 + 231)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การปิดกั้นเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: