โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปะทุแบบพลิเนียน

ดัชนี การปะทุแบบพลิเนียน

แผนภาพการปะทุแบบพลิเนียน(1) เถ้าปะทุ(2) ปล่องหินหนืด(3) เถ้าตก(4) ชั้นทับถมของหินหลอมและเถ้า(5) ชั้นหิน(6) โพรงหินหนืด การปะทุแบบพลิเนียน (Plinian eruption) คือ รูปแบบการปะทุของภูเขาไฟที่มีต้นแบบจากการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสเมื่อปี ค.ศ. 79 ซึ่งทำลายเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมของจักรวรรดิโรมัน คำว่าพลิเนียนถูกตั้งตามชื่อพลินีผู้เยาว์ ผู้บรรยายลักษณะการปะทุของภูเขาไฟวิสุเวียสไว้ในจดหมายฉบับหนึ่ง และผู้ซึ่งลุงของเขา พลินีผู้อาวุโส เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ การปะทุแบบพลิเนียนมีลักษณะเด่น ได้แก่ การเกิดลำก๊าซและเถ้าภูเขาไฟตั้งสูงขึ้นไปในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นบรรยากาศชั้นที่สองของโลก การขับหินพัมมิสออกจากปากปล่องในปริมาณมาก และการปะทุเป่าก๊าซออกมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เมื่อเทียบระดับความรุนแรงตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index; VEI) การปะทุแบบพลิเนียนจะมีค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 4-6 นอกจากนี้ยังมีการกำหนดการปะทุแบบ "ซับพลิเนียน" (sub-Plinian) มีระดับความรุนแรง 3 หรือ 4 และแบบ "อัลตราพลิเนียน" (ultra-Plinian) มีระดับความรุนแรง 6-8 การปะทุแบบสั้นอาจจบได้ภายในวันเดียว การปะทุแบบยาวอาจดำเนินตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายเดือน ซึ่งการปะทุแบบยาวจะเริ่มต้นด้วยการก่อตัวของเมฆเถ้าภูเขาไฟและบางครั้งก็เกิดการไหลไพโรคลาสติก หินหนืด (แมกมา) อาจถูกพ่นออกมาจากโพรงหินหนืดใต้ภูเขาไฟจนหมด ทำให้ยอดภูเขาไฟยุบตัวลงเกิดเป็นแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (caldera) ส่วนเถ้าละเอียดอาจตกลงมาทับถมกันเป็นบริเวณกว้าง และบ่อยครั้งที่การปะทุแบบพลิเนียนทำให้เกิดเสียงดังมาก เช่นจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียเมื่อปี..

28 ความสัมพันธ์: ช่องแคบซุนดาพ.ศ. 622พลินีผู้อาวุโสภูเขาไฟภูเขาไฟกรากะตัวภูเขาไฟลาไคภูเขาไฟวิสุเวียสภูเขาไฟตัมโบราภูเขาไฟปินาตูโบภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ยอดเขาซารืยเชฟรัฐบริติชโคลัมเบียรัฐวอชิงตันรัฐออริกอนรัฐอะแลสการัฐแคลิฟอร์เนียสถานีอวกาศนานาชาติสตราโทสเฟียร์จักรวรรดิโรมันจังหวัดฮกไกโดทะเลสาบโตบาทะเลอีเจียนดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟตากิตุสปอมเปอีแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดเฮอร์คิวเลเนียมเถ้าภูเขาไฟ

ช่องแคบซุนดา

องแคบซุนดา ช่องแคบซุนดา (Selat Sunda; Sunda Strait) เป็นช่องแคบระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และเป็นช่องแคบที่เชื่อมระหว่างทะเลชวากับมหาสมุทรอินเดีย ชื่อช่องแคบมาจากคำในภาษาอินโดนีเซีย “Pasundan” ที่แปลว่า “ชวาตะวันตก”.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและช่องแคบซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 622

ทธศักราช 622 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและพ.ศ. 622 · ดูเพิ่มเติม »

พลินีผู้อาวุโส

ลินีผู้อาวุโส (Pliny the Elder) หรือ กาอิอุส ปลีนิอุส แซกุนดุส (Gaivs Plinivs Secvndvs; ค.ศ. 23 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 79) เป็นนักธรรมชาติวิทยา นักประพันธ์ และแม่ทัพชาวโรมันในสมัยจักรวรรดิโรมันตอนต้น และเป็นพระสหายของจักรพรรดิแว็สปาซิอานุส พลินีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษา การเขียน และการสืบสวนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและภูมิศาสตร์ งานชิ้นสำคัญที่สุดที่เขียนคือสารานุกรมชื่อ ธรรมชาติวิทยา (Natvralis Historia) ที่กลายมาเป็นแบบอย่างในการเขียนงานประเภทนี้ต่อมา พลินีเป็นลุงของพลินีผู้เยาว์ (Pliny the Younger).

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและพลินีผู้อาวุโส · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟกรากะตัว

ูเขาไฟกรากาตัวระหว่างการปะทุในปี ค.ศ. 2008 การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่รอบเกาะกรากาตัว กรากาตัว (Krakatoa) หรือ กรากาเตา (Krakatau) เป็นชื่อภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวกัน การระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟลูกนี้ก่อให้เกิดความหายนะครั้งใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และเหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟกรากะตัว · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟลาไค

ูเขาไฟลาไค (Lakagígar) เป็นภูเขาไฟที่ปะทุตามรอยแยกที่ตั้งอยู่ระหว่างธารน้ำแข็งวาตนาเยอคูตล์และมีร์เดาเจียคุสต์ในพื้นที่รอยแยกที่แยกจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไม่ไกลจากหุบผาชันเอนเกียวและหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึงในเคิร์กยูแบยาร์กลุสทุสร์ในภาคใต้ของไอซ์แลนด์ ช่องของภูเขาไฟกว้างเพียงไม่กี่เมตรแต่อาจยาวได้หลายกิโลเมตร ลาไคเป็นชื่อของภูเขาธรรมดาที่ไม่ปะทุบนภูเขาแต่จะปะทุตามรอยแยกด้านข้างของมัน ภูเขาไฟลาไคเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูเขาไฟกริมสวอทน์และธอห์ดอร์ฮีร์นะ ภูเขาไฟลาไคและกริมสวอทน์ได้ปะทุอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลา 8 เดือนตั้งแต่มิถุนายน..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟลาไค · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟวิสุเวียส

right ภูเขาไฟวิสุเวียส (Mount Vesuvius) ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเนเปิลส์ เหนืออ่าวเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับเพียงแห่งเดียวในแผ่นดินใหญ่ยุโรป มีความสูง 1,281 เมตร ปากปล่องมีเส้นรอบวง 1,400 เมตร ลึก 216 เมตร การระเบิดครั้งที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม ปี พ.ศ. 622 (ค.ศ. 79) เถ้าถ่านได้ทับถมเมืองปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียมทั้งเมือง แต่การระเบิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) วิสุเวียส วิสุเวียส วิสุเวียส หมวดหมู่:แคว้นคัมปาเนีย.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟวิสุเวียส · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟตัมโบรา

ูเขาไฟตัมโบรา (Tambora; Tambora) ตั้งอยู่บนเกาะซัมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2850 เมตร ภูเขาไฟลูกนี้ได้เคยระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2358 ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 71,000 คน และส่งผลกระทบไปยังทั่วทุกมุมโลก และเป็นต้นเหตุของปีที่ไร้ฤดูร้อนในปี พ.ศ. 2358 ซึ่งเป็นปีที่อากาศในช่วงฤดูร้อนผิดจากปกติ ที่มีผลในการทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหารของยุโรปเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา นานสองปี.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟตัมโบรา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟปินาตูโบ

ูเขาไฟปินาตูโบ (Mount Pinatubo; Bundok Pinatubo) เป็นภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นที่มีพลังอยู่ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ บริเวณเทือกเขาซัมบาเลซ เหนือกรุงมะนิลา ถูกค้นพบโดยทหารสเปนครั้งการล่าอาณานิคมเมื่อพ.ศ. 2099 เป็นที่รู้จักจากการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟปินาตูโบ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์

ูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ หรือ เมานต์เซนต์เฮเลนส์ (Mount St.) เป็นภูเขาไฟมีพลังประเภทกรวยสลับชั้น ตั้งอยู่ในสกามาเนียเคาน์ตี รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิก ห่างจากเมืองซีแอตเทิลไปทางใต้ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองพอร์ตแลนด์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 80 กิโลเมตร ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ได้ชื่อจากนักการทูตชาวอังกฤษ ลอร์ดเซนต์เฮเลนส์ คู่หูของนักสำรวจ จอร์จ แวนคูเวอร์ ที่สำรวจพื้นที่ในบริเวณนั้นตั้งแต่ปลายคริสต์วรรษที่ 18 ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ในเทือกเขาคาสเคด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาไฟคาสเคด ส่วนหนึ่งของวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งมีภูเขาไฟมีพลังตั้งอยู่กว่า 160 ลูก ภูเขาไฟลูกนี้เป็นที่รู้จักกันดีจากการระเบิดและการพ่นเถ้าถ่านออกมา ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์โด่งดังมากที่สุดจากการระเบิดครั้งรุนแรง ในวันที่ 18 พฤษภาคม..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาซารืยเชฟ

อดเขาซารืยเชฟ (Sarychev Peak; вулкан Сарычева) หรือ ภูเขาฟุโย (芙蓉山, Fuyō-san, Fuyō-yama, Fuyo-zan, Huyō San, 松輪富士 Matsuwa-fuji) เป็นภูเขาไฟชนิดประกอบที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของเกาะมาตูอาในหมู่เกาะคูริล ประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและยอดเขาซารืยเชฟ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริติชโคลัมเบีย

รัฐบริติชโคลัมเบีย (ภาษาอังกฤษ: British Columbia; ภาษาฝรั่งเศส: la Colombie-Britannique) คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ รัฐบริติชโคลัมเบีย มีเมืองหลวงชื่อว่า "วิคตอเรีย" มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือเมือง "แวนคูเวอร์" ซึ่งเมืองแวนคูเวอร์นี้ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเท.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและรัฐบริติชโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวอชิงตัน

รัฐวอชิงตัน (Washington) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในวอชิงตันมีธุรกิจชั้นนำของโลกหลายบริษัทได้แก่ โบอิง (ปัจจุบันย้ายไปที่ รัฐอิลลินอยส์) ไมโครซอฟท์ แอมะซอน.คอม นินเทนโดอเมริกา และเศรษฐกิจอื่นได้แก่ การท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การทำเหมืองแร่ ป่าไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ ถึงแม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน วอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐฯ อยู่ทางตะวันออกของประเทศ และไม่ได้อยู่ในรัฐวอชิงตัน ในภาพยนตร์เรื่อง Sleepless in seattle ก็สร้างในเมือง ซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและรัฐวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐออริกอน

รัฐออริกอน (Oregon) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ ภูมิประเทศในรัฐมีความหลากหลายตั้งแต่ ป่า และ ชายฝั่งทะเล รวมถึงที่ราบลุ่มและทะเลทราย เมืองหลวงของรัฐคือ เซเลม และเมืองสำคัญในรัฐได้แก่ พอร์ตแลนด์ ยูจีน และ ออริกอนซิตี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยรัฐพอร์ตแลนด์ หรือ Portland State University มหาวิทยาลัยออริกอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ พอร์ตแลนด์ เทรลเบรเซอรส์ ในปี 2551 ออริกอนมีประชากรประมาณ 3,747,455 คน ชื่อรัฐออริกอน ออกเสียงตามคนในรัฐออริกอนว่า /ˈɔr.ə.g(ə)n/ (ออริกัน) โดยชื่อมักจะถูกออกเสียงเป็น /ˈɔr.ə.ˌgɑn/ (ออริกอน) โดยในรัฐจะเห็นชื่อรัฐเขียนเป็น "Orygun" เพื่อบอกให้นักท่องเที่ยวรู้คำอ่านของชื่อรัฐอย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและรัฐออริกอน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอะแลสกา

รัฐอะแลสกา (State of Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ".

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและรัฐอะแลสกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอวกาศนานาชาติ

นีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS, Междунаро́дная косми́ческая ста́нция, МКС, Station spatiale internationale, SSI) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและสถานีอวกาศนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สตราโทสเฟียร์

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่สอง อยู่ระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และมีโซสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 10 กิโลเมตร จนถึง 50 กิโลเมตร เครื่องบินๆในชั้นนี้ มีอากาศเบาบาง เมฆน้อยมาก เนื่องจากปริมาณไอน้ำน้อย อากาศไม่แปรปรวน มีแก๊สโอโซนมาก ส หมวดหมู่:อุตุนิยมวิทยา.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและสตราโทสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮกไกโด

กไกโด (ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์เซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและจังหวัดฮกไกโด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (Lake Toba Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์ภูเขาไฟ มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ ถึง เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์ภูเขาไฟปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อ Genetic inheritance ของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมGathorne-Hardy, F. J., and Harcourt-Smith, W. E. H.,, Journal of Human Evolution 45 (2003) 227–230.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและทะเลสาบโตบา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและทะเลอีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

วามสัมพันธ์กันระหว่างดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและปริมาณตกกระทบ ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index หรือ VEI) เป็นมาตราสัมพัทธ์ของการระเบิดของภูเขาไฟ ถูกคิดค้นขึ้นโดยคริสโตเฟอร์ จี นิวฮอลล์แห่งหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและสตีเฟน เซลฟ์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อปี 1982 ปริมาณของผลผลิต ความสูงของเมฆที่เกิดจากการปะทุ และการสังเกตการณ์เชิงคุณภาพ ใช้เพื่อกำหนดค่าของการระเบิด มาตรานี้เป็นมาตราปลายเปิดโดยมีขนาดของกิจกรรมภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ 8 ซึ่งค่าเริ่มจาก 0 สำหรับภูเขาไฟที่ไม่ได้ระเบิด โดยนิยามว่าน้อยกว่า 10,000 ม.3 ของเทบพราที่พุ่งออกมา และ 8 จะนิยามถึงการระเบิดครั้งมหึมา ซึ่งสามารถพ่นเทบพราออกมาได้ 1.0 × 1012 ม.3 และมีเมฆสูงในแนวตั้งกว่า 20 กิโลเมตร มาตราส่วนนี้เป็นลอการิทึมกับแต่ละช่วงเวลาในมาตราที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในเกณฑ์การพุ่งที่สังเกตได้ ยกเว้น VEI 0, 1 และ 2.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ตากิตุส

ปูบลิอุส (หรือ กาอิอุส) กอร์เนลิอุส ตากิตุส (Pvblivs (Gaivs) Cornelivs Tacitvs; ประมาณ ค.ศ. 56 - ค.ศ. 117) เป็นชาวโรมันและนักประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันผู้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยโรมัน อาทิ เหตุการณ์ระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียส ตากิตุสเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ของโรมที่โด่งดัง โดยบันทึกต่าง ๆ ของเขาเป็นภาษาละติน หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน หมวดหมู่:นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและตากิตุส · ดูเพิ่มเติม »

ปอมเปอี

แผนที่ของภูเขาไฟวิสุเวียส นครปอมเปอี และเมืองใกล้เคียง ขณะวิสุเวียสระเบิด วันนั้น ทิศทางลมพัดเถ้าถ่านลอยมาที่ปอมเปอี ผู้เสียชีวิตในปอมเปอี ร่างกายถูกความร้อนหลอมจนในเวลาต่อมาเกิดเป็นโพรงขึ้นภายในซากชั้นธรณี ในการขุดค้นทางโบราณคดีจึงต้องหาโพรงดังกล่าว และเทปูนหล่อปลาสเตอร์เข้าไป เพื่อทำให้เห็นเป็นร่างผู้เสียชีวิตในอิริยาบทขณะเกิดวิบัติภัยจากธรรมชาติครั้งนั้น ภาพวาดหายนะของปอมเปอีโดย Karl Brullov วาดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1830-1833 ปอมเปอี (Pompeii) เป็นนครโรมันโบราณที่ถูกฝังบางส่วนใกล้กับเมืองเนเปิลส์สมัยใหม่ ในแคว้นคัมปาเนีย ประเทศอิตาลี ปอมเปอีถูกทำลายบางส่วนและถูกฝังใต้เถ้าและหินภูเขาไฟหนา 4 ถึง 6 เมตร จากเหตุภูเขาไฟวิสุเวียสปะทุใน..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและปอมเปอี · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด

แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดถ่ายจากดาวเทียม แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (Caldera) เป็นแอ่งภูเขาไฟที่มีขอบแอ่งเอียงชันลาดลงสู่ก้นแอ่ง อาจมีหรือไม่มีกรวยภูเขาไฟขนาดต่างๆ โผล่อยู่ที่ก้นแอ่งก็ได้ แอ่งภูเขาไฟแบบนี้เกิดขึ้นจากการระเบิดอย่างรุนแรงและฉับพลันในส่วนลึกลงไปของภูเขาไฟ โดยมีพลังระเบิดมากพอที่จะผลักดันส่วนบนให้กระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย เกิดเป็นรอยรูปกระจาดขึ้น หลังจากนั้น การระเบิดย่อยๆ หรือการหลั่งไหลของลาวาขึ้นสู่ผิวพื้นก้นกระจาด ก็อาจทำให้เกิดกรวดภูเขาไฟย่อยๆ หรือใหญ่ๆ ขึ้นท่ามกลางแอ่งก้นกระจาดอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างภูมิประเทศแบบนี้เห็นได้ชัดที่ หมู่เกาะกรากะตัว ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟตาอาล ใกล้เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และที่ภูเขาไฟวิสุเวียส ในประเทศอิตาลี ในประเทศไทยนั้น มีตัวอย่างที่เข้าใจว่าเป็นแอ่งภูเขาไฟเล็กๆ แบบนี้ที่เขาหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย อันเป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์คิวเลเนียม

อร์คิวเลเนียม (Herculaneum) คือเมืองโรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าแอร์โกลาโนในปัจจุบันของประเทศอิตาลี “เฮอร์คิวเลเนียม” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและเฮอร์คิวเลเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เถ้าภูเขาไฟ

้าภูเขาไฟ (Volcanic ash) คือหินภูเขาไฟขนาดเล็กซึ่งถูกบดเป็นขนาดเล็กเนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟUnited States Geological Survey.

ใหม่!!: การปะทุแบบพลิเนียนและเถ้าภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Plinian eruptionSub-PlinianUltra-Plinian

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »