ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปลดปล่อยกรุงปารีสและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
การปลดปล่อยกรุงปารีสและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาร์ล เดอ โกลฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่สองดรีทริซ ฟอน โคลทิซปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
ชาร์ล เดอ โกล
ร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ถึง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ถูกเรียกตัวไปจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เขาได้เป็นแรงบันดาลใจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ถึงปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) แนวคิดทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักในนามของลัทธินิยมโกล และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองฝรั่งเศสในยุคต่อม.
การปลดปล่อยกรุงปารีสและชาร์ล เดอ โกล · ชาร์ล เดอ โกลและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) ·
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..
การปลดปล่อยกรุงปารีสและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) ·
สงครามโลกครั้งที่สอง
งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.
การปลดปล่อยกรุงปารีสและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) ·
ดรีทริซ ฟอน โคลทิซ
รีทริซ ฮูโก้ แฮร์มัน ฟอน โคลทิซ (9 พฤศจิกายน 1894-4 พฤศจิกายน 1966) เป็นนายทหารมืออาชีพที่รับใช้กองทัพจักรวรรดิเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและกองทัพเวร์มัคในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.
การปลดปล่อยกรุงปารีสและดรีทริซ ฟอน โคลทิซ · ดรีทริซ ฟอน โคลทิซและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) ·
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..
การปลดปล่อยกรุงปารีสและปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด · ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การปลดปล่อยกรุงปารีสและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปลดปล่อยกรุงปารีสและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
การเปรียบเทียบระหว่าง การปลดปล่อยกรุงปารีสและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
การปลดปล่อยกรุงปารีส มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) มี 92 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 4.95% = 5 / (9 + 92)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การปลดปล่อยกรุงปารีสและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: