โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและชูการ์ไกลเดอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและชูการ์ไกลเดอร์

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง vs. ชูการ์ไกลเดอร์

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง. ูการ์ไกลเดอร์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า จิงโจ้ร่อน (Sugar glider, Australia sugar glider) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซัม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัยจนกว่าจะโตได้ที่ ชูการ์ไกลเดอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์คนละอันดับกัน เนื่องจากกระรอกบินเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ ชูการ์ไกลเดอร์เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง อายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้ว ชูการ์ไกลเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะเพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ขนมีลักษณะนุ่มมาก บริเวณข้างลำตัวของมันจะมีพังผืด ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน เหมือนเช่นกระรอกบิน หรือบ่าง เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลัก คือ แมลง ส่วนผลไม้จะถือเป็นอาหารรอง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวจากจมูกถึงปลายหางจะอยู่ที่ 11 นิ้ว แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลียทางซีกตะวันออก สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย ๆ (ดูในตาราง) ด้วยความน่ารัก ประกอบกับเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก และมีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว ทำให้ชูการ์ไกลเดอร์นิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและชูการ์ไกลเดอร์

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและชูการ์ไกลเดอร์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมผลไม้ความน่ารักประเทศออสเตรเลียแมลง

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และชูการ์ไกลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ · ชูการ์ไกลเดอร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ชูการ์ไกลเดอร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

ผลไม้

แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและผลไม้ · ชูการ์ไกลเดอร์และผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ความน่ารัก

การเปลี่ยนสัดส่วนต่าง ๆ ของศีรษะและใบหน้า (โดยเฉพาะขนาดขากรรไกรบนโดยเปรียบเทียบกับขากรรไกรล่าง) ตามอายุ "มนุษย์ชอบใจสัตว์ที่มีลักษณะคล้าย ๆ เด็ก คือมีตาใหญ่ กะโหลกศีรษะที่ป่องออก คางที่ไม่ยื่นออก (คอลัมน์ซ้าย) ส่วนสัตว์ที่มีตาเล็ก ปากจมูกยาว (คอลัมน์ขวา) ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเช่นเดียวกัน" --ค็อนแรด ลอเร็นซ์ ความน่ารัก (cuteness) เป็นคำบ่งความรู้สึกที่ใช้แสดงความน่าพึงใจ/ความน่าดูน่าชมที่มักจะเกี่ยวข้องกับความเยาว์วัยและรูปร่างหน้าตา และยังเป็นคำบัญญัติทางวิทยาศาสตร์และแบบวิเคราะห์ในพฤติกรรมวิทยาอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้คำนี้เป็นคนแรก (ชาวออสเตรียชื่อว่าค็อนแรด ลอเร็นซ์) ได้เสนอความคิดในเรื่องแผนภาพทารก (baby schema, Kindchenschema) ซึ่งเป็นลักษณะทางใบหน้าและร่างกาย ที่ทำให้สัตว์หนึ่ง ๆ ปรากฏว่า "น่ารัก" และกระตุ้นให้ผู้อื่นช่วยดูแลรักษาสัตว์นั้น ๆ คำนี้สามารถใช้ในการชมบุคคลและสิ่งของที่น่าดูน่าชมหรือมีเสน่ห์ อีกอย่างหนึ่ง ความน่ารัก เป็นความสวยงามประเภทหนึ่งที่มีลักษณะละเอียดอ่อนและดึงดูดใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ความน่ารักมักจะเกิดจากส่วนประกอบของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายทารกหรือมีขนาดใกล้เคียงกับทารก และมักจะมีส่วนประกอบของความขี้เล่น ความเปราะบาง และการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้รวมอยู่ด้วย เด็กเล็ก ๆ และสัตว์ในวัยเยาว์มักจะมีการกล่าวถึงในลักษณะความน่ารัก ในขณะเดียวกันสัตว์ใหญ่บางประเภทเช่นแพนด้ายักษ์ ก็ยังมีการกล่าวถึงความน่ารัก เนื่องจากลักษณะที่คล้ายคลึงกับทารก และมีสัดส่วนหัวขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย เทียบกับสัตว์ชนิดอื่น ในประเทศญี่ปุ่น ความน่ารักได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าในสื่อต่าง ๆ เสื้อผ้า อาหาร ของเล่น หรือของใช้ส่วนตัว มักจะมีภาพแสดงความน่ารักออกมา หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐบาล การทหารก็ยังมีภาพแสดงความน่ารักออกมา ในขณะที่ไม่มีใช้กันในประเทศอื่นโดยถือว่าเป็นความไม่เหมาะสม ความน่ารักในปัจจุบันได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดของบริษัทขายของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยได้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญ ตัวอย่างเช่นในสินค้า เฮลโล คิตตี้ หรือ โปเกมอน หรือแม้แต่ในวัฒนธรรมตะวันตก เช่น หมีพูห์ หรือ มิกกี้เม.

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและความน่ารัก · ความน่ารักและชูการ์ไกลเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและประเทศออสเตรเลีย · ชูการ์ไกลเดอร์และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและแมลง · ชูการ์ไกลเดอร์และแมลง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและชูการ์ไกลเดอร์

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง มี 181 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชูการ์ไกลเดอร์ มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 3.38% = 7 / (181 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงและชูการ์ไกลเดอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »