โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การประลัย

ดัชนี การประลัย

การประลัย (อังกฤษ: Annihilation) มีนิยามว่า"การทำลายทั้งหมด"หรือ"การลบล้างเสร็จสมบูรณ์"ของวัตถุ มีรากศัพท์ในภาษาละตินว่า nihil (ไม่มี) แปลตามตัวอักษรเป็น "เพื่อให้กลายเป็นไม่มี" แผนภาพ Feynman แสดงการประลัยซึ่งกันและกันของคู่สถานะพันธะอิเล็กตรอนโพซิตรอนออกเป็นสองโฟตอน สถานะพันธะนี้เป็นที่รู้จักกันมากกว่าปกติที่เป็น โพสิตรอนเนียม (positronium) ในฟิสิกส์ เป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชนกันของอนุภาคย่อยของอะตอม กับ ปฏิยานุภาค เนื่องจากพลังงานและโมเมนตัมจะต้องมีการอนุรักษ์ จึงเป็นอนุภาคที่ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นจริงจนกลายเป็นความไม่มีอะไร แต่ค่อนข้างจะเป็นอนุภาคใหม่ ปฏิยานุภาคมีเลขควอนตัมที่ตรงกันข้ามเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมจากอนุภาค ดังนั้นผลบวกของเลขควอนตัมทั้งหมดของคู่อนุภาคต้นฉบับจึงเป็นศูนย์ ดังนั้นชุดของอนุภาคใด ๆ อาจมีการผลิตที่มีเลขควอนตัมรวมทั้งหมดยังมีค่าเป็นศูนย์ตราบใดที่ยังมีการอนุรักษ์พลังงานและการอนุรักษ์โมเมนตัมตามที่เชื่อกัน เมื่ออนุภาคและแอนติอนุภาคของมันชนกัน พลังงานของพวกมันจะถูกแปลงเป็นอนุภาคพาหะแรงเช่น กลูออน, อนุภาคพาหะแรง W/Z, หรือโฟตอน อนุภาคเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงในภายหลังเป็นอนุภาคอื่น ๆ ต่อไป ในระหว่างการประลัยพลังงานต่ำ, การผลิตโฟตอนมีความเป็นไปได้มากเนื่องจากอนุภาคเหล่านี้ไม่มีมวล อย่างไรก็ตามอนุภาคพลังงานสูงที่เป็นตัวเข้าปะทะเพื่อสร้างการประลัยที่หลากหลายของอนุภาคหนักที่แปลกใหม่จะถูกสร้างขึ้น.

13 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์พาหะแรงกลูออนการผลิตคู่รังสีแกมมาอิเล็กตรอนอนุภาคย่อยของอะตอมทฤษฎีสนามควอนตัมความสมมูลมวล–พลังงานปฏิยานุภาคแฟร์มีแล็บโฟตอนโพซิตรอน

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: การประลัยและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พาหะแรง

ในฟิสิกส์ของอนุภาค พาหะแรง (force carrier) หรือพาหะของแรงคืออนุภาคที่สร้างแรงต่าง ๆ ระหว่างอนุภาคใด ๆ อนุภาคเหล่านี้เป็นกลุ่มก้อนของพลังงาน (ควอนตัม) ของชนิดที่เฉพาะของสนามฟิสิกส์ ทุก ๆ สายพันธ์ของอนุภาคมูลฐานมีสนามเฉพาะตัวหนึ่งชนิด ยกตัวอย่างเช่น มีหนึ่งสนามอิเล็กตรอนที่มีควอนตัมเป็นกลุ่มอิเล็กตรอน และหนึ่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีควอนตัมเป็นกลุ่มโฟตอน อนุภาคที่เป็นพาหะของแรงจะเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยระหว่างแรงพื้นฐานทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, อันตรกิริยาอย่างเข้ม และ อันตรกิริยาอย่างอ่อน อนุภาคนั้นถูกเรียกว่า เกจโบซอน.

ใหม่!!: การประลัยและพาหะแรง · ดูเพิ่มเติม »

กลูออน

กลูออน (Gluon) เป็นอนุภาคมูลฐานที่ทำหน้าที่เป็นอนุภาคแลกเปลี่ยน (หรือเกจโบซอน) ของอันตรกิริยาอย่างเข้มระหว่างควาร์ก คล้ายกับการแลกเปลี่ยนโฟตอนในแรงแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างอนุภาคที่มีประจุ 2 ตัว เนื่องจากควาร์กนั้นประกอบกับขึ้นเป็นแบริออน และมีอันตรกิริยาอย่างเข้มเกิดขึ้นระหว่างแบริออนเหล่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า แรงสี (color force) เป็นแหล่งกำเนิดของอันตรกิริยาอย่างเข้ม หรืออาจกล่าวว่าอันตรกิริยาอย่างเข้มเป็นเหมือนกับแรงสี ที่ครอบคลุมอนุภาคอื่นๆ มากกว่าแบริออน ตัวอย่างเช่น เมื่อโปรตอนและนิวตรอนดึงดูดกันและกันในนิวเคลียส เป็นต้น กล่าวในเชิงเทคนิค กลูออนก็คือเกจโบซอนแบบเวกเตอร์ที่เป็นตัวกลางของอันตรกิริยาอย่างเข้มของควาร์กในควอนตัมโครโมไดนามิกส์ (QCD) ซึ่งแตกต่างกับโฟตอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้าของควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์ (QED) ตัวกลูออนเองนั้นมีประจุสี (color charge) ดังนั้นจึงมีส่วนอยู่ในอันตรกิริยาอย่างเข้มเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ทำให้การวิเคราะห์ QCD ทำได้ยากกว่า QED เป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: การประลัยและกลูออน · ดูเพิ่มเติม »

การผลิตคู่

การผลิตคู่ (Pair production) คือ การสร้างอนุภาคมูลฐานและปฏิยานุภาคของมันเองให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น อิเล็กตรอนและปฏิยานุภาคของมันเอง คือ โพซิตรอน, มิวออน และ แอนติมิวออน หรือ เทา (tau) และ แอนติเทา เป็นต้น มักจะเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคโฟตอนมีปฏิสัมพันธ์กับนิวเคลียส แต่ก็สามารถจะเป็นอนุภาคโบซอน ที่เป็นกลางอื่นใด, ในการมีปฏิสัมพันธ์กับนิวเคลียส, กับอนุภาคโบซอนตัวอื่น ๆ หรือกับตัวของมันเองก็ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้เกิดการสร้างคู่อนุภาค - ที่มีค่าพลังงานของมวลนิ่งโดยรวมที่มีค่าอย่างน้อยที่สุดของทั้งสองอนุภาคนั้น - และที่ซึ่งจะเกิดสถานการณ์ที่จะช่วยทำให้ทั้งพลังงานและโมเมนตัมเกิดการอนุรักษ.

ใหม่!!: การประลัยและการผลิตคู่ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีแกมมา

รังสีแกมมา (Gamma radiation หรือ Gamma ray) มีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรกรีกว่า γ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสีเอกซ์ (X-ray) โดยมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10-13 ถึง 10-17 หรือคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-13 นั่นเอง รังสีแกมมามีความถี่สูงมาก ดังนั้นมันจึงประกอบด้วยโฟตอนพลังงานสูงหลายตัว รังสีแกมมาเป็นการแผ่รังสีแบบ ionization มันจึงมีอันตรายต่อชีวภาพ รังสีแกมมาถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงที่สุดในบรรดาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เหลือทั้งหมด การสลายให้รังสีแกมมาเป็นการสลายของนิวเคลียสของอะตอมในขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะจากสถานะพลังงานสูงไปเป็นสถานะที่ต่ำกว่า แต่ก็อาจเกิดจากกระบวนการอื่น.

ใหม่!!: การประลัยและรังสีแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กตรอน

page.

ใหม่!!: การประลัยและอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาคย่อยของอะตอม

อนุภาคย่อยของอะตอม (subatomic particles) ในวิทยาศาสตร์ด้านกายภาพ เป็นอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมมาก มีสองชนิด ชนิดแรกได้แก่ อนุภาคมูลฐาน ซึ่งตามทฤษฎีปัจจุบันไม่ได้เกิดจากอนุภาคอื่น และชนิดที่สองได้แก่อนุภาคผสม ฟิสิกส์ของอนุภาคและฟิสิกส์ของนิวเคลียสจะศึกษาอนุภาคเหล่านี้และวิธีการที่พวกมันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ในฟิสิกส์ของอนุภาค แนวคิดของอนุภาคเป็นหนึ่งในแนวคิดหลากหลายที่สืบทอดมาจากฟิสิกส์ที่เป็นรูปแบบดั้งเดิม แต่มันมียังคงสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่ทันสมัยที่ว่า ที่ระดับควอนตัม สสารและพลังงานประพฤติตัวแตกต่างอย่างมากจากสิ่งที่พบจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่จะนำเราไปสู่สิ่งที่คาดหวังไว้ แนวคิดของอนุภาคประสพกับการทบทวนอย่างจริงจังเมื่อการทดลองหลายครั้งแสดงให้เห็นว่าแสงสามารถปฏิบัติตัวเหมือนการไหลของอนุภาคจำนวนมาก (ที่เรียกว่าโฟตอน) เช่นเดียวกับการแสดงออกด้านคุณสมบัติทั้งหลายเหมือนของคลื่น นี้นำไปสู่​​แนวคิดใหม่ของทวิภาคของคลื่นกับอนุภาค (wave–particle duality) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า "อนุภาค" ที่ระดับควอนตัมจะทำตัวเหมือนเป็นทั้งอนุภาคและเป็นคลื่น (หรือเรียกว่า wavicles) อีกแนวคิดใหม่อันหนึ่ง "หลักของความไม่แน่นอน" กล่าวว่าบางส่วนของคุณสมบัติของพวกมันเมื่อนำมารวมกัน เช่นตำแหน่งเวกเตอร์และโมเมนตัมพร้อมกันของพวกมัน จะไม่สามารถวัดอย่างแม่นยำได้ ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ ทวิภาคของคลื่นกับอนุภาคได้ถูกแสดงเพื่อนำไปใช้ไม่แต่เพียงกับโฟตอนเท่านั้น แต่จะนำไปใช้กับอนุภาคขนาดใหญ่มากขึ้นอีกด้วย ปฏิสัมพันธ์ของอนุภาคต่างๆในกรอบงานของทฤษฎีสนามควอนตัมถูกเข้าใจว่าเป็นการสร้างและการทำลายล้างของ"ควอนตัมทั้งหลาย"ของ"อันตรกิริยาพื้นฐาน"ที่สอดคล้องกัน สิ่งนี้จะผสมผสานฟิสิกส์ของอนุภาคเข้ากับทฤษฎีสนามควอนตัม.

ใหม่!!: การประลัยและอนุภาคย่อยของอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสนามควอนตัม

ทฤษฎีสนามควอนตัม (Quantum Field Theory หรือ QFT) คือทฤษฎีควอนตัมของสนามพลังงาน หรือ การใช้ทฤษฎีควอนตัมมาใช้กับระบบที่มีอนุภาคจำนวนมาก เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทาง อิเล็กโตรไดนามิกส์ (โดยการควอนตัมสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) เรียกว่าพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม (Quantum Electrodynamics) ต่อมาได้ขยายกรอบทางทฤษฎีเพื่ออธิบายสนามของแรงนิวเคลียร์แบบอ่อนร่วมด้วย เรียกว่าทฤษฎี อิเล็กโตร-วีก (Electro-Weak Theory) และเป็นพื้นฐานสำหรับการอธิบายแรงนิวเคลียร์แบบเข้มที่เรียกว่า ควอนตัมโครโมไดนามิกส์ (Quantum Chromodynamics) ทฤษฎีสนามควอนตัม (QFT) เป็นกรอบทฤษฎีสำหรับการสร้างแบบจำลองทางกลศาสตร์ควอนตั้มของสนามและระบบหลาย ๆ อย่างของวัตถุ (อยู่ในบริบทของสสารควบแน่น) ระบบทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของระบบแบบคลาสสิกโดยเป็นจำนวนอนันต์ขององศาอิสร.

ใหม่!!: การประลัยและทฤษฎีสนามควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

ความสมมูลมวล–พลังงาน

ประติมากรรมสูง 3 เมตร แสดงสมการ ''E''.

ใหม่!!: การประลัยและความสมมูลมวล–พลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิยานุภาค

ประกอบของประจุไฟฟ้าเช่นเดียวกับขนาดของอนุภาคทั่วไป (ซ้าย) และปฏิยานุภาค (ขวา) จากบนลงล่าง; อิเล็กตรอน/โพซิตรอน, โปรตอน/แอนติโปรตอน, นิวตรอน/แอนตินิวตรอน ปฏิยานุภาค (antiparticle) เป็นอนุภาคที่มีความสอดคล้องมากที่สุดกับอนุภาคปกติธรรมดา มีความสัมพันธ์กันคือมีมวลเท่ากันและมีประจุไฟฟ้าที่ตรงกันข้าม ยกตัวอย่างเช่น ปฏิยานุภาคของอิเล็กตรอนเป็นอิเล็กตรอนที่มีประจุบวก, หรือเรียกว่าโพซิตรอนที่ถูกสร้างขึ้นในการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีบางชนิดตามธรรมชาติ กฎของธรรมชาติระหว่างอนุภาคและปฏิยานุภาคแทบจะสอดคล้องได้ส่วนกัน ตัวอย่างเช่นแอนติโปรตอนและโพสิตรอนสามารถสร้างอะตอมแอนติไฮโดรเจน (antihydrogen atom) ได้ ซึ่งมีคุณสมบัติเดียวกันที่เกือบจะเหมือนกับอะตอมไฮโดรเจน สิ่งนี้นำไปสู่​​คำถามที่ว่าทำไมการก่อตัวของสสารหลังบิ๊กแบงส่งผลให้ในจักรวาลประกอบด้วยสสารเกือบทั้งหมด แทนที่จะเป็นส่วนผสมอย่างละครึ่งหนึ่งของสสารและปฏิสสาร การค้นพบการละเมิดซีพี (CP violation) ช่วยทำให้ปัญหานี้กระจ่างขึ้นโดยการแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนนี้ ความคิดสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์แบบเป็นเพียงการประมาณเท่านั้น คู่อนุภาค-ปฏิยานุภาคสามารถประลัยซึ่งกันและกันเกิดเป็นโฟตอนขึ้นและเนื่องจากประจุของอนุภาคและปฏิยานุภาคมีค่าตรงกันข้าม, ประจุรวมทั้งหมดจะอนุรักษ์ ตัวอย่างเช่น โพสิตรอนที่ถูกผลิตขึ้นในการสลายตัวกัมมันตรังสีตามธรรมชาติจะถูกประลัยอย่างรวดเร็วด้วยอิเล็กตรอน, การผลิตคู่ของรังสีแกมมา, กระบวนการใช้ประโยชน์ในโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี ปฏิยานุภาคถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติในการสลายให้อนุภาคบีตา และในอันตรกิริยาของรังสีคอสมิกในชั้นบรรยากาศของโลก เพราะว่าประจุจะต้องถูกอนุรักษ์ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างปฏิยานุภาคโดยไม่ต้องทำลายทั้งอนุภาคที่มีประจุที่เหมือนกันไปด้วย (เช่น ในการสลายให้อนุภาคบีต้า) หรือในการสร้างอนุภาคที่มีประจุที่ตรงกันข้ามก็ตาม ในระยะหลัง ๆ จะเห็นในหลาย ๆ กระบวนการในการที่ทั้งอนุภาคและปฏิยานุภาคจะถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เช่น ในเครื่องเร่งอน.

ใหม่!!: การประลัยและปฏิยานุภาค · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์มีแล็บ

รื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (ด้านหลัง) และเครื่องป้อนอนุภาคหลัก (ด้านหน้า) ที่แฟร์มีแล็บ อาคารโรเบิร์ค แรทบัน วิลสัน ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคแห่งชาติแฟร์มี หรือ แฟร์มีแล็บ (Fermi National Accelerator Laboratory - Fermilab) ตั้งอยู่ที่เมืองแบแทเวีย ใกล้นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นห้องทดลองในสังกัดกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 เดิมชื่อว่า "ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคแห่งชาติ" (National Accelerator Laboratory) และเปลี่ยนชื่อเป็น แฟร์มีแล็บ ในปี ค.ศ. 1974 เพื่อเป็นเกียรติแก่ เอนรีโก แฟร์มี นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1938 ปัจจุบันแฟร์มีแล็บปฏิบัติงานโดยหน่วยงานที่ชื่อว่า Fermi Research Alliance (สหพันธ์เพื่อการวิจัยแฟร์มี) ซึ่งเป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยชิคาโก กับ Universities Research Association (URA) ซึ่งเป็นการรวมตัวของห้องวิจัยจาก 91 มหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อิตาลี เครื่องมือชิ้นสำคัญที่สุดของแฟร์มีแล็บ คือ เครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (Tevatron) มีขนาดเส้นรอบวง 6.28 กิโลเมตร (3.90 ไมล์) สามารถเร่งพลังงานอนุภาคโปรตอนได้ถึง 1.96 TeV เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ของเซิร์น ที่กรุงเจนีวา (มีเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร) ในปี..

ใหม่!!: การประลัยและแฟร์มีแล็บ · ดูเพิ่มเติม »

โฟตอน

ฟตอน (Photon) หรือ อนุภาคของแสง เป็นการพิจารณาแสงในลักษณะของอนุภาค เนื่องจากในทางฟิสิกส์นั้น คลื่นสามารถประพฤติตัวเหมือนอนุภาคเมื่ออยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ซึ่งในทางตรงกันข้ามอนุภาคก็แสดงสมบัติของคลื่นได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นคุณสมบัติทวิภาคของคลื่น-อนุภาค (wave–particle duality) ดังนั้นเมื่อพิจารณาแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะอนุภาค อนุภาคนั้นถูกเรียกว่า โฟตอน ทั้งนี้การพิจารณาดังกล่าวเกิดจากการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่โลหะปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาเมื่อถูกฉายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างเช่น รังสีเอกซ์ (X-ray) อิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมาถูกเรียกว่า โฟโตอิเล็กตรอน (photoelectron) ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hertz Effect ตามชื่อของผู้ค้นพบ คือ นาย ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ โฟตอนมีปฏิยานุภาค คือ ปฏิโฟตอน (Anti-Photon) ซึ่งมีสปินเหมือนอนุภาคต้นแบบทุกประการ โฟตอนจึงเป็นปฏิยานุภาคของตัวมันเอง.

ใหม่!!: การประลัยและโฟตอน · ดูเพิ่มเติม »

โพซิตรอน

ซิตรอน (positron) หรือ แอนติอิเล็กตรอน (antielectron) เป็นปฏิยานุภาคหรือปฏิสสารของอิเล็กตรอน โพซิตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็น +1 มีสปินเป็น 1/2 และมีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน ถ้าโพซิตรอนพลังงานต่ำชนกับอิเล็กตรอนพลังงานต่ำจะเกิดการประลัย (annihilation) คือมีการเกิดโฟตอนรังสีแกมมา 2 โฟตอนหรือมากกว่า โพซิตรอนอาจจะเกิดจากการสลายตัวของการปลดปล่อยโพซิตรอนกัมมันตรังสี (ผ่านอันตรกิริยาอย่างอ่อน) หรือโดยการผลิตคู่จากโฟตอนที่มีพลังงานเพียงพอ.

ใหม่!!: การประลัยและโพซิตรอน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »