โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การประมงและอูราชิมะ ทาโร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การประมงและอูราชิมะ ทาโร

การประมง vs. อูราชิมะ ทาโร

การจับปลาของคนไทยที่แม่น้ำน่าน การประมง หมายถึงการจัดการของมนุษย์ด้านการจับปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ การดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมงเช่น น้ำมันปลา กิจกรรมการทำประมงจัดแบ่งได้ทั้งตามชนิดสัตว์น้ำและตามเขตเศรษฐกิจ เช่น การทำประมงปลาแซลมอนในอลาสก้า การทำประมงปลาคอดในเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์หรือการทำประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และยังรวมถึงการเพาะปลูกในน้ำ (Aquaculture) ซึ่งหมายถึงการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดในน้ำ เพื่อใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ เช่นเดียวกับเกษตรกรรมที่ทำบนพื้นดิน การทำฟาร์มในน้ำ เช่นฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มหอย ฟาร์มหอยมุก การเพาะปลูกในน้ำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไว้ การเพาะปลูกในน้ำจืด น้ำกร่อย ในทะเล การเพาะปลูกสาหร่าย ต่อมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประมงเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาหนึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์การประมง มีพื้นฐานจากวิชาชีววิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีการจัดศึกษาด้านการประมงในแง่มุมต่างๆ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และการประมงมีบทบาทสำคัญในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงมีคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น “ธุรกิจการประมง” อุตสาหกรรมประมง” เกิดขึ้น ซึ้นเราสามารถเรียนรู้ได้ต่อนี้. อูราชิมะ ทาโร และเจ้าหญิงโอโตฮิเมะ โดยมัตสึกิ เฮกิชิ (ค.ศ. 1899) อูราชิมะ ทาโร (浦島太郎, Urashima Tarō) เป็นเทพนิยายของญี่ปุ่น โดยเป็นเรื่องราวของชาวประมง ชื่อว่า อูราชิมะ ทาโร อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านริมทะเลแห่งหนึ่ง อูราชิมะ ทาโรเป็นเด็กหนุ่มจิตใจดีและกตัญญู เขาออกหาปลาเพื่อนำเงินมาเลี้ยงดูแม่ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งหมู่บ้าน วันหนึ่งเขาได้พบเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังรังแกเต่าน้อยตัวหนึ่งอยู่ เขาจึงห้ามไม่ให้เด็ก ๆ รังแกเต่าตัวนั้น พร้อมทั้งเสนอว่าจะขอซื้อเต่าตัวนี้ จากนั้นเขาก็นำเต่าน้อยปล่อยลงสู่ทะเล วันต่อมาในขณะที่เขาออกหาปลาตามปกติ ได้มีเต่าตัวใหญ่ว่ายน้ำเข้ามาใกล้ ๆ แล้วพูดขึ้นว่า “อูราชิมะ ทาโรซัง อูราชิมะ ทาโรซัง” เขาจึงหันไปดู เต่าตัวนั้นก็พูดต่อว่า “อูราชิมะ ทาโรซัง เราขอบคุณท่านมากที่ช่วยชีวิตเต่าน้อยตัวนั้นไว้ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณท่าน เราจะพาท่านไปเที่ยววังใต้ทะเลนี้ มาเถิด อูราชิมะ ทาโรซัง” อูราชิมะ ทาโรจึงขี่หลังเต่าตัวใหญ่ลงสู่ก้นทะเลลึก จนพบกับ วังมังกรรีวงูโจ (竜宮城) ซึ่งทำด้วยทองคำทั้งหมด ทำให้มีแสงส่องประกายวูบวาบอย่างน่าอัศจรรย์ เขาได้พบกับเจ้าหญิงโอโตฮิเมะ ธิดาพระองค์เดียวของเทพเจ้ามังกรริวจิน เขาได้ใช้เวลาอย่างมีความสุขในอาณาจักรใต้บาดาล เวลาผ่านไป 3 ปีเขาจึงเริ่มคิดถึงบ้าน เขาจึงขอลาเจ้าหญิงโอโตฮิเมะเพื่อเดินทางกลับบ้าน ก่อนเดินทาง เจ้าหญิงโอโตฮิเมะได้ให้กล่องประดับด้วยอัญมณีเป็นของขวัญ หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน อูราชิมะ ทาโรพบว่าเวลาบนโลกนั้นได้ผ่านไปกว่า 300 ปีแล้ว ผู้คนที่เขารู้จักก็ไม่มีหลงเหลืออยู่ ด้วยความขมขื่นเขาจึงมุ่งหน้ากลับไปยังชายหาด ในขณะนั้นเขาก็รำลึกถึงกล่องซึ่งได้รับเป็นของขวัญ จึงเปิดออกดู ก็ปรากฏควันขาวพวยพุ่งออกมา ในทันใดนั้นตัวเขาก็กลับชราลงอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตไปในที่สุด ซึ่งกล่องนั้นในความเป็นจริงก็คือที่ใช้กักเก็บอายุของเขานั่นเอง ยังมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันนี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วโอเชียเนีย โดยแหล่งกำเนิดของเรื่องนั้นไม่เป็นที่เด่นชัด เนื้อเรื่องของเรื่องนี้ได้มีอิทธิพลต่อเรื่องแต่งและภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น การ์ตูนชุด ลามู ทรามวัยจากต่างดาว และ เลิฟฮินะ บ้านพักอลเวง และได้ถูกใช้เป็นโครงในการแต่งเรื่องสั้น "Another Story" ของ Ursula K. Le Guin ในหนังสือรวมเรื่องสั้นชื่อ A Fisherman of the Inland Sea.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การประมงและอูราชิมะ ทาโร

การประมงและอูราชิมะ ทาโร มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การประมงและอูราชิมะ ทาโร

การประมง มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ อูราชิมะ ทาโร มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (24 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การประมงและอูราชิมะ ทาโร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »