โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง vs. พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

การประท้วงทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน.. งษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักร้อง นักแสดง และผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด อ๊อฟจบปริญญาตรี พลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีพ.ศ. 2549พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยศรัณยู วงษ์กระจ่างสยามพารากอนสนามกีฬาแห่งชาติทักษิณ ชินวัตรประเทศไทย2 กันยายน

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี · ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพ.ศ. 2549 · พ.ศ. 2549และพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง · ดูเพิ่มเติม »

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy, PAD) หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผยBloomberg,, 19 December 2008 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง สัญลักษณ์หลักของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์หลัก และมีการใส่เสื้อสีเหลืองพร้อมผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า และมีมือตบเป็นเครื่องมือสัญลักษณ์ ในปี..

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย · พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

รัณยู วงศ์กระจ่าง (ชื่อเล่น: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงศ์กระจ่าง) เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ศรัณยู เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น ศรัณยูรักอาชีพนักแสดงที่สุด เขามีผลงานทางด้านการแสดงมากกว่า 100 เรื่อง ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที เป็นพระเอกที่ครองความนิยมในประเทศไทยในช่วงยุค 80-90 มีผลงานละครโทรทัศน์โด่งดังมากมาย ได้แก่ เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527) ระนาดเอก (2528) มัสยา (2528) บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ (2530) เกมกามเทพ (2531) เจ้าสาวของอานนท์ (2531) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) รอยมาร (2533) วนิดา (2534) ไฟโชนแสง (2535) น้ำเซาะทราย (2536) ทวิภพ (2537) มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) และ นายฮ้อยทมิฬ (2544) ซึ่งแทบทุกเรื่องถูกนำมาสร้างใหม่ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (2530) นอกจากนั้นแล้ว ศรัณยูยังมีผลงานพิธีกร ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และผู้กำกับภาพยนตร์ มากมายหลายเรื่อง อาทิเช่น เป็นผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง "เทพนิยายนายเสนาะ" (2541), ละครพีเรียดเรื่อง "น้ำพุ" (2545), ละครสั้นสองตอนจบเรื่อง "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2545), ละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2546), ละครเรื่อง "หลังคาแดง" (2547), ละครเรื่อง "ตราบสิ้นดินฟ้า" (2551) ผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่อง "อำมหิตพิศวาส" (2550) และ "คนโขน" (2554) อีกทั้งศรัณยูยังได้นำบทประพันธ์เรื่อง "หลังคาแดง" มาดัดแปลงและนำเสนอในรูปแบบละครเวทีเรื่อง "หลังคาแดง เดอะมิวสิคัล" (2555) อีกด้วย ปัจจุบัน ศรัณยูเป็นผู้จัดละครและผู้กำกับการแสดง ผลิตละครโทรทัศน์ ในนาม "สามัญการละคร" มีผลงานการกำกับละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2556), หัวใจเถื่อน (2557), รอยรักแรงแค้น (2558) และล่าสุดเรื่อง บัลลังก์หงส์ (2559).

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงและศรัณยู วงษ์กระจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

สยามพารากอน

้านหน้าสยามพารากอน สยามพารากอนเวลากลางคืน ด้านข้างสยามพารากอนเวลากลางคืน ศูนย์การค้าสยามพารากอน (Siam Paragon) เป็น ศูนย์การค้า ขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังสยาม มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ และ เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต บริหารงานโดย บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ในนาม บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด ตั้งอยู่บน ถนนพระรามที่ 1 ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เน้นความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มลูกค้าต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในศูนย์การค้าเดียว อีกทั้งยังเป็นศูนย์การค้าคู่แข่งกับ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยตรง สยามพารากอนมีลูกค้าชาวไทยประมาณ 60% และชาวต่างชาติ 40% เป็นสถานที่ที่มีผู้แชร์ภาพผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในโลกในปี..

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและสยามพารากอน · พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงและสยามพารากอน · ดูเพิ่มเติม »

สนามกีฬาแห่งชาติ

สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นสนามกีฬาที่ใช้รองรับในการแข่งขันใหญ่ โดยเฉพาะเป็นสนามเหย้าของประเทศนั้น สำหรับทีมชาติในการแข่งขันกีฬาแต่ละประเภท คำ ๆ นี้โดยมากมักใช้หมายถึงสนามกีฬาฟุตบอล โดยปกติแล้วสนามกีฬาแห่งชาติมักจะมีสถานที่ตั้งอยู่ใน/หรืออยู่ใกล้กับเมืองหลวง หรือเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และมักจะเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ (แต่ก็ไม่เสมอไป) มักใช้จัดการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ (เช่นฟุตบอลโลก หรือโอลิมปิก) มีหลายสนามที่ใช้เป็นสนามแข่งขันทีมเหย้าของสโมสรท้องถิ่นนั้น ๆ มีหลายประเทศที่ไม่มีสนามกีฬาแห่งชาติ เช่น สเปน และสหรัฐอเมริกา โดยจะหมุนเวียนใช้สนามในแต่ละส่วนของประเทศ.

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและสนามกีฬาแห่งชาติ · พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงและสนามกีฬาแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและทักษิณ ชินวัตร · ทักษิณ ชินวัตรและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและประเทศไทย · ประเทศไทยและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง · ดูเพิ่มเติม »

2 กันยายน

วันที่ 2 กันยายน เป็นวันที่ 245 ของปี (วันที่ 246 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 120 วันในปีนั้น.

2 กันยายนและการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง · 2 กันยายนและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง มี 194 ความสัมพันธ์ขณะที่ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง มี 146 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 2.65% = 9 / (194 + 146)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งและพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »