โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การประชุมที่วานเซ

ดัชนี การประชุมที่วานเซ

หาสน์ ณ 56–58 เอเอ็ม โกเบน วานเซ (Am Großen Wannsee) ที่ประชุมวันน์เซ ปัจจุบันเป็นหออนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ การประชุมที่วานเซ (Wannsee Conference; Wannseekonferenz) เป็นการประชุมข้าราชการระดับสูงของนาซีเยอรมนีและผู้นำเอ็สเอ็ส จัดขึ้นที่เมืองวานเซ ชานกรุงเบอร์ลิน ณ วันที่ 20 มกราคม..

23 ความสัมพันธ์: ชุทซ์ชทัฟเฟิลการบุกครองโปแลนด์การพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลังการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้ายมาร์ทิน บอร์มันน์ยศและเครื่องหมายของวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สอดอล์ฟ ไอชมันน์ฮอโลคอสต์ทบวงกลางความมั่นคงไรช์ค่ายมรณะซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ซีแชร์ไฮท์สโพลีไซปฏิบัติการบาร์บารอสซานาซีเยอรมนีแฮร์มันน์ เกอริงโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพโรลันด์ ไฟรซเลอร์ไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์ไรน์ฮาร์ด ฮายดริชไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์เบอร์ลินเกสตาโพเขตปกครองสามัญ

ชุทซ์ชทัฟเฟิล

ทซ์ชทัฟเฟิล (Schutzstaffel "ᛋᛋ" ที่เป็นอักษรรูน) หรือ เอ็สเอ็ส (SS) เป็นองค์กรกำลังกึ่งทหารสังกัดพรรคนาซีภายใต้คำสั่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เดิมมีชื่อองค์กรว่า ซาล-ซุทซ์ (Saal-Schutz) ซึ่งมีสมาชิกเป็นอาสาสมัครของพรรคนาซีเพื่อคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยในการประชุมพรรคที่เมืองมิวนิก เมื่อไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์เข้าร่วมองค์กรในปี..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและชุทซ์ชทัฟเฟิล · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง

การพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การพิจารณาอาชญากรสงครามต่อหน้าคณะตุลาการทหารเนือร์นแบร์ก หมายถึงการพิจารณาทางทหาร 12 คดีซึ่งพิจารณาความผิดฐานอาชญากรรมสงครามซึ่งมีสมาชิกผู้นำทางทหาร การเมืองและเศรษฐกิจที่ยังมีชีวิตอยู่ของนาซีเยอรมนีเป็นจำเลย การพิจารณามีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เนือร์นแบร์ก หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและการพิจารณาเนือร์นแบร์กครั้งหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย หรือ มาตรการสุดท้าย (Final Solution; Die Endlösung) เป็นชื่อรหัสที่หมายถึงแผนการกำจัดชาวยิวทั่วยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตามนโยบายกวาดล้างชาวยิวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี เป็นการเข่นฆ่าเพื่อล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวครั้งใหญ่ โดยเริ่มใช้มาตรการสุดท้าย ใน..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ทิน บอร์มันน์

มาร์ติน บอร์มันน์ (Martin Bormann) เกิดวันที่ 17 มิถุนายน.ศ 1900 ที่รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์,จักรวรรดิเยอรมันเขาเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายในวันที่ 2 พฤษภาคม.ศ 1945ที่ฟือเลอร์บุงเกอร์กรุงเบอร์ลิน เขาเป็นเลขธิการของพรรคนาซีและเพื่อนของฮิตเลอร.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและมาร์ทิน บอร์มันน์ · ดูเพิ่มเติม »

ยศและเครื่องหมายของวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

ตารางนี้แสดง ยศและเครื่องหมายของหน่วย วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ซึ่งใช้ในระหว่าง เมษายน..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและยศและเครื่องหมายของวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ไอชมันน์

ออทโท อดอล์ฟ ไอชมันน์ (Otto Adolf Eichmann, 19 มีนาคม ค.ศ. 1906 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962) เป็นสมาชิกพรรคนาซี และ โอเบอร์ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์ (พันโท) ของหน่วยเอ็สเอ็ส และหนึ่งในผู้จัดการการล้างชาติโดยนาซีคนสำคัญ เพราะความสามารถพิเศษในการจัดการเป็นระบบและความน่าเชื่อถือทางอุดมการณ์ ไอชมันน์จึงได้รับมอบหมายจากไรน์ฮาร์ด ฮายดริชให้ปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกและจัดการพลาธิการการเนรเทศชาวยิวขนานใหญ่ไปยังเก็ตโตและค่ายมรณะในยุโรปตะวันออกภายใต้การยึดครองของเยอรมนี หลังสงครามยุติ เขาบินไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้บัตรอนุญาต (laissez-passer) ออกโดย กาชาดสากล ที่ได้มาโดยตลบแตลง เขาอาศัยอยู่ในอาร์เจนตินาภายใต้รูปพรรณปลอม ทำงานให้กับเมอร์ซิเดสเบนซ์ถึง..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและอดอล์ฟ ไอชมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทบวงกลางความมั่นคงไรช์

ำนักความมั่นคงหลักไรช์ หรือ ไรช์ซิเชอร์ไฮท์เชาพ์ทัมท์Reichssicherheitshauptamt is variously translated as "Reich Main Secutiy Office", "Reich Security Main Office", "Reich Central Security Main Office", "Reich Security Central Office", "Reich Head Security Office", or "Reich Security Head Office".

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและทบวงกลางความมั่นคงไรช์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายมรณะ

มรณะ (Extermination camp หรือ Death camp) สร้างโดยนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นสถานที่สำหรับสังหารผู้คนเป็นจำนวนล้าน (โดยเฉพาะชาวยิว) อย่างมีระบบ การพันธุฆาตชาวยิวเป็น “วิธีแก้ปัญหาสุดท้ายของปัญหาชาวยิว” (Die Endlösung der Judenfrage) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความพยายามของนาซีในการกำจัดชาวยิวทั้งหมดมาเรียกรวมกันว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” หรือ “The Holocaust”.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและค่ายมรณะ · ดูเพิ่มเติม »

ซีแชร์ไฮท์สดีนสท์

ตำรวจเอ็สดีระหว่างการสุ่มตรวจค้น ทบวงอำนวยความปลอดภัย (Sicherheitsdienst, ซีแชร์ไฮท์สดีนสท์) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทบวงอำนวยความปลอดภัยประจำไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส (Sicherheitsdienst des Reichsführers-SS) หรือเรียกย่อๆว่า เอ็สดี (SD) เป็นหน่วยข่าวกรองของหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือเอ็สเอ็สและพรรคนาซีในนาซีเยอรมนี องค์กรนี้เป็นหน่วยข่าวกรองของพรรคนาซีแห่งแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้นและได้ถือว่า เป็นองค์กรพี่น้องกับหน่วยตำรวจลับ เกสตาโพ ซึ่งถูกเอ็สเอ็สได้เข้าแทรกซึมอย่างหนักในช่วงภายหลังปี..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ

ทบวงตำรวจความมั่นคง (Sicherheitspolizei) หรือเรียกอย่างย่อว่า ซีโพ เป็นองค์กรตำรวจรักษาความมั่นคงในเยอรมนีในยุคสมัยนาซีเรืองอำนาจ เป็นหน่วยงานทางราชการในด้านรักษาความมั่นคงและการสืบสวนอาชญากรรม ถูกก่อตั้งโดยกองกำลังทีมผสมของหน่วยเกสตาโพ(ตำรวจลับแห่งรัฐ) ครีโพ(ตำรวจสืบสวนอาชญากรรม) ในช่วงระหว่างปี..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ เกอริง

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและแฮร์มันน์ เกอริง · ดูเพิ่มเติม »

โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

อุบิตส์ ฟรีดรีช วิลเฮล์ม โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ (Ulrich Friedrich Wilhelm Joachim von Ribbentrop) (30 เมษายน 2436 - 16 ตุลาคม 2489) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งเขาได้เป็นตัวแทนในการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพกับสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสงครามเขาถูกตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามและได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในช่วงการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กในวันที่ 16 ตุลาคม..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

โรลันด์ ไฟรซเลอร์

โรลันด์ ไฟรซเลอร์ โรลันด์ ไฟรซเลอร์ (Roland Freisler)(30 ตุลาคม 1893 – 3 กุมภาพันธ์ 1945) เป็นทนายความชั้นเลิศและเป็นผู้พิพากษานาซีของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม เขาเป็นเลขานุการรัฐของกระทรวงยุติธรรมไรช์ และเป็นประธานของโฟล์คซดกริชท์ชอฟ ("ศาลประชาชน") และเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการประชุมที่วานเซในปี 1942 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อวางแผนการกำจัดชาวยิวในยุโรปของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม โรลันด์ ไฟรซเลอร์นั้นเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้พิพากษาศาลเถื่อนของนาซีเยอรมันที่มีความดุดันแข็งกร้าวที่สุด มักพูดจาต่อว่าอย่างฉะฉานกับฝ่ายจำเลยที่เป็นนักโทษทางการเมืองและผู้ต่อต้านรัฐบาลนาซี เขาได้ตัดสินโทษประหารชีวิตนักโทษไปจำนวน 2,600 คน ในจำนวนนี้รวมถึงขบวนการกุหลาบสีขาว (กลุ่มนักศึกษาชาวเยอรมันที่ต่อต้านความเผด็จการของฮิตเลอร์และพรรคนาซี) และกลุ่มต่อต้านฝ่ายทหารและพลเรือนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนลับ 20 กรกฎาคม โรลันด์ ไฟรซเลอร์เสียชีวิตเนื่องจากกองทัพอากาศสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดในกรุงเบอร์ลิน เขาจึงถูกเศษซากอาคารถล่มทับในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1945 หมวดหมู่:นักกฎหมายชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและโรลันด์ ไฟรซเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์

รชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์ (Reichskommissariat Ostland, RKO) เป็นหน่วยการปกครองของนาซีเยอรมนีในรัฐบอลติก บางส่วนของเบลารุสและโปแลนด์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดินแดนนี้ยังมีอีกชื่อว่า Reichskommissariat Baltenland ("ไรชส์คอมมิสซาเรียทแห่งรัฐบอลติก").

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและไรชส์คอมมิสซาเรียทออสท์ลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช

รน์ฮาร์ด ทรีสทัน ออยเกิน ฮายดริช (Reinhard Tristan Eugen Heydrich) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีเยอรมันอย่างเป็นทางการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและผู้ออกแบบหลักในการล้างชาติโดยนาซี.เขาเป็นเจ้าหน้าที่แห่งเอสเอส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระดับโอแบร์กรุพเพนฟือแรร์ (พลโท) และเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามัญ (หัวหน้ากลุ่มระดับอาวุโสและอธิบดีกรมตำรวจ) เช่นเดียวกันกับหัวหน้าของสำนักความมั่นคงหลักของรัฐไรซ์ (Reich Main Security Office) (รวมทั้งเกสตาโพ, ครีมิไนโพลีไซ (Kripo), ซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ (SD) และซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ(sipo)) นอกจากนั้นเขายังเป็น Stellvertretender Reichsprotektor (รองผู้รักษาการป้องกันแห่งไรซ์-ผู้พิทักษ์) ของโบฮีเมียและโมราเวียในดินแดนสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและไรน์ฮาร์ด ฮายดริช · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์

น์ริช ลุทโพลด์ ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Luitpold Himmler) เป็นหนึ่งในผู้นำพรรคนาซีในเยอรมนี และเป็น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ของหน่วย ชุทซ์ชทัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) รับผิดชอบด้านการคุมกำลังหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สทั้งหมดในไรช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในไรช์ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิวSource: Der Spiegel, Issue dated 3 November 2008: Hitlers Vollstrecker – Aus dem Leben eines Massenmörders ฮิมม์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกสตาโพ

รื่องแบบเกสตาโพ เกสตาโพ (Gestapo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทบวงตำรวจลับของรัฐ (Geheime Staatspolizei) เป็นตำรวจลับอย่างเป็นทางการของนาซีเยอรมนี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและเกสตาโพ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองสามัญ

ตปกครองสามัญ(Generalgouvernement, Generalne Gubernatorstwo, Генеральна губернія),เรียกอีกอย่างว่า เจอเนอรัลโกเวอร์โนเรนท์ เป็นเขตยึดครองของเยอรมันที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการร่วมมือบุกเข้ายึดครองโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปี..

ใหม่!!: การประชุมที่วานเซและเขตปกครองสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การประชุมวันน์เซ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »