โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปฏิวัติฝรั่งเศสและประชาธิปไตย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การปฏิวัติฝรั่งเศสและประชาธิปไตย

การปฏิวัติฝรั่งเศส vs. ประชาธิปไตย

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง.. รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปฏิวัติฝรั่งเศสและประชาธิปไตย

การปฏิวัติฝรั่งเศสและประชาธิปไตย มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุคเรืองปัญญารัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญสหรัฐสภากงว็องซียงแห่งชาติสมบูรณาญาสิทธิราชย์สาธารณรัฐความเสมอภาคทางสังคมความเป็นพลเมืองประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

การปฏิวัติฝรั่งเศสและยุคเรืองปัญญา · ประชาธิปไตยและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและรัฐธรรมนูญ · ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญสหรัฐ

รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ (United States Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา เป็นกรอบการปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย สามมาตราแรกของรัฐธรรมูญตั้งกฎและการแบ่งแยกอำนาจเป็นสามส่วนของรัฐบาลกลาง ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภาแบบสองสภา ฝ่ายบริหารนำโดยประธานาธิบดี และฝ่ายตุลาการนำโดยศาลสูงสุด สี่มาตราสุดท้ายวางกรอบหลักระบอบสหพันธรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1787 ในที่ประชุม ณ ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และรับรองโดยการประชุมในรัฐต่าง ๆ ในนามของประชาชน โดยจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข มาแล้ว 27 ครั้ง โดยสิบครั้งแรกเป็นที่รู้จักในนามของ รัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจัดเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษณที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากรวมรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเข้าไปด้วย รัฐธรรมนูญของกรุงซานมาริโน จะเก่าแก่กว่า รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจัดเป็นหัวใจหลักของกฎหมายในสหรัฐอเมริกาและวัฒนธรรมทางการเมือง โดยต้นฉบับดั้งเดิม ที่เขียนโดยนายจาคอป ชาลัส ได้จัดแสดงไว้ที่ องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ (National Archives and Records Administration) ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี อ.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและรัฐธรรมนูญสหรัฐ · ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สภากงว็องซียงแห่งชาติ

สภากงว็องซียงแห่งชาติ (Convention nationale) คือคณะการปกครองประเทศฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเริ่มทำการปกครองตั้งแต่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 1795 โดยทำหน้าที่บริหารประเทศและควบคุมอำนาจบริหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 โดยสมาชิกที่มีชื่อเสียงจากสมัชชาแห่งนี้ได้แก่ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์, ฌ็อง-ปอล มารา, ฌอร์ฌ ด็องตง เป็นต้น โดยในภายหลังทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม หมวดหมู่:การปฏิวัติฝรั่งเศส.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและสภากงว็องซียงแห่งชาติ · ประชาธิปไตยและสภากงว็องซียงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและสาธารณรัฐ · ประชาธิปไตยและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ความเสมอภาคทางสังคม

วามเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและความเสมอภาคทางสังคม · ความเสมอภาคทางสังคมและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นพลเมือง

วามเป็นพลเมือง (citizenship) คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จ่ายภาษี หรือรับราชการทหาร บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองมาก และบุคคลที่ไม่มีความเป็นพลเมือง เรียก ผู้ไร้สัญชาติ (stateless) สัญชาติมักใช้เป็นคำพ้องกับความเป็นพลเมืองในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ แม้คำนี้บางครั้งเข้าใจว่าหมายถึงการเป็นสมาชิกชาติ (กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่) ของบุคคล ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สัญชาติและความเป็นพลเมืองมีความหมายต่างกัน หมวดหมู่:สัญชาติ หมวดหมู่:การปกครอง หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางการเมือง หมวดหมู่:กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง.

การปฏิวัติฝรั่งเศสและความเป็นพลเมือง · ความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง

ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (Déclaration des droits de l'homme et du citoyen) เป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส กำหนดให้สิทธิของปัจเจกชนและสิทธิมวลชลเป็นสิทธิสากล ประกาศฉบับนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีสิทธิธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า สิทธิดังกล่าวมีอยู่ไม่ว่าเมื่อใดและที่ใด เนื่องจากเป็นสิทธิที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (assemblée nationale constituante) รับรองร่างสุดท้ายของประกาศนี้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม..

การปฏิวัติฝรั่งเศสและประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง · ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การปฏิวัติฝรั่งเศสและประชาธิปไตย

การปฏิวัติฝรั่งเศส มี 56 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประชาธิปไตย มี 173 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 3.93% = 9 / (56 + 173)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การปฏิวัติฝรั่งเศสและประชาธิปไตย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »