โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและคอมมูน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและคอมมูน

การปฏิวัติทางวัฒนธรรม vs. คอมมูน

การปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ (Great Proletarian Cultural Revolution) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า การปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) เป็นขบวนการทางสังคม-การเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี 2509 เหมาเจ๋อตงซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน เป้าหมายที่แถลงไว้ คือ เพื่อบังคับใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศโดยการขจัดองค์ประกอบที่เป็นทุนนิยม ประเพณีและวัฒนธรรมจีน ออกจากวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์และเพื่อกำหนดแนวทางแบบเหมาภายในพรรค การปฏิวัติดังกล่าวส่งผลให้เหมาเจ๋อตงกลับมามีอำนาจหลังการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าที่ล้มเหลว ขบวนการดังกล่าวทำให้การเมืองจีนหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสำคัญ การปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2509 เหมาอ้างว่ากระฎุมพีกำลังแทรกซึมรัฐบาลและสังคมอย่างไม่มีขอบเขต โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูทุนนิยม เขายืนกรานให้ขจัด "ลัทธิแก้" (revisionist) เหล่านี้ผ่านการต่อสู้ของชนชั้นอย่างรุนแรง เยาวชนจีนสนองตอบการเรียกร้องของเหมาโดยตั้งกลุ่มเรดการ์ดขึ้นทั่วประเทศ ขบวนการดังกล่าวแพร่ไปสู่ทหาร กรรมกรในเมือง และผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เอง การปฏิวัติส่งผลให้เกิดการต่อสู้ระหว่างกลุ่มแยกอย่างกว้างขวางในทุกย่างก้าวของชีวิต ในหมู่ผู้นำระดับสูง การปฏิวัตินำไปสู่การกวาดล้างข้าราชการอาวุโสที่ถูกกล่าวหาว่าเดิน "ถนนทุนนิยม" คือ ประธานาธิบดีหลิวส้าวฉีและเติ้งเสี่ยวผิง พร้อมด้วยจอมพล หลิวป๋อเฉิง จอมพล เฉินอี้ จอมพล เย่เจี้ยนอิงและจอมพล เผิงเต๋อฮว้าย ในเวลาเดียวกัน ลัทธิมากซ์ ของประธานเหมา เติบโตขึ้นเป็นอันมาก กลุ่มกรรมกรใช้สัญลักษณ์ค้อนกดขี่ข่มเหงชาวนาและกลุ่มเกษตรกรรมอื่นๆ ประชากรจีนจำนวนหลายล้านคนถูกเบียดเบียน ในการต่อสู้อย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มลัทธิแก้ และกลุ่มปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ อันทำให้เกิดการละเมิดหลายรูปแบบ รวมถึงการประจานในที่สาธารณะ การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน การก่อกวนอยู่เนือง ๆ และการยึดทรัพย์สินของชาวบ้าน หลายภาคส่วนถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน ส่วนวัตถุมงคลและสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์จีนถูกทำลาย สถานที่ทางวัฒนธรรมและศาสนาถูกปล้นพร้อมกับทำให้เสียหาย ประธานเหมาประกาศให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 2512 แต่ยังมีผลดำเนินไปกระทั่ง หลินเปียว ตายในปี 2514 หลังเหมาถึงแก่อสัญกรรมและการจับกุมแก๊งออฟโฟร์ในปี 2519 ทำให้คณะปฏิรูปการปกครอง นำโดย เติ้งเสี่ยวผิง ยุติการปฏิวัติของเหมาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างเด็ดขาด ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2524 คณะกรรมาธิการกลางประกาศคำตัดสินอย่างเป็นทางการ ดังนี้ " 'การปฏิวัติทางวัฒนธรรม' ซึ่งดำเนินตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2509 ถึงเดือนตุลาคม 2519 เป็นสาเหตุของการเสื่อมอย่างรุนแรงที่สุดและเป็นการสูญเสียอย่างหนักที่สุดที่พรรค รัฐและประชาชนเคยประสบมาแล้ว ตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน" จอมพล เผิงเต๋อไหว นักรบผู้กล้าหาญและขวัญกำลังใจของกองทัพชาวนา ครอบครองแผ่นดินประมาณได้ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมดในสงครามกลางเมือง แต่ถูกลงโทษทางการเมือง ทำให้ถึงแก่อสัญกรรม เพราะเรียงความหมื่นอักษรในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม. คอมมูนเป็นชุมชนโดยเจตนาของบุคคลที่อาศัยร่วมกัน แบ่งปันผลประโยชน์ ทรัพย์สิน การครอบครอง ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งในบางคอมมูน รวมถึงการแบ่งปันงานและรายได้ด้วย นอกจากนี้ การวินิจฉัยสั่งการด้วยฉันทามติ โครงสร้างที่ไร้ลำดับขั้น และการอาศัยเชิงนิเวศ (ecological living) ได้กลายมาเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญสำหรับหลายคอมมูน นอกเหนือไปจากเศรษฐกิจคอมมูน สำหรับหน่วยการเมืองที่มักมีขนาดใหญ่กว่าในทฤษฎีการเมืองคอมมิวนิสต์ ดูที่ คอมมูนสังคมนิยม ซึ่งเป็นการจัดระเบียบสังคมที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน หมวดหมู่:ชุมชน หมวดหมู่:สภาวะความเป็นอยู่.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและคอมมูน

การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและคอมมูน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลัทธิคอมมิวนิสต์

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและลัทธิคอมมิวนิสต์ · คอมมูนและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและคอมมูน

การปฏิวัติทางวัฒนธรรม มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ คอมมูน มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.57% = 1 / (24 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การปฏิวัติทางวัฒนธรรมและคอมมูน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »