โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง

การบุกครองโปแลนด์ vs. สงครามลวง

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน. ปสเตอร์ซึ่งถูกพบเห็นได้ทั่วไปในอังกฤษระหว่าง "สงครามลวง" สงครามลวง เป็นช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกันยายน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง

การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบุกครองโปแลนด์การทรยศโดยชาติตะวันตกยุทธการที่ฝรั่งเศสสงครามโลกครั้งที่สอง

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

การบุกครองโปแลนด์และการบุกครองโปแลนด์ · การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง · ดูเพิ่มเติม »

การทรยศโดยชาติตะวันตก

แฟรงกลิน โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน การทรยศโดยชาติตะวันตก (Western betrayal) หรืออาจใช้ว่า การทรยศที่ยัลตา (Yalta betrayal) เป็นคำที่มักจะใช้กันในกลุ่มประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปแลนด์และเช็กเกีย ซึ่งหมายความถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของกลุ่มประเทศตะวันตกหลายประเทศ ซึ่งได้ละเลยสนธิสัญญาพันธมิตรและข้อตกลงหลายฉบับนับตั้งแต่สนธิสัญญาแวร์ซาย สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงสมัยสงครามเย็น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลอกลวงและการทรยศ ในการใช้คำว่า "การทรยศ" นี้ เป็นผลมาจากความจริงที่ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะได้สนับสนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยและการวางนโยบายด้วยตนเอง ได้ลงนามในสนธิสัญญาและก่อตั้งพันธมิตรทางการทหารทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กระนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกกลับทรยศพันธมิตรของตนในยุโรปกลางโดยการละเลยที่จะปฏฺบัติตามข้อผูกมัดตามสนธิสัญญานั้น ยกตัวอย่างเช่น ไม่ช่วยป้องกันนาซีเยอรมนีจากการยึดครองเชโกสโลวาเกีย แต่กลับยกให้ในข้อตกลงมิวนิก (ค.ศ. 1938) หรือการทอดทิ้งโปแลนด์ในรับมือกับเยอรมนีและสหภาพโซเวียตตามลำพังระหว่างการบุกครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939) และการลุกฮือในกรุงวอร์ซอ ในปี ค.ศ. 1944 นอกจากนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกยังได้ลงนามในข้อตกลงยัลตา และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ไม่ให้การป้องกันหรือยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือรัฐเหล่านี้จากการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสหภาพโซเวียต และระหว่างการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ฮังการีก็ไม่ได้รับทั้งการสนับสนุนทั้งทางทหารและการสนับสนุนในด้านกำลังใจจากฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเลย และทำให้การปฏิวัติถูกปราบปรามโดยกองทัพแดงในที่สุด สถานการณ์เดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1968 เมื่อกองทัพร่วมของกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอเพื่อกำจัดยุคฤดูใบไม้ผลิปรากในเชโกสโลวาเกีย และยุติการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับมาสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ดังเดิม ดังที่ได้เกิดความกังวลในการประชุมยัลตา แนวคิดของมันก็ถูกโต้เถียงกัน โดยนักประวัติศาสตร์มองว่าการที่นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากยอมรับความต้องการของผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ทั้งในการประชุมเตหะรานและในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเองก็ได้ประเมินอำนาจของสหภาพโซเวียตผิดไปบ้าง เช่นเดียวกับที่ประเมินนาซีเยอรมนีผิดไปหนึ่งทศวรรษก่อนหน้านั้น แต่ผู้สนับสนุนการประชุมยอลตามีแนวคิดว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการทรยศกลุ่มประเทศในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยไม่มีการพิจารณาถึงชะตากรรมของโปแลนด์ในอนาคต กองกำลังโปแลนด์ถือเป็นกองกำลังที่ต่อสู้กับนาซีเยอรมนีเป็นเวลายาวนานกว่าประเทศอื่นใดในสงครามโลกครั้งที่สอง และทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังสหรัฐอเมริกา อังกฤษและโซเวียตในการทัพที่สำคัญหลายครั้ง รวมไปถึงในยุทธการที่เบอร์ลินครั้งสุดท้าย ซึ่งกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ทางตะวันตกมีจำนวนกว่า 249,000 นาย (กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกมีจำนวนกว่า 4 ล้านนาย) และ 180,000 นายทางตะวันออก (กองทัพโซเวียตมีจำนวนกว่า 6 ล้านนาย) และมีอีกกว่า 300,000 นายที่ทำการรบใต้ดิน หรือในกองกำลังกู้ชาติ ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพโปแลนด์มีจำนวนกว่า 600,000 นาย โดยที่ไม่นับกองกำลังกู้ชาติhttp://www.ww2.pl/Polish,contribution,to,the,Allied,victory,in,World,War,2,(1939-1945),132.html ซึ่งทำให้โปแลนด์มีกองกำลังขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในสงคราม รองมาจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รัฐบาลผลัดถิ่นโปแลนด์เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นประธานาธิบดีโรสเวลต์ก็ยังนิ่งนอนใจได้เมื่อรัฐบาลโปแลนด์ถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลหุ่นของโซเวียต โดยได้มีข้อสังเกตว่าโรสเวลต์ได้วางแผนที่จะมอบโปแลนด์ให้กับสตาลิน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เสนอว่า เชอร์ชิลล์กระตุ้นให้โรสเวลต์ดำเนินกิจการทางทหารต่อในทวีปยุโรป แต่ต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติมจากพรมแดนของตน รูสเวลต์ดูเหมือนว่าจะเชื่อใจในการรับประกันของสตาลินและปฏิเสธที่จะสนับสนุนเจรนาของเชอร์ชิลล์ในการรักษาเสรีภาพของทวีปยุโรปนอกเหนือจากอิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยปราศจากการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรที่เหนื่อยอ่อน อดอยาก และแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัวจึงไม่สามารถดำเนินการตามที่ตั้งใจเอาไว้ และถึงแม้ว่าจะมีการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาก็ตาม ผลจากกิจการทางทหารนั้นก็ยังคงไม่แน่นอนอยู่มาก.

การทรยศโดยชาติตะวันตกและการบุกครองโปแลนด์ · การทรยศโดยชาติตะวันตกและสงครามลวง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

การบุกครองโปแลนด์และยุทธการที่ฝรั่งเศส · ยุทธการที่ฝรั่งเศสและสงครามลวง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

การบุกครองโปแลนด์และสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามลวงและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง

การบุกครองโปแลนด์ มี 118 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามลวง มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.01% = 4 / (118 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การบุกครองโปแลนด์และสงครามลวง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »