โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การบุกครองนอร์ม็องดี

ดัชนี การบุกครองนอร์ม็องดี

การรุกรานนอร์ม็องดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์ม็องดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน..

43 ความสัมพันธ์: บริเตนใหญ่บลิทซ์ครีกช่องแคบอังกฤษพ.ศ. 2487พลร่มพอร์ตสมัทกองทัพฝรั่งเศสเสรีการปลดปล่อยกรุงปารีสฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองยุทธการที่บริเตนยุทธการที่มอสโกยุโรปตะวันตกลักเซมเบิร์กวินสตัน เชอร์ชิลสหภาพโซเวียตสหรัฐสหราชอาณาจักรสงครามโลกครั้งที่สองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ปฏิบัติการบาร์บารอสซาปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดประธานาธิบดีประเทศกรีซประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษประเทศนอร์เวย์ประเทศแคนาดาประเทศโปแลนด์ประเทศเบลเยียมประเทศเชโกสโลวาเกียประเทศเดนมาร์กประเทศเนเธอร์แลนด์นอร์ม็องดีนาซีเยอรมนีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์แอร์วิน รอมเมิลแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โอมาร์ แบรดลีย์โจเซฟ สตาลิน6 มิถุนายน

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ. 2250–2344 ก่อนที่นอร์เทิร์นไอร์แลนด์จะเข้าร่วม เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และนอร์เทิร์นไอร์แลน.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

บลิทซ์ครีก

วามเสียหายหลังจากบลิทซ์ครีก บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg) การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นคำแผลงเป็นอังกฤษ เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีก เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิดบลิทซ์ครีกนั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง นำโดยพลเอกไฮนซ์ กูเดเรียน บลิทซ์ครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและบลิทซ์ครีก · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พลร่ม

ลร่มขณะกระโดดร่มชูชีพ พลร่ม (Paratrooper) เป็นหน่วยทหารที่ได้รับการฝึกการกระโดดร่มเป็นพิเศษ มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติประมาณ 2 ปี พลร่มมีบทความในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีส่วนสำคัญในการนำชัยชนะมาสู่ฝ่ายพันธมิตร โดยพลร่มถูกฝึกให้เป็นแนวหน้าในการออกรบ ไม่ว่าจะเป็นที่นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส แองโทเฟิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ บาสตง ประเทศเบลเยียม พลร่ม ถูกฝึกมาด้วย ตำราชื่อ currahee ซึ่งเป็นชื่อภูเขา ที่พลร่มใช้วิ่งขึ้น-ลง มีคำกล่าวว่า ขึ้น 3 ไมล์ ลง 3 ไมล์ หมายถึง วิ่งขึ้นลง currahee นั่นเอง.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและพลร่ม · ดูเพิ่มเติม »

พอร์ตสมัท

อร์ตสมัท (Portsmouth) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของแฮมป์เชอร์เคาน์ตี ทางชายฝั่งตอนใต้ของอังกฤษ เป็นเมืองเกาะแห่งเดียวในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่บนเกาะพอร์ตซี ในช่องแคบอังกฤษ อยู่ห่างจากกรุงลอนดอนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 103 กม.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและพอร์ตสมัท · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพฝรั่งเศสเสรี

กองทัพฝรั่งเศสเสรี (Free French Forces, Forces Françaises Libres ย่อว่า FFL) คือกลุ่มต่อต้านชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งยังต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายอักษะของรัฐบาลฝรั่งเศสเสรี หลังจากการยอมแพ้ของประเทศฝรั่งเศสต่อนาซีเยอรมนี และยอมรับการปกครองภายใต้รัฐบาลนาซี ซึ่งก็คือ รัฐบาลวีชี และผู้ให้ความร่วมมือกับนาซีเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และมีฐานบัญชาการอยู่ที่ประเทศอังกฤษ กรุงลอนดอน.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและกองทัพฝรั่งเศสเสรี · ดูเพิ่มเติม »

การปลดปล่อยกรุงปารีส

การปลดปล่อยกรุงปารีส เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพสัมพันธมิตรทางตะวันตก อันได้แก่ สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ สหรัฐอเมริกา และกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้ทำการปลดปล่อยกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศลให้พ้นจากการปกครองของนาซีเยอรมันซึ่งถูกยึดครองมา 4 ปี จุดเริ่มต้นนั้นมาจากหลังการยึดครองหาดนอร์มังดีของกองทัพสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองทัพสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพและกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทำการขับไล่กองทัพเยอรมันโดยกองทัพสหรัฐจะทำการรุกเข้ายึดดินแดนส่วนทางด้านตะวันตกและทางใต้ของฝรั่งเศล ส่วนกองทัพอังกฤษและแคนนาดาจะรุกเข้าตีจากทางเหนือ แม้กองทัพเยอรมันได้พยายามจะขับไล่กองทัพสัมพันธมิตรออกไปจากนอร์มังดีแต่ต้องประสบกับความล้มเหลวและต้องตั้งรับอย่างยากลำบาก กองทัพสหรัฐและอังกฤษได้ร่วมมือกันทำการโอบล้อมกองทัพเยอรมันสองกองพลโดยทั้งสองกองทัพได้นัดหมายไปที่เมือง chambois เมื่อโอบล้อมได้สำเร็จ กองทัพเยอรมันสองกองพลก็ถูกบดขยี้อย่างหนักทำให้บางส่วนถูกทำลาย บางส่วนถูกจับกุมเป็นเชลย และบางส่วนหนีรอดออกจากวงโอบล้อมไว้ได้ ทางด้านกรุงปารีส ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทราบข่าวการรุกของกองทัพสัมพันธมิตรและเชื่อว่านครปารีสกำลังจะเป็นอิสระจากนาซีเยอรมันจึงทำการลุกขึ้นต่อต้านกองทัพเยอรมันที่ประจำการในกรุงปารีสจนเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังจากนั้นภายในสี่วัน กองทัพสหรัฐและกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้เคลื่อนพลจากเมือง chambois เข้าสู่กรุงปารีส จนกระทั่งกองทัพเยอรมันในกรุงปารีสได้ยอมจำนนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม..1944 ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทำการจัดงานเฉลิมฉลองในกรุงปารีสหลังจากได้รับอิสรภาพและคอยต้อนรับเหล่าทหารสัมพันธมิตรอย่างอบอุ่น รวมทั้งฝรั่งเศลได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศลใหม่ การปลดปล่อยในกรุงปารีสนั้นทำให้กองทัพเยอรมันทั้งหมดในฝรั่งเศลต้องถอนกำลังออกจากฝรั่งเศลไปตั้งรับที่แนวป้องกันซิกฟรีดในชายแดนระหว่างฝรั่งเศลและเยอรมัน รวมทั้งดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีที่เหลืออยู่ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก หลังการปลดปล่อยกรุงปารีสนั้นได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กองทัพสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะสงคราม เพราะนาซีเยอรมันต้องตั้งรับทั้งสองด้านคือแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออก แม้กองทัพเยอรมันจะมีสภาพยำแย่จากการพ่ายแพ้สงครามหลายครั้งแต่กลับยืดหยัดจะสู้จนตัวตาย ดังนั้นกองทัพสัมพันธมิตรจะต้องรุกเข้าสู่เยอรมนีเพื่อยุติสงครามให้ได้.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและการปลดปล่อยกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บริเตน

ยุทธการบริเตน (Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศหลวงของสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ยุทธการบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง หมวดหมู่:แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศ.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและยุทธการที่บริเตน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่มอสโก

ทธการมอสโก เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์โซเวียตตั้งโดยหมายถึงการสู้รบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สองช่วงบนพื้นที่ 600 กิโลเมตรบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและยุทธการที่มอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันตก

แผนที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้ดินแดนยุโรปตะวันตกนี้ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เป็นผลทำให้มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิหน้าหนาวไม่เย็นจัดเหมือนยุโรปที่อยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 36,933,412 ตารางกิโลเมตร ภาษาในภูมิภาคนี้มีมากมายเช่น กลุ่มภาษาโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ฯลฯ กลุ่มภาษาเยอรมานิค เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาสวีเดน ฯลฯ และ ภาษากรีก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก ความแตกต่างของประเทศในยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกคือระบอบการปกครองและการเมืองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มักจะกล่าวถึงว่าเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและวินสตัน เชอร์ชิล · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

วต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ (Dwight David "Ike" Eisenhower; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นทหารและนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1953 - ค.ศ. 1961) และเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง มียศทางการทหารเป็นนายพลห้าดาวซึ่งเทียบได้กับยศจอมพลในบางประเทศ ดไวต์ ดี.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (president) คือตำแหน่งประมุขหรือผู้นำของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีจะได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประม.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ม็องดี

นอร์ม็องดี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (พ.ศ. 2476-2488) และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับเลือกถึงสี่สมัย ก่อนการประกาศญัตติข้อที่ 22 ในปี..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์

ร์ล รูดอล์ฟ แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ (Karl Rudolf Gerd von Rundstedt; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1875 - 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight).

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ · ดูเพิ่มเติม »

แอร์วิน รอมเมิล

แอร์วิน โยฮันเนส ออยเกิน รอมเมิล (Erwin Johannes Eugen Rommel) สมญา จิ้งจอกทะเลทราย เป็นจอมพลที่โด่งดังที่สุดของกองทัพนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับความนับถือจากทั้งทหารฝ่ายเดียวกันและข้าศึก รอมเมิลเป็นนายทหารที่ได้รับการเชิดชูเกียรติขั้นสูงในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้รับเหรียญกล้าหาญ ''ปัวร์เลอแมริท'' สำหรับการปฏิบัติหน้าที่อันกล้าหาญในแนวรบอิตาลี ในสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงโด่งดังจากการบังคับบัญชากองพลพันเซอร์ที่ 7 สมญากองพลผี ระหว่างการบุกครองฝรั่งเศสใน..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและแอร์วิน รอมเมิล · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โอมาร์ แบรดลีย์

อมาร์ เนลสัน แบรดลี่ย์ (Omar Nelson Bradley12 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1893 – 8 เมษายน ค.ศ.1981), ชื่อเล่น แบรด เป็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของ กองทัพสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงมาจากการรบในการทัพตูนิเซียและแนวรบด้านตะวันตก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ามารับตำแหน่งนายพลตั้งแต่การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีไปจนถึงตราสารยอมจำนนของเยอรมนี แบรดลี่ย์สามารถคุมกองทัพอเมริกาได้ทั้งหมดในการบุกครองเยอรมนีโดยฝายสัมพันธมิตรเขาคุมกองทัพอเมริกาทั้งหมด 43 กองพลและกำลังทหาร 1.3 ล้านคน แนวของกองทัพสหรัฐอเมริกาถูกสั่งการโดยจอมพลคนนี้คนเดียว ช่วงหลังสงคราม แบรดลี่ย์ได้ดูแล กองทหารผ่านศึกและมารับตำแหน่งเสนาธิการกองทัพสหรัฐอเมริกาใน..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและโอมาร์ แบรดลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

6 มิถุนายน

วันที่ 6 มิถุนายน เป็นวันที่ 157 ของปี (วันที่ 158 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 208 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การบุกครองนอร์ม็องดีและ6 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Invasion of Normandyการรุกรานนอร์มังดีการรุกรานนอร์ม็องดีการบุกครองนอร์มังดียุทธการที่นอร์มังดียุทธการแห่งนอร์มังดียุทธภูมินอร์มังดี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »