โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ)

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย vs. ธีบส์ (กรีซ)

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480–479 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชต้องการพิชิตกรีซทั้งหมด หลังความพยายามครั้งแรกของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช พระราชบิดา ในการบุกกรีซล้มเหลว เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเซอร์ซีสใช้เวลาหลายปีในการวางแผนและรวบรวมกำลังพล ส่วนฝ่ายกรีกนำทัพโดยเอเธนส์และสปาร์ตา ร่วมด้วยนครรัฐอื่น ๆ กว่า 70 แห่ง อย่างไรก็ตาม นครรัฐกรีกส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลางหรือสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายเปอร์เซีย การบุกครองเริ่มในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล ทัพเปอร์เซียข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) ผ่านเธรซ มาซิดอนและเธสซาลี ก่อนจะพบกับกองทัพกรีก นำโดยพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 ที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี ในขณะที่ทัพเรือเปอร์เซียถูกทัพเรือกรีกปิดกั้นไว้ที่ช่องแคบอาร์เตมิเซียม ทัพของพระเจ้าลีออนิดัสต้านทานทัพเปอร์เซียได้นาน 7 วันก่อนจะพ่ายแพ้ ส่วนทัพเรือกรีกต้านทานทัพเรือเปอร์เซียได้นาน 2 วัน ก่อนจะล่าถอยไปที่เกาะซาลามิส เมื่อทราบข่าวความพ่ายแพ้ที่เทอร์มอพิลี ชัยชนะที่เทอร์มอพิลีทำให้บีโอเชียและแอตติกาตกเป็นของเปอร์เซีย ทัพเปอร์เซียยกไปถึงเอเธนส์และเผาเมือง ในขณะที่ทัพกรีกวางกำลังที่คอคอดคอรินท์เพื่อปกป้องคาบสมุทรเพโลพอนนีส เธมิสโตคลีส แม่ทัพชาวเอเธนส์ล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบแซลามิสก่อนจะให้ทัพเรือกรีกโจมตี ชัยชนะของฝ่ายกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิสทำให้การบุกครองของเปอร์เซียชะงัก จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับเอเชีย โดยปล่อยให้แม่ทัพมาร์โดเนียสและทหารฝีมือดีทำสงครามต่อ ในปีที่ 479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกรวบรวมทัพฮอปไลต์จำนวนมากที่สุดแล้วยกทัพขึ้นเหนือ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่เมืองพลาเทีย โดยทัพกรีกเป็นฝ่ายชนะ สังหารแม่ทัพมาร์โดเนียสและปลดปล่อยบีโอเชียและแอตติกา ในวันเดียวกัน ทัพเรือกรีกทำลายกองเรือเปอร์เซียในยุทธนาวีที่มิเคลี ชัยชนะสองครั้งในวันเดียวทำให้การบุกครองสิ้นสุด ส่งผลให้อำนาจของเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลดน้อยลง ต่อมาทัพกรีกได้โต้กลับและขับไล่เปอร์เซียออกจากหมู่เกาะอีเจียนและไอโอเนีย ระหว่างปีที่ 479–478 ก่อนคริสตกาล. ีบส์ (Thebes.; Θῆβαι,Thēbai,: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ)

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ) มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุทธการที่เทอร์มอพิลีสงครามกรีก-เปอร์เซียสปาร์ตาจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิดประเทศกรีซ

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี

ทธการที่เทอร์มอพิลี (Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books,.

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและยุทธการที่เทอร์มอพิลี · ธีบส์ (กรีซ)และยุทธการที่เทอร์มอพิลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ธีบส์ (กรีซ)และสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและสปาร์ตา · ธีบส์ (กรีซ)และสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช · จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชและธีบส์ (กรีซ) · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและจักรวรรดิอะคีเมนิด · จักรวรรดิอะคีเมนิดและธีบส์ (กรีซ) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและประเทศกรีซ · ธีบส์ (กรีซ)และประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ)

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ ธีบส์ (กรีซ) มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 13.64% = 6 / (19 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและธีบส์ (กรีซ) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »