เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การบินไทยและพันธมิตรสายการบิน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การบินไทยและพันธมิตรสายการบิน

การบินไทย vs. พันธมิตรสายการบิน

ริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ ในฐานะสายการบินแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 จากเว็บไซต์การบินไทย โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหลัก ทั้งนี้ การบินไทยยังได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์ เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบินนกแอร์ และเปิดตัวสายการบินลูก ไทยสมายล์ อีกด้วย ปัจจุบัน(มิถุนายน พ.ศ. 2561) การบินไทยบิน 64 สนามบินรวมต่างประเทศและในประเทศ แบ่งเป็นต่างประเทศ 60 สนามบิน ในประเทศไทย 4 สนามบินไม่รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งหมด 3 ทวีป 32 ประเทศทั่วโลกไม่รวมประเทศไทย จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยฝูงบินกว่า 84 ลำ การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบินอีกด้ว. ันธมิตรสายการบิน คือ การรวมกลุ่มกันระหว่างสายการบินสองสายหรือมากกว่าขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน (หรือบางครั้งอาจไม่ได้ใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน แต่สามารถเชื่อมต่อเที่ยวบินกันระหว่างเที่ยวบินในพันธมิตรฯ สองเที่ยวบินหรือมากกว่า), จัดตั้งรายการสะสมแต้มการบินร่วมกัน, การประชาสัมพันธ์ร่วมกันในนามพันธมิตรสายการบิน เป็นต้น พันธมิตรสายการบินที่สำคัญๆ มีอยู่สามกลุ่มได้แก่ สตาร์อัลไลแอนซ์, วันเวิลด์และสกายทีม นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรสายการบินกลุ่มอื่นอีก เช่น วานิลลาอัลไลแอนซ์ ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของสายการบินในประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย, ยู-ฟลายอัลไลแอนซ์ และ แวลูอัลไลแอนซ์ ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงพันธมิตรสายการบินขนส่งสินค้า ได้แก่ สกายทีมคาร์โก (SkyTeam Cargo) และวาวคาร์โกอัลไลแอนซ์ (WOW Cargo Alliance) สำหรับกลุ่มของสายการบินที่เป็นเครือเดียวกันทั้งหมดหรือใช้ชื่อยี่ห้อเดียวกันอยู่แล้วทั้งหมดตั้งแต่ต้น เช่น กลุ่มแอร์เอเชีย หรือกลุ่มไลอ้อนแอร์ นั้นไม่ถือว่าเป็นพันธมิตรสายการบิน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การบินไทยและพันธมิตรสายการบิน

การบินไทยและพันธมิตรสายการบิน มี 16 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มาเลเซียแอร์ไลน์ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ลุฟต์ฮันซาสตาร์อัลไลแอนซ์ออล นิปปอน แอร์เวย์ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันนกแอร์แอร์มาดากัสการ์แอร์แคนาดาไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ไชนาแอร์ไลน์ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์เอมิเรตส์แอร์ไลน์เอเชียน่าแอร์ไลน์เจแปนแอร์ไลน์เตอร์กิชแอร์ไลน์

มาเลเซียแอร์ไลน์

Malaysia Airlines head office มาเลเซียแอร์ไลน์ เป็นสายการบินประจำชาติของมาเลเซีย ให้บริการเดินทางทั้งในและนอกทวีป เคยเป็น 1 ใน 5 สายการบินที่ได้รับการจัดอันดับโดยสกายแทรกซ์ให้อยู่ในอันดับ 5 ดาว มาเลเซียแอร์ไลน์เคยเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีผู้คนยอมรับมากที่สุดในโลกตะวันออก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เครื่องบินของเที่ยวบินที่ 370 สูญหายระหว่างทำการบินในเดือนมีนาคม..

การบินไทยและมาเลเซียแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและมาเลเซียแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์

ำนักงานใหญ่ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ที่ชิคาโก ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (United Airlines) หนึ่งสายการบินชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี..

การบินไทยและยูไนเต็ดแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและยูไนเต็ดแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ลุฟต์ฮันซา

อาคารสำนักงานลุฟท์ฮันซา ลุฟท์ฮันซา (Lufthansa) เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี ใหญ่เป็นอันดับสองในยุโรปรองจากกลุ่มแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม และใหญ่เป็นอันดับห้าของโลกในจำนวนผู้โดยสาร ก่อตั้งในปี..

การบินไทยและลุฟต์ฮันซา · พันธมิตรสายการบินและลุฟต์ฮันซา · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์อัลไลแอนซ์

350px สตาร์อัลไลแอนซ์ (Star Alliance) เป็น เครือข่ายพันธมิตรสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่อ14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 โดยมีสายการบินก่อตั้ง 5 สายการบินคือ แอร์แคนาดา ลุฟต์ฮันซา ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม และการบินไทย ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมจำนวน 28 สายการบิน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี โดยสายการบินทั้งหมดที่ร่วมด้วยจะมีความร่วมมือกันดังนี้.

การบินไทยและสตาร์อัลไลแอนซ์ · พันธมิตรสายการบินและสตาร์อัลไลแอนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ออล นิปปอน แอร์เวย์

ออลนิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways) หรือ บริษัท เดินอากาศเซ็งนิปปง มหาชนจำกัด หรือย่อว่า ANA เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีท่าอากาศยานหลักนานาชาติคือ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ และ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (โอซาก้าใต้) และมีท่าอากาศยานหลักภายในประเทศคือ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาติโอซะกะ ท่าอากาศยานชูบุเซ็นแทรร์ (นาโกย่า) และ ท่าอากาศยานชินชิโตเสะ (ซัปโปโร) ANA จัดตั้งขึ้นโดยการควบรวมของ แอร์นิปปอน (สายการบินภูมิภาค) และ แอร์เจแปน (ผู้ให้บริการเช่าเหมาลำ) และต่อมาในปี 2547 ANA ได้จัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำในนามของ แอร์เน็กซ์ (Air Next) เพื่อทำการบินจากท่าอากาศยานฟุกุโอกะ ซึ่งเริ่มทำการบินครั้งแรกในปี 2548 และในปีเดียวกันนั้น (2547) ANA ได้เป็นผู้ถืหุ้นหลักในสายการบินนะกะนิคอน แอร์ไลน์ เซอร์วิส (NAL) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองนาโกย่า และในปี 2548 ได้เปลี่ยนชื่อนะกะนิคอนฯ เป็น แอร์ เซ็นทรัล พร้อมทั้งย้ายที่ทำการไปยังท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร.

การบินไทยและออล นิปปอน แอร์เวย์ · พันธมิตรสายการบินและออล นิปปอน แอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน

ตารางการบินที่แสดงเที่ยวบินร่วมที่ท่าอากาศยานวอลซอล โชแปง ตารางการบินที่แสดงเที่ยวบินร่วมที่ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน (codeshare agreement หรือ codeshare) หรือ เที่ยวบินร่วม เป็นข้อตกลงทางธุรกิจการบินระหว่าง 2 สายการบินหรือมากกว่าทำการบินร่วมกันในเที่ยวบินเดียวกัน (การบินร่วมในที่นี้หมายถึงแต่ละสายการบินทำการจำหน่ายตั๋วเครื่องบินสายการบินของตนเอง แต่ทำการรวมเที่ยวบินของแต่ละสายมาใช้เครื่องบินลำเดียวกันและตารางเวลาเที่ยวบินเดียวกัน) ซึ่งผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินของสายการบินและเที่ยวบินที่ต้องการ แต่อาจทำการบินด้วยสายการบินเดียวที่ร่วมข้อตกลงนั้นไว้ โดยทั่วไปจะเรียกว่า สายการบินที่ปฏิบัติการ หรือ "สายการบินที่บริการจัดการ" (ตามคำนิยามใน IATA Standard Schedules Information Manual) สำหรับรหัสของเที่ยวบินของเที่ยวบินร่วมนั้น จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรสองตัวที่แทนรหัสของสายการบินตาม IATA แล้วตามด้วยเลขที่เที่ยวบิน เช่น XX123 (เที่ยวบินที่ 123 ทำการบินด้วยสายการบิน XX) ซึ่งอาจจะทำการขายตั๋วเครื่องบินของสายการบินอื่นโดยใช้เที่ยวบินอื่นเช่น สายการบิน YY เที่ยวบินที่ YY4456 และ สายการบิน ZZ เที่ยวบินที่ ZZ9876.

การบินไทยและข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน · ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันและพันธมิตรสายการบิน · ดูเพิ่มเติม »

นกแอร์

นกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดของประเทศไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อบริษัท สกายเอเชีย จำกัด (Sky Asia Ltd.) เริ่มทำการบินครั้งแรกวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (Nok Airlines Co., Ltd.) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 เพื่อเตรียมนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเริ่มซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 20 มิถุนายนปีเดียวกัน สายการบินนกแอร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีบริษัทร่วมทุนดังนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น 49%) บริษัท นกแอร์แมนเนจเม้นท์ฮ่องกง จำกัด (25%) บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) (6%) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (5%) บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (5%) ผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ (10%) โดยมีนายพาที สารสิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่ก่อตั้งสายการบิน จนกระทั่งนายพาทีลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งนายปิยะ ยอดมณี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน.

การบินไทยและนกแอร์ · นกแอร์และพันธมิตรสายการบิน · ดูเพิ่มเติม »

แอร์มาดากัสการ์

Air Madagascar head office แอร์มาดากัสการ์ เป็นสายการบินประจำชาติมาดากัสการ์ รัฐบาลมาดากัสการ์ถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่ง ก่อตั้งในวันที่ 1 มกราคม..1962 เริ่มให้บริการเที่ยวบินในวันที่ 14 ตุลาคม..1962 โดยในตอนแรกใช้ชื่อแมดแอร์ (Madair) แต่ต่อมาไม่นานได้เปลี่ยนชื่อเป็น แอร์มาดากัสการ์ หลังจากการบริการมีปัญหา ในปี..

การบินไทยและแอร์มาดากัสการ์ · พันธมิตรสายการบินและแอร์มาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

แอร์แคนาดา

แอร์ แคนาดา เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศแคนาดา อีกทั้งยังเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลกเมื่อนับตามขนาดฝูงบิน ก่อตั้งในปี..

การบินไทยและแอร์แคนาดา · พันธมิตรสายการบินและแอร์แคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์

China Eastern Airlines and Shanghai Airlines headquarters ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่ให้บริการทั้งเส้นทางภายในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศ โดยมีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง และท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และยังมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงอูเจียป้า และท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของจีน เมื่อนับจากจำนวนผู้โดยสาร และเมื่อวันที่ 16 เมษายน..2010 ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศตัวเข้าเป็นสามชิกของกลุ่มสกายทีม.

การบินไทยและไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาแอร์ไลน์

CAL Park, China Airlines headquarters The former China Airlines headquarters in Taipei ไชน่าแอร์ไลน์ เป็นสายการบินแห่งชาติของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน และมีสำนักงานใหญ่ที่เขตต้าหยวน เทศมณฑลเถาหยวน ให้บริการจุดหมายปลายทางทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเริ่มให้บริการเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จุดหมายที่สำคัญคือเมืองเซี่ยงไฮ้ กวางโจว ปักกิ่ง และฮ่องกง คู่แข่งที่สำคัญของไชนาแอร์ไลน์ คือสายการบินอีวาแอร์ซึ่งเป็นสายการบินเอกชนของไต้หวัน ในเครื่อเอเวอร์กรีน.

การบินไทยและไชนาแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและไชนาแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์

China Southern head office ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินหนึ่งในสามสายการบินหลักสัญชาติจีน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เขตไป่หยวน เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกในจำนวนผู้โดยสาร เป็นสายการบินที่มีขนาดฝูงบินใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย, และอันดับ 4 ของโลกในจำนวนผู้โดยสารเดินทางภายในประเทศ มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป้หยวน และท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง กับ 121 จุดหมายปลายทาง ปัจจุบันเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรทางการบินสกายทีม ในปี..

การบินไทยและไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เอมิเรตส์แอร์ไลน์

แอร์บัส เอ 380 F-WWDD โดยใช้ลายเครื่องของเอมิเรตส์ ในงานดูไบแอร์โชว์ เมื่อพ.ศ. 2548 เอมิเรตส์แอร์ไลน์ (อาหรับ: طيران الإمارات) เป็นสายการบินของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้บริการไปยัง 87 จุดหมายปลายทางใน 59 ประเทศทั่วโลก และยังให้บริการขนส่งสินค้าภายใต้ชื่อเอมิเรตส์ สกายคาร์โก โดยให้บริการหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติดู.

การบินไทยและเอมิเรตส์แอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและเอมิเรตส์แอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียน่าแอร์ไลน์

อเชียนาแอร์ไลน์ (Asiana Airlines) เป็นสายการบินที่มีฐานอยู่ที่โซล สาธารณรัฐเกาหลี และเป็นหนึ่งในสองสายการบินหลักของเกาหลีใต้ เอเชียนาแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของ Star Alliance และให้บริการเส้นทางการบินไปยังจุดหมายปลายทางภายในประเทศ 12 แห่ง และระหว่างประเทศ 73 แห่งใน 17 ประเทศ สำนักงานใหญ่และศูนย์กลางระหว่างประเทศของเอเชียนาแอร์ไลน์ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน (ใกล้กับโซล) ขณะที่ศูนย์กลางภายในประเทศตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป.

การบินไทยและเอเชียน่าแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและเอเชียน่าแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เจแปนแอร์ไลน์

แปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines) หรือ บริษัท สายการบินญี่ปุ่น มหาชนจำกัด หรือ เจเอแอล (JAL) เป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่นรองจากสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ มีศูนย์การบินอยู่สองแห่งในโตเกียวคือท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะกับท่าอากาศยานนานาชาติฮะเนะดะ และอีกสองแห่งในจังหวัดโอซะกะคือท่าอากาศยานนานาชาติคันไซและท่าอากาศยานนานาชาติอิตะมิ ปัจจุบันมีเส้นทางบินระหว่างประเทศ 33 จุดหมายในทวีปเอเชีย, อเมริกา, ยุโรป และโอเชียเนีย และมีเส้นทางบินในประเทศ 59 จุดหมาย สายการบินก่อตั้งในรูปแบบบริษัทเอกชนเมื่อ 1 สิงหาคม..

การบินไทยและเจแปนแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและเจแปนแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เตอร์กิชแอร์ไลน์

ำนักงานใหญ่ของเตอร์กิชแอร์ไลน์ เตอร์กิชแอร์ไลน์ (Türk Hava Yolları; Turkish Airlines) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศตุรกี ก่อตั้งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1933 ให้บริการภายในประเทศ 50 เส้นทาง และในต่างประเทศ 242 เส้นทาง ทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกา ใน ค.ศ. 2017 มีผู้ใช้บริการกว่า ล้านคน สายการบินนี้ให้บริการทั้งชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด ได้รับรางวัล "สายการบินที่ดีที่สุดในยุโรป" 6 ปีซ้อนจากสกายแทร็กซ์ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรในกลุ่มสตาร์ อัลไลแอนซ.

การบินไทยและเตอร์กิชแอร์ไลน์ · พันธมิตรสายการบินและเตอร์กิชแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การบินไทยและพันธมิตรสายการบิน

การบินไทย มี 266 ความสัมพันธ์ขณะที่ พันธมิตรสายการบิน มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 16, ดัชนี Jaccard คือ 5.14% = 16 / (266 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การบินไทยและพันธมิตรสายการบิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: