โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมและไคเซ็ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมและไคเซ็ง

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม vs. ไคเซ็ง

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance, TPM) คือ ปรัชญา (Philosophy) หรือเครื่องมือ (Tool) ในการบริหารการผลิต ขึ้นอยู่กับลักษณะและขอบเขตของการนำไปใช้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ขององค์กร หรือ Company Performance ที่แสดงออกมาในรูปของคุณภาพของสินค้า (Product Quality) การลดและควบคุมต้นทุน (Cost Reduction & Control) การส่งมอบที่ตรงเวลา (On Time Delivery) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Safety and Environment) เป้าหมายสูงสุดของ TPM คือ เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ หรือ Zero Breakdown ของเสียเป็นศูนย์ หรือ Zero Defect และอุบัติเหตุเป็นศูนย์ Zero Accident เสาหลัก 8 ประการ (8 Pillars) ของ TPM ประกอบด้วย การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง หรือ Individual Improvement การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance การบำรุงรักษาตามแผน หรือ Planned Maintenance การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา หรือ Operation and Maintenance Skill Development การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ หรือ Initial Phase Management การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ หรือ Quality Maintenance การดำเนินการ TPM ในส่วนสำนักงานหรือส่วนสนับสนุน หรือ TPM in Office ระบบชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม หรือ Safety, Hygiene and Working Environment การดำเนินการ TPM บางครั้งต้องมีกิจกรรมอื่นควบคู่กันไปด้วย เพื่อเป็นส่วนเสริมหรือส่วนเพิ่มศักยภาพ เช่น การดำเนินกิจกรรม 5ส หรือ 5s Activity การนำระบบการควบคุมด้วยการมองเห็นหรือ Visual Control การติดตั้งระบบป้องกันความผิดพลาด หรือ Poka - Yoke แม้กระทั่งการนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ IE Technique มาใช้ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดความสูญเสีย (waste) ในกระบวนการผลิตหรือการบริหารการผลิต ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ระบบการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย หรือ Waste-free Production ได้อีกทางหนึ่ง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม วัดประสิทธิผลของการปฏิบัติที่ค่า ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ซึ่งถือเป็นดัชนีความสำเร็จในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีหน่วยวัดอื่น เช่นการวัดระยะเวลาเฉลี่ยที่เครื่องจักรใช้งานได้ก่อนการเสียหาย หรือ MTBF (Mean Time Between Failure) และ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเสียแต่ละครั้ง หรือ MTTR (Mean Time To Repair) อีกทั้งอัตราการซ่อมบำรุงเมื่อขัดข้อง หรือ Breakdown Maintenance Ration (BM-Rate) อัตราการบำรุงรักษาเชิงป้องกันหรือ Preventive Maintenance Ratio (PM-Rate) หรือ อาจจะวัดในเชิงของการแก้ไขและปรับปรุง โดยใช้อัตราการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขและปรับปรุงหรือ Corrective Maintenance Ratio (CM Rate) นอกจากนั้น ยังอาจจะวัดที่อัตราการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ หรือ Predictive Maintenance Ratio อัตราการป้องกันการบำรุงรักษา หรือ Preventive Maintenance Ratio รวมถึง ความสามารถในการติดตั้งระบบปราศจากการบำรุงรักษา หรือ Maintenance-free System. ซ็ง เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไคเซ็งโดยความหมายทั่วๆไปแล้วจะหมายความว่า สภาพสิ่งที่ไม่ดีปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมการผลิตไคเซ็งที่ใช้ในโรงงานผู้ปฏิบัติงานจะเป็นแกนกลางในการปฏิบัติในกิจกรรมนี้ (Bottom up).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมและไคเซ็ง

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมและไคเซ็ง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมและไคเซ็ง

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม มี 1 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไคเซ็ง มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (1 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมและไคเซ็ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »