โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและปลาไทเมน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและปลาไทเมน

การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ vs. ปลาไทเมน

การเผาป่าเพื่อใช้เนื้อที่ในการเกษตรในเม็กซิโก การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ (Habitat destruction) หมายถึงกระบวนการที่ถิ่นฐานธรรมชาติถูกทำให้กลายเป็นถิ่นฐานที่ไม่อาจจะสนับสนุนหรือไม่อาจจะใช้ในการการดำรงชีวิตของสปีชีส์ที่เคยดำรงชีวิต ณ ถิ่นฐานนั้นแต่เดิมได้ กระบวนการดังว่านี้เป็นการกำจัดโดยการทำให้ต้องเคลื่อนย้ายหรือทำลายสิ่งที่มีชีวิตจากถิ่นฐานที่เดิมเคยดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นการลดความหลาหลายของชีวภาพ (biodiversity) การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติโดยมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นการทำเพื่อการขยายตัวทางเกษตรกรรม, การขยายตัวทางอุตสาหกรรม และ การขยายตัวของเมือง กิจการอื่นที่ทำลายถิ่นฐานธรรมชาติก็ได้แก่การทำเหมือง และ การถางป่า การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติเป็นสาเหตุลำดับหนึ่งในการสร้างการสูญพันธุ์ให้แก่สปีชีส์ต่างๆ ทั่วโลก ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการวิวัฒนาการ และการอนุรักษ์ชีวภาพ สาเหตุอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำลายสปีชีส์ก็ได้แก่การสร้างความแตกแยกแก่ถิ่นฐานธรรมชาติ (habitat fragmentation), ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา, ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ, การรุกรานของสปีชีส์อื่น, ความเปลี่ยนแปลงของอาหารในสิ่งแวดล้อม คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันที่ใช้ก็ได้แก่ “การสูญเสียถิ่นฐานธรรมชาติ” (loss of habitat) หรือ “การลดบริเวณถิ่นฐานธรรมชาติ” (habitat reduction) ที่มีความหมายที่กว้างออกไปที่รวมทั้งการสูญเสียถิ่นฐานที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่นจาก น้ำเสีย และ noise pollution. ปลาไทเมน หรือ ปลาไซบีเรียนไทเมน หรือ ปลาไซบีเรียนแซลมอน (Taimen, Siberian taimen, Siberian salmon) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) พบในแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำแปโชราในรัสเซีย นอกจากนี้แล้วยังพบในลุ่มแม่น้ำอามูร์, ระหว่างทะเลสาบแคสเปียนกับมหาสมุทรอาร์กติกในอนุทวีปยูเรเชีย และบางส่วนของมองโกเลีย มีสีลำตัวแตกต่างหลากหลายออกไปตามแต่ละภูมิประเทศ แต่โดยทั่วไปลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเขียวมะกอก หัวมีสีคล้ำกว่า ครีบและหางสีแดงเข้ม ส่วนท้องสีขาว ตามลำตัวมีรอยจุดสีคล้ำสำหรับพรางตัวซุ่มซ่อนตามธรรมชาติ ปากกว้าง ภายในปากมีฟันที่แหลมคมเหมือนเข็มที่งองุ้มเข้ามาด้านใน และแม้แต่ลิ้นก็มีส่วนประกอบที่แหลมคมคล้ายฟัน ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 210 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 105 กิโลกรัม เป็นสถิติที่พบในรัสเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1988 ซึ่งจัดได้ว่าปลาไทเมนเป็นปลาแซลมอนชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปลาไทเมนไม่ใช่ปลาสองน้ำเหมือนกับปลาแซลมอนชนิดอื่น ๆ เพราะวางไข่และเติบโตหากินอยู่เฉพาะในแหล่งน้ำจืดอย่างเดียวเท่านั้น ปลาไทเมนจัดเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมของนักตกปลาอีกด้วย ด้วยความที่เป็นปลาขนาดใหญ่และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและเย็น จึงนิยมตกกันแบบฟลายฟิชชิ่ง ซึ่งต้องตกกันก่อนถึงฤดูหนาวที่น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง ปลาไทเมนเป็นปลาที่ดุร้ายก้าวร้าว เคยกัดทำร้ายคนตกจนเลือดอาบได้รับบาดเจ็บที่ต้นแขนมาแล้ว มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำเชี่ยว โดยหลบซ่อนตัวอยู่หลังก้อนหินเพื่อรอเหยื่อให้ผ่านมาและจับกินเป็นอาหาร ซึ่งปลาไทเมนสามารถจับปลาแซลมอนหรือปลาเทราต์ซึ่งเป็นปลาจำพวกเดียวกันกินได้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินงูพิษได้อีกด้วยMongolian Mauler, "River Monsters".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและปลาไทเมน

การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและปลาไทเมน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและปลาไทเมน

การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ มี 2 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาไทเมน มี 50 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (2 + 50)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติและปลาไทเมน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »