การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
การทหาร vs. การเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง. การเกณฑ์ทหารเป็นกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งในทางปฏิบัติพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดหน้าที่นี้ให้เฉพาะชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมายมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน ชายไทยเริ่มเป็นทหารกองเกินนับแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ทหารกองเกินอาจถูกเรียกไปรับการตรวจเลือกเพื่อเข้ากองประจำการได้เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ทหารกองเกินเมื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการครบกำหนด หรือสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด หรือมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ จะถูกปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อเวลาผ่านไปหรืออายุครบตามที่กำหนดทหารกองหนุนก็จะถูกปลดพ้นราชการทหาร ในระหว่างที่เป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนนั้น อาจถูกเรียกพลได้ตามที่กระทรวงกลาโหมเห็นสมควร และอาจถูกระดมพลได้หากมีพระราชกฤษฎีกา ชายไทยจำนวนมากไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการเพราะผ่านการเรียนรักษาดินแดนครบสามปี หรืออาจมีเหตุได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันได้ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกหรือไปในวันตรวจเลือก แต่ถูกคัดออกเสียก่อน สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนรักษาดินแดน หรือ เรียนไม่ครบหลักสูตรตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด (ไม่จบชั้นปีที่ 3) หรือ ผ่อนผันครบกำหนดแล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือกเข้ากองประจำการเต็มขั้น โดยถูกจำแนกออกเป็นสี่จำพวกตามความสมบูรณ์ของร่างกาย หากมีผู้ประสงค์สมัครใจเข้ากองประจำการเต็มจำนวนที่รับแล้ว ก็จะไม่มีการจับสลาก ส่วนในกรณีที่มีผู้สมัครไม่พอและมีคนให้เลือกมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็จะใช้วิธีจับสลากใบดำใบแดง ผู้จับได้ใบแดงจะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ แม้จะมีบทลงโทษที่ร้ายแรง ก็มีรายงานการช่วยให้พ้นจากการรับราชการทหารกองประจำการด้วยวิธีนานาประการอยู่เนือง ๆ ซึ่งหลายครั้งก็เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้มีชื่อเสียงในสังคม ในช่วงปีหลังมีความพยายามเรียกร้องให้ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส กล่าวว่า หากตนได้รับเลือกตั้งจะยกเลิกการเกณฑ์ทหาร.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
การเปรียบเทียบระหว่าง การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย
การทหาร มี 2 ความสัมพันธ์ขณะที่ การเกณฑ์ทหารในประเทศไทย มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (2 + 34)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การทหารและการเกณฑ์ทหารในประเทศไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: