โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทรมานและฌ็อง-เบแดล บอกาซา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การทรมานและฌ็อง-เบแดล บอกาซา

การทรมาน vs. ฌ็อง-เบแดล บอกาซา

การทรมาน (torture) เป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางกายหรือจิตใจต่อสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองความปรารถนาบางอย่างของผู้ทรมานหรือบังคับให้สิ่งที่ถูกทรมานกระทำบางอย่าง การทรมานโดยนิยามเป็นการกระทำที่รู้สำนึกและเจตนา ปกติการกระทำโดยไม่รู้สำนึกหรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างละเลยโดยปราศจากเจตนาเช่นนั้นไม่ถือเป็นการทรมาน ปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือรัฐใช้หรืออนุมัติการทรมานโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน และรูปแบบการทรมานมีระยะเวลาได้หลากหลายตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงหลายวันหรือกว่านั้น สาเหตุของการทรมานนั้นมีได้ตั้งแต่การลงโทษ การล้างแค้น การล้างสมอง การป้องปราม การบีบบังคับผู้เสียหายหรือบุคคลอื่น การสอบสวนเพื่อล้วงสารสนเทศหรือคำสารภาพโดยไม่คำนึงว่าเป็นเท็จหรือไม่ หรือเป็นเพียงความพึงพอใจแบบซาดิสต์ของผู้ที่ลงมือหรือสังเกตการทรมานนั้น ในกรณีอื่น ผู้ทรมานอาจแตกต่างจากเงื่อนไขของผู้เสียหาย มีการออกแบบการทรมานบางรูปแบบเพื่อก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางจิตใจหรือทิ้งการบาดเจ็บทางกายหรือหลักฐานน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขณะที่มีการทำลายทางจิตใจอย่างเดียวกัน ผู้ทรมานอาจฆ่าหรือทำให้บาดเจ็บซึ่งผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้ แต่บางครั้งการทรมานทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยเจตนาและใช้เป็นโทษประหารชีวิตรูปแบบหนึ่ง รูปแบบการทรมานซึ่งเจตนาให้ถึงตายอาจยืดออกไปเพื่อให้ผู้เสียหายทุกข์ทรมานมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น การแขวนคอครึ่ง) แม้บางรัฐอนุมัติการทรมาน แต่กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศของประเทศส่วนใหญ่ห้าม แม้การทรมานมิชอบด้วยกฎหมายและมีการประณามอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีการอภิปรายอยู่ว่าสิ่งใดมีนิยามทางกฎหมายว่าเป็นการทรมาน การทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและข้อ 5 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกาศว่ายอมรับไม่ได้ (แต่ไม่ขัดต่อกฎหมาย) ประเทศภาคีอนุสัญญาเจนีว.. ฌ็อง-เบแดล บอกาซา (Jean-Bédel Bokassa) เป็นอดีตจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิแอฟริกากลาง (สาธารณรัฐแอฟริกากลางในปัจจุบัน) เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 ที่แอฟริกากลางขณะเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส เมื่อโตขึ้นจึงเข้าร่วมกับกองทัพแอฟริกากลางเพื่อต่อต้านและเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ได้เป็นแนวหน้าสู้รบอย่างกล้าหาญ จนได้เหรียญกล้าหาญมาได้ จนในที่สุดแอฟริกากลางก็ได้รับเอกราช แต่บอกาซาก็ฉวยโอกาสตอนที่บ้านเมืองยังอ่อนแอจากการรับเอกราชใหม่ ๆ ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐแอฟริกากลางของดาวีด ดักโก ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1966 และบริหารประเทศในฐานะผู้นำประเทศ จนกระทั่งในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1976 บอกาซาได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิบอกาซาที่ 1 แห่งจักรวรรดิแอฟริกากลาง ใช้จ่ายบนสิทธิกษัตริย์อย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย มีฉลองพระองค์และฉลองพระบาทประดับมุก สร้างพระราชบัลลังก์ให้ทองคำรูปนกอินทรีขนาดยักษ์ สร้างพระราชวังหินอ่อน ประดับโคมไฟระย้าสุดวิจิตร สูบเงินประเทศชาติจนแทบล่มจม นอกจากนี้ยังมีการลงโทษศัตรูและนักโทษในประเทศอย่างโหดร้าย ตั้งแต่พระราชอาญาที่ไม่ถึงตาย เช่น การตัดใบหู จนถึงพระราชอาญาถึงตาย เช่น การทุบตีจนตายอย่างทรมาน โยนเข้าไปในกรงสิงโต โยนลงบ่อจระเข้ จนถึงการส่งตัวให้แก่ชนเผ่ากินคน แต่วิธีการลงโทษทั้งหมดเป็นความลับซึ่งมีแต่คนในเท่านั้นที่จะรู้ ส่วนความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายไม่ใช่ความลับ เพราะบอกาซาเห็นว่าปกปิดไม่ได้ ประชาชนคนนอกจึงรู้ดี ทำให้ประชาชนเริ่มไม่พอใจ จนกระทั่งในที่สุด ประชาชนที่นำโดยดาวีด ดักโก ผู้ที่บอกาซาเคยโค่นล้มเมื่อสิบกว่าปีก่อน โค่นพระราชอำนาจจักรพรรดิบอกาซาที่ 1 และยกเลิกจักรวรรดิแอฟริกากลางแล้วรื้อฟื้นสาธารณรัฐแอฟริกาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1979 ส่วนบอกาซาหลบหนีอออกนอกประเทศไปได้ และความลับเรื่องวิธีการที่เขาลงโทษฝ่ายตรงข้ามก็ถูกเปิดเผย ดังนั้น ในเวลาต่อมา ศาลของสาธารณรัฐแอฟริกากลางจึงตัดสินโทษบอกาซาให้สำเร็จโทษ แต่ตอนนั้นบอกาซายังไม่กลับเข้าประเทศ ทางด้านบอกาซาแม้จะรู้ว่าหากกลับประเทศแล้วจะเจอโทษอะไร แต่ยังกลับสาธารณรัฐแอฟริกากลางในปี ค.ศ. 1987 เพราะคิดว่าตนเองเป็นวีรบุรุษของชาติ เขาจึงถูกจับขึ้นศาล แต่ศาลของรัฐบาลใหม่ได้แสดงความเมตตาโดยการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ก่อนที่ปีต่อมาจะถูกลดโทษให้เหลือจำคุก 20 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1993 บอกาซาได้รับการนิรโทษกรรมจากปัญหาด้านสุขภาพจากประธานาธิบดีอองเดร โคลิงบา ซึ่งเป็นประธาธิบดีคนเดียวกับที่ตัดสินโทษแก่บอกาซา โดยเมื่อถูกปล่อยตัว เขาได้อ้างว่าเป็นอัครทูตองค์ที่สิบสาม พร้อมกับอ้างว่าเคยพบกับสมเด็จพระสันตะปาปาอย่างลับๆ บอกาซาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่บ้านของตนเองเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 รวมอายุ 75 ปี โดยได้รับการรายงานว่าเขามีภรรยา 17 คน และบุตรกับสตรีรวมกัน 50 คน หมวดหมู่:จักรพรรดิ หมวดหมู่:บุคคลที่เคยนับถือศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:บุคคลที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การทรมานและฌ็อง-เบแดล บอกาซา

การทรมานและฌ็อง-เบแดล บอกาซา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การทรมานและฌ็อง-เบแดล บอกาซา

การทรมาน มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฌ็อง-เบแดล บอกาซา มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (9 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การทรมานและฌ็อง-เบแดล บอกาซา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »