เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ vs. ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) เป็น การติดเชื้อ จากแบคทีเรีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อส่วนของ ทางเดินปัสสาวะ หากติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง จะถือว่าเป็น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ) ทั่วๆ ไป ในขณะที่หากติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนบน จะถือว่าเป็น โรคกรวยไตอักเสบ (การติดเชื้อที่ไต) --> อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างคือ รู้สึกเจ็บปวดขณะที่ ปัสสาวะ และถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งหรือจำเป็นต้องปัสสาวะทันที (หรือทั้งคู่) ในขณะที่อาการที่เกิดจากโรคกรวยไตอักเสบนั้น นอกจากจะเหมือนกับที่พบในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแล้ว ผู้ป่วยยัง มีไข้ และ เจ็บที่บริเวณข้างลำตัว เพิ่มเติมอีกด้วย ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้เยาว์ อาการอาจไม่ชัดเจนและเจาะจงประเภทไม่ได้ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อทั้งสองประเภทคือ Escherichia coli แต่แบคทีเรีย ไวรัสหรือ เชื้อรา อื่นอาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน แม้ไม่บ่อยก็ตาม การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักจะเกิดในกลุ่มประชากรหญิงมากกว่าประชากรชาย ครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้หญิงทั้งหมดมักจะติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และมักจะมีอาการซ้ำอีก ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้แก่ สรีระของสตรี การมีเพศสัมพันธ์ และประวัติการติดเชื้อภายในครอบครัว ปกติแล้ว โรคกรวยไตอักเสบมักจะเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ แต่อาจมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อทางเลือด ได้เช่นกัน การวินิจฉัยโรคในกลุ่มหญิงสาวสุขภาพแข็งแรงสามารถใช้อาการป่วยเป็นข้อมูลอ้างอิงเดียวได้ แต่หากผู้ป่วยมีอาการไม่ชัดเจน การวินิจฉัยโรคอาจเป็นไปได้ยาก เพราะแบคทีเรียที่พบอาจไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ในกรณีที่ซับซ้อนหรือบำบัดรักษาได้ไม่สำเร็จ การเพาะเชื้อจากปัสสาวะ อาจเป็นทางเลือกที่เป็นประโยขน์ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อบ่อย การบำบัดด้วย ยาปฏิชีวนะ ในปริมาณต่ำอาจใช้เป็นวิธีการป้องกันอย่างหนึ่งได้ ในกรณีที่ไม่ซับซ้อน การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะอาจรักษาได้ง่ายด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลาสั้นๆ ถึงแม้ว่าอัตราอาการดื้อยา ต่อยาหลากชนิดที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยนี้จะเพิ่มขึ้นก็ตาม ในกรณีซับซ้อน ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานขึ้นหรือต้องฉีดยาเข้าเส้นเลือด และถ้าหากอาการไม่ทุเลาขึ้นภายในเวลา 2-3 วัน อาจต้องมีการทดสอบวินิจฉัยเพิ่มเติม ในหมู่ประชากรหญิง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะถือเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด โดยมีอัตราอยู่ที่ 10% ต่อปี. วะพิษเหตุติดเชื้อ ปรับปรุงเมื่อ 6..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรวยไตอักเสบการติดเชื้อภาวะเลือดมีแบคทีเรียยาปฏิชีวนะราปัสสาวะแบคทีเรียโรคไตเรื้อรังไวรัสเม็ดเลือดขาว

กรวยไตอักเสบ

กรวยไตอักเสบ (pyelitis) หรือ กรวยไตและไตอักเสบ (pyelonephritis) คือภาวะที่มีการอักเสบของเนื้อไต (renal parenchyma) และกรวยไต (renal pelvis และ renal calyx) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามมาจากระบบปัสสาวะ หรืออีกทางหนึ่งคือมาจากเลือด หากเป็นมากอาจทำให้เกิดไตเป็นหนอง, ติดเชื้อในกระแสเลือด (urosepsis), ไตวาย หรือเสียชีวิตได้ Category:การอักเสบ Category:โรคไต Category:วักกวิทยา.

กรวยไตอักเสบและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ · กรวยไตอักเสบและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

การติดเชื้อและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ · การติดเชื้อและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย

วะเลือดมีแบคทีเรีย (Bacteremia) เป็นภาวะที่พบแบคทีเรียในเลือด โดยปกติเลือดเป็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ ดังนั้นการพบแบคทีเรียในเลือดนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติเสมอ เชื้อแบคทีเรียอาจเข้าสู่กระแสเลือดได้จากการติดเชื้อรุนแรง (เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) จากการผ่าตัด (โดยเฉพาะที่ต้องกระทำกับเยื่อเมือก เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร) จากการใส่สายสวนหรือการใส่สิ่งแปลกปลอมคาไว้ในหลอดเลือด (รวมถึงการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดด้วย) ภาวะเลือดมีแบคทีเรียอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการมีแบคทีเรียในเลือดอาจทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หรือลุกลามเป็นภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ซึ่งมีอัตราการตายสูง เชื้อแบคทีเรียในเลือดอาจแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ได้ เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือกระดูกและไขกระดูกอักเสบ ซึ่งมักเกิดตามมาจากการมีแบคทีเรียในเลือด ในกรณีที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ อาจมีการให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการป้องกันด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันได้.

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะเลือดมีแบคทีเรีย · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและภาวะเลือดมีแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและยาปฏิชีวนะ · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

รา

รา หรือ เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเห็ดราซึ่งโตในรูปของใยหลายเซลล์ที่เรียกว่า ไฮฟา ในทางตรงกันข้าม ราที่สามารถเติบโตในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะเรียกว่า ยีสต์ รามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ซึ่งการเติบโตของไฮฟา ทำให้เกิดรูปร่างที่ผิดแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอาหาร รามีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid) มีผนังเซลล์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไคติน (chitin) ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีพแบบ saprophyte คือ หลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้ได้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดแล้วจึงดูดซับเข้าไปภายในเซลล์ ราถูกจัดให้เป็นจุลินทรีย์ และไม่ถูกจำแนกออกไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง แต่สามารถพบได้ในส่วนไซโกไมโคตาและอาสโกไมโคตา ในอดีต ราถูกจัดให้อยู่ภายในกลุ่มดิวเทอโรไมโคต.

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและรา · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและรา · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะ

ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและปัสสาวะ · ปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและแบคทีเรีย · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น.

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและโรคไตเรื้อรัง · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและโรคไตเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและไวรัส · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและเม็ดเลือดขาว · ภาวะพิษเหตุติดเชื้อและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ มี 77 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 8.13% = 10 / (46 + 77)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: